โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

จะเกิดสึนามิ! ดีอี เตือนอย่าเชื่อ เปิด 10 ข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจมากสุด

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าวปลอมรายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “วันที่ 5 ก.ค. 2025 จะเกิดคลื่นสึนามิใหญ่” รองลงมาคือเรื่อง “เสี่ยงเกิดสึนามิที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน อาจรุนแรงกว่าปี 2547” โดยขอให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) ในฐานะโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2568 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 1,431,745 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 719 ข้อความ

สำหรับช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 689 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 30 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 193 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 67 เรื่อง

ทั้งนี้ กระทรวงดีอี ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 : นโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ จำนวน 117 เรื่อง

กลุ่มที่ 2 : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายจำนวน 25 เรื่อง

กลุ่มที่ 3 : ภัยพิบัติ จำนวน 13 เรื่อง

กลุ่มที่ 4 : เศรษฐกิจ จำนวน 5 เรื่อง

กลุ่มที่ 5 : กลุ่มอาชญากรรมออนไลน์ จำนวน 33 เรื่อง

นายเวทางค์ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจในลำดับต้นๆ ในสัปดาห์นี้ เป็นข่าวเกี่ยวกับเรื่องของภัยพิบัติ ความมั่นคงระหว่างประเทศ ข่าวเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเรื่องสุขภาพ ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมส่วนใหญ่ ทำให้เกิดความตื่นตระหนก วิตกกังวล สับสน เข้าใจผิดได้

ข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่

อันดับที่ 1 : เรื่อง วันที่ 5 ก.ค. 2025 จะเกิดคลื่นสึนามิใหญ่

อันดับที่ 2 : เรื่อง เสี่ยงเกิดสึนามิที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน อาจรุนแรงกว่าปี 2547

อันดับที่ 3 : เรื่อง เกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน เตรียมตัวรับเมนช็อกที่ขนาดความลึกเท่ากัน

อันดับที่ 4 : เรื่อง วันที่ 5 ก.ค. 68 จะเกิดสึนามิใน จ.ชุมพร และ นราธิวาส

อันดับที่ 5 : เรื่อง กองทัพไทย ส่งหน่วยรบพิเศษตามด้วย Gripen ทำลายคลังเสบียงกัมพูชา

อันดับที่ 6 : เรื่อง ประเทศไทยเฝ้าระวังแผ่นดินไหว พบการเขย่าแรงขึ้นในวันที่ 25 มิ.ย. 68

อันดับที่ 7 : เรื่อง ผลิตภัณฑ์ Genesis ลดอาการหูอื้อ หูดับ เสียงดังรบกวนในหู

อันดับที่ 8 : เรื่อง อาการคันเท้า เป็นสัญญาณของ โรคตับ เบาหวาน และโรคไต

อันดับที่ 9 : เรื่อง กัมพูชาปิดด่าน จ.จันทบุรี ทำให้รถขนสินค้าไทยกลับเข้าประเทศไม่ได้

อันดับที่ 10 : เรื่อง พบโดรนจากไทยถูกส่งไปกัมพูชา

สำหรับอันดับ 1 เรื่อง “วันที่ 5 ก.ค. 2025 จะเกิดคลื่นสึนามิใหญ่” กระทรวงดีอี โดย กรมอุตุนิยมวิทยา ตรวจสอบพบว่า เป็นข้อมูลเท็จ โดยขอชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีหรือวิธีการใดบนโลก ที่สามารถทำนายวัน เวลา ที่จะเกิดแผ่นดินไหว และสึนามิ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีการเฝ้าระวังภัยพิบัติอย่างใกล้ชิด หากมีภัยพิบัติเกิดขึ้น ทางกรมอุตุฯ จะรีบทำการแจ้งเตือนประชาชนทันที และหากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่เว็บไซต์กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ตลอด 24 ชม. หรือ โทรสายด่วน 1182

เช่นเดียวกับข่าวปลอมอันดับ 2 เรื่อง “เสี่ยงเกิดสึนามิที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน อาจรุนแรงกว่าปี 2547” กระทรวงดีอี โดยกรมอุตุนิยมวิทยา ตรวจสอบพบว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยขอชี้แจงว่า โพสต์ที่มีการแชร์ต่อๆ กันในเฟซบุ๊กข้างต้นนั้น ไม่เป็นความจริง

