โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

เตือนภัย! "ของเล่นแถมเข็มฉีดยา" อันตรายหากเด็กใช้ในทางที่ผิด

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เตือนภัย! จากของเล่น “ตุ๊กตาโมนิ” หรือ “ของเล่นกดสิว” แถมเข็มฉีดยาของจริง ขายเกลื่อนออนไลน์ และวางขายหน้าโรงเรียน อันตรายมาก หากเด็กนำไปใช้ในทางที่ผิด

เพจเฟซบุ๊ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง เตือนภัยอันตรายจากของเล่น “ตุ๊กตาโมนิ” หรือ “ของเล่นกดสิว” แถมเข็มฉีดยา โดยระบุว่า

เตือนภัยอันตรายจากของเล่น "ตุ๊กตาโมนิ" หรือ "ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

ด้วยขณะนี้ มีของเล่นที่กําลังเป็นกระแสความนิยมในวงกว้าง ได้แก่ ตุ๊กตาโมนิ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ของเล่นกดสิว ซึ่งมี วางจําหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งในร้านค้าและแพลตฟอร์มออนไลน์หลายช่องทาง อีกทั้งพบว่ามีผู้ค้าปลีกนํามาขายหน้าโรงเรียนบางแห่ง ของเล่นดังกล่าวมีลักษณะเป็นตุ๊กตายางรูปสัตว์ และที่น่ากังวลอย่างยิ่งคือ มาพร้อมกับกระบอกและเข็มฉีดยาของจริง เพื่อใช้ฉีดลม หรือน้ําเข้าไปในตัวตุ๊กตา ทําให้เกิดเป็นตุ่มพองยื่นออกมาสําหรับให้กดบีบให้แตก บางชนิดมีสารคล้ายหนองหรือสิวเทียมพุ่งออกมา

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ขอแสดงความห่วงใยต่อความปลอดภัย ของเด็กและเยาวชนจากของเล่นดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะไม่ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัย อาจมีความเสี่ยงร้ายแรงหลายประการ ทั้งต่อร่างกาย สุขภาพ ตลอดจนพฤติกรรมของเด็ก ดังนี้

1. เข็มฉีดยาไม่ใช่ของเล่น อุปกรณ์ “เข็มฉีดยา” ไม่ควรปรากฏในของเล่นสําหรับเด็ก

ของเล่นชนิดนี้ มีส่วนประกอบเป็นเข็มฉีดยา ซึ่งไม่เป็นไปมาตรฐาน มอก. 685-2562 ว่าด้วยความปลอดภัยของของเล่น ในหัวข้อ ลักษณะทางฟิสิกส์ นอกจากนี้ในมาตรฐานดังกล่าว ได้กําหนดว่า ของเล่นที่นําเข้าและจําหน่ายภายในประเทศต้องมี ฉลากแจกแจงรายละเอียดเป็นภาษาไทย โดยเฉพาะอายุผู้เล่น และคําเตือน ซึ่งไม่ปรากฏในของเล่นชนิดนี้ จึงถือว่าเป็นของเล่นที่ผิดกฎหมาย

2. ส่งเสริมพฤติกรรมเลียนแบบในทางที่ไม่เหมาะสม

การนําเข็มฉีดยามาเป็นของเล่น อาจทําให้เด็กเข้าใจผิดว่าเข็มฉีดยาสามารถเล่นได้หรือใช้เองได้โดยไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญกํากับ ซึ่งเสี่ยงต่อการเลียนแบบพฤติกรรมอันตราย โดยขาดความรู้ ส่งผลให้เกิดบาดเจ็บ ติดเชื้อ หรืออาจพัฒนาเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในอนาคต

3. ไม่เหมาะสมทางจิตวิทยาและพัฒนาการเด็ก

การเล่นของเล่นที่เน้น “ความผิดปกติ” หรือ “ภาพลักษณ์ที่น่ารังเกียจ” ไม่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมที่ เหมาะสมสาหรับเด็ก

โดยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย มีคําแนะนํา ดังนี้

1. ผู้ปกครอง งดซื้อของเล่นนี้ทั้งที่วางจําหน่าย และการสั่งซื้อทางออนไลน์ และชี้แจงถึงอันตรายให้เด็กเข้าใจ ซึ่งรวมไปถึง ของเล่นชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ปลอดภัยด้วย การเลือกซื้อของเล่นให้บุตรหลานทุกครั้ง ควรพิจารณารูปลักษณ์ วัสดุ สี และ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของของเล่นว่ามีความปลอดภัยหรือไม่ และต้องตรวจดูว่ามีฉลากแสดงเครื่องหมาย มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ที่ถูกต้องตามประเภทของของเล่นเท่านั้น เนื่องจากพบว่า ในปัจจุบันมีการใช้เครื่องหมาย (มอก.) ปลอมและเครื่องหมายผิดประเภท

โรงเรียนและสถานศึกษา ตรวจตราสินค้าต่างๆ ที่ไม่ปลอดภัย ที่นํามาขายในบริเวณใกล้เคียงโรงเรียนที่เด็กสามารถเข้าถึงได้ง่าย ให้คําแนะนําเชิงบวกแก่เด็กให้เลือกของเล่นที่ปลอดภัยและส่งเสริมการเรียนรู้

2. ภาคสังคม ร่วมสร้างความตระหนักรู้ เฝ้าระวังอันตรายที่แฝงอยู่ในของเล่นรูปแบบใหม่ ๆ ไม่สนับสนุนการซื้อขายของเล่น ที่อันตราย และร่วมดูแลความปลอดภัยจากของเล่นที่ไม่เหมาะสมในเด็กและเยาวชนในสังคมไทย ทั้งที่จําหน่ายตามร้าน แผงลอยและบนเว็บไซต์

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ขอยืนยันเจตนารมณ์ในการ ปกป้อง เด็กไทยจากของเล่นที่เป็นภัยอันตรายต่อร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม และขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบและควบคุมการผลิต การนําเข้า และการจําหน่ายของเล่นที่ไม่ผ่านมาตรฐาน มอก. 685-2562 โดยเฉพาะของเล่นที่ผิด กฎหมาย และดําเนินการปราบปรามอย่างเคร่งครัด

ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2568

รองศาสตราจารย์ พลตรีหญิง แพทย์หญิงฤดีวิไล สามโกเศศ ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและนายกสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

วิกฤต "ข้าวกล่องญี่ปุ่น" ร้านเล็กแบกต้นทุนไม่ไหว ล้มละลายพุ่ง

13 นาทีที่แล้ว

“พิชัย” ยืนยันกระแสข่าวไทยจะถูกสหรัฐฯ จัดเก็บภาษี 18-36% ไม่เป็นความจริง

14 นาทีที่แล้ว

"พิชัย" โต้ข่าว สหรัฐฯเก็บภาษีไทย 18-36% ยันยังไม่มีข้อสรุป เร่งทำข้อเสนอใหม่ส่งก่อนเส้นตาย

19 นาทีที่แล้ว

สเปนจัดเทศกาลวิ่งวัวกระทิงระดับโลก

21 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

ใส่คอนแทคเลนส์ผิดวิธี เสี่ยง ‘แผลที่กระจกตา’ ถึงขั้นตาบอดถาวร

ฐานเศรษฐกิจ

สัญญาณเตือน “โรคไต” อาการเริ่มต้น กลุ่มเสี่ยง วิธีรักษา

ฐานเศรษฐกิจ

แหล่งอาหารช่วยทำให้หลับได้ง่ายขึ้น แก้ก่อนเรื้อรังกระทบต่อสุขภาพ

PPTV HD 36

งานวิจัยเผย สีผสมอาหารส่งผลเด็กสมาธิสั้น- โรคมะเร็ง โดยเฉพาะสีแดง

TNN ช่อง16

สธ. มั่นใจไทยรักษา HIV มีประสิทธิภาพสูง คนติด 5 แสน อยู่ในระบบรักษาถึง 4 แสน

TNN ช่อง16

“สภาเภสัชกรรม” ชวนคนไทยดูแลสุขภาพ ตระหนักรู้เรื่องยา-โภชนาการ

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

เสียงเตือนภัยสึนามิ เสียงที่อาจช่วยชีวิตคุณในไม่กี่นาที

TNN ช่อง16

แก๊งเข็มฉีดยาระบาดที่ฝรั่งเศส ไล่แทงคนในงานเทศกาลดนตรี

TNN ช่อง16

เตือนน้ำทะเลหนุนสูง 12-17 มิ.ย.68 กระทบ กทม.-ปริมณฑล

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...