ทั้งนี้การที่แผ่นเปลือกโลกจะมีการปลดปล่อยพลังงานให้รุนแรงเท่ากับแผ่นดินไหวขนาด 9.3 ที่เกิดในปี 2547 และจะทำให้เกิดสึนามิที่รุนแรงยิ่งกว่าเก่านั้น จากการประเมินและคำนวน พบว่า คาบอุบัติซ้ำ (Return Period) ในการเกิดแผ่นดินไหวแบบ Megathrust ในปี 2547 จะใช้เวลาอีกประมาณ 400-600 ปี ทำให้ในปัจจุบันยังไม่สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ดีอี มีความห่วงใยประชาชน เรื่องความตระหนักรู้เท่าทันข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายบนสื่อออนไลน์ โซเชียล ซึ่งหากขาดความรู้เท่าทันส่งต่อข้อมูลข่าวปลอม ทำให้เกิดการหลงเชื่อ สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เกิดความวิตกกังวล หรืออาจสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวหรือลิงก์เว็บไซต์ให้แน่ชัด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- นายกฯ สั่งเร่งจัดการเฟกนิวส์ หลังปั่นข่าวปลอมสถานการณ์ชายแดนไทย - กัมพูชา

- พายุสุริยะ ทำอินเทอร์เน็ตล่ม! เตือนอย่าเชื่อ เปิด 10 ข่าวปลอมล่าสุดที่ปชช.สนใจ

- อุทาหรณ์โซเชียล โพสต์ข่าวปลอมชายแดนไทย - กัมพูชา โดนจับคาบ้าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

งานวิจัยเผย สีผสมอาหารส่งผลเด็กสมาธิสั้น- โรคมะเร็ง โดยเฉพาะสีแดง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เตือนภัย! "ของเล่นแถมเข็มฉีดยา" อันตรายหากเด็กใช้ในทางที่ผิด

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

อาคารถังเก็บน้ำมีนบุรีทรุดตัว คนงาน 160 คนหนีตาย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สธ. มั่นใจไทยรักษา HIV มีประสิทธิภาพสูง คนติด 5 แสน อยู่ในระบบรักษาถึง 4 แสน

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

สภาพอากาศวันนี้ - 12 ก.ค.ไทยฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กทม.ฝน 60 - 70%

ฐานเศรษฐกิจ

อิสราเอลส่งคณะเจรจาไปกาตาร์ แม้ไม่ยอมรับข้อเรียกร้องของฮามาส

JS100

ปูนบำเหน็จชั้น14สองหมอใหญ่ได้ดี

ไทยโพสต์

ระทึก!ทรัมป์ส่งจม.ภาษีถึง12ปท.

ไทยโพสต์

‘บัวแก้ว’โต้เขมร โพลซัด‘ฮุนเซน’

ไทยโพสต์

ภูมิธรรมลงนาม แบ่งอำนาจดูแล ‘พท.’คุมเรียบวุธ

ไทยโพสต์

ฉบับวันที่ 7 กรกฎาคม 2568

ไทยโพสต์

ไล่บี้รมต.ปาร์ตี้ลิสต์ สส.อีสานบีบไขก๊อก‘บัญชีรายชื่อ’/‘ชัยเกษม’โวฟิตเปรี๊ยะ

ไทยโพสต์

ข่าวและบทความยอดนิยม

แผ่นดินไหวหมู่เกาะนิโคบาร์ 112 ครั้ง อุตุฯ ตอบแล้วมีโอกาสเกิด “สึนามิ” หรือไม่?

TNN ช่อง16

เตือน! อย่าแชร์ข่าวสร้างความตื่นตระหนก จะมีคนเสียชีวิตจากสึนามิเป็นแสนคน

TNN ช่อง16

รัฐบาลแจงคืนโบราณวัตถุแก่กัมพูชา เป็นเรื่อง 25 ปีก่อน ย้ำเป็นไปตามกม.ระหว่างประเทศ

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...