โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ใส่คอนแทคเลนส์ผิดวิธี เสี่ยง ‘แผลที่กระจกตา’ ถึงขั้นตาบอดถาวร

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กรมการแพทย์ เตือนภัย “แผลที่กระจกตา” ภาวะอันตรายที่หลายคนมองข้าม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำทั้งเพื่อความสวยงามหรือการแก้ไขปัญหาสายตา เพราะหากใช้งานอย่างไม่ถูกวิธี เช่น ใส่เลนส์นานเกินไป ไม่ถอดตอนนอน หรือไม่รักษาความสะอาดอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่การอักเสบ ติดเชื้อ และรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นถาวร

นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการใช้คอนแทคเลนส์ได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันปัญหาสุขภาพตาที่เกิดจากการใช้งานไม่เหมาะสมก็เพิ่มขึ้นตาม โดยเฉพาะ "แผลที่กระจกตา" ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ

ไม่ว่าจะเป็นการขยี้ตาแรง ๆ การใส่เลนส์ค้างคืน หรือการใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาด นอกจากนี้ผู้ที่มีภาวะตาแห้งหรือภูมิแพ้ยังมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป หากมีอาการตาแดง ปวดตา แสบตา น้ำตาไหล หรือมองเห็นพร่ามัว ควรรีบพบจักษุแพทย์โดยด่วน

ด้านนายแพทย์กิตติวัฒน์ มะโนจันทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ ระบุว่า กระจกตาเป็นอวัยวะที่บอบบางและสำคัญยิ่ง เพราะทำหน้าที่รับแสงและโฟกัสภาพเข้าสู่จอประสาทตา การเกิดบาดแผลที่กระจกตาแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นได้ทันที โดยเฉพาะแผลที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมักมาจากการใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาด หรือเมื่อมีสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่น ทราย หรือโลหะเล็ก ๆ เข้าตาโดยไม่ได้รับการล้างออกอย่างถูกวิธี

นายแพทย์วีรภัทร อุดมวงศ์ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตา กล่าวเพิ่มเติมว่า การใส่คอนแทคเลนส์นานเกิน 8 ชั่วโมง หรือใส่นอนข้ามคืน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เพราะกระจกตาจะขาดออกซิเจนและความชื้น ทำให้เซลล์ผิวเสื่อมสภาพ เกิดแผลถลอกที่ง่ายต่อการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียและอะมีบาที่มักพบในน้ำปนเปื้อน ซึ่งสามารถทำให้แผลลุกลามรวดเร็วถึงขั้นตาบอดได้ในไม่กี่วัน

สำหรับแนวทางการรักษา หากเป็นแผลตื้นหรือระคายเคืองเล็กน้อย แพทย์อาจให้ยาฆ่าเชื้อร่วมกับน้ำตาเทียม และแนะนำให้หยุดใช้คอนแทคเลนส์ชั่วคราวจนกว่าแผลจะหาย แต่หากแผลลึกและติดเชื้อ อาจต้องตรวจเชื้อเพื่อให้ยาหยอดเฉพาะทาง หยอดถี่ขึ้น และติดตามอาการใกล้ชิด หากปล่อยให้แผลลุกลามจนกระจกตาพร่ามัวหรือเป็นฝ้า อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและไม่สามารถรับประกันผลการมองเห็นที่สมบูรณ์ได้

วิธีใช้คอนแทคเลนส์

  • ไม่ควรใส่เลนส์นานเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน
  • ห้ามใส่ค้างคืนเด็ดขาด
  • ถอดและล้างเลนส์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโดยเฉพาะ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตาโดยตรง
  • ไม่ควรใช้เลนส์ร่วมกับผู้อื่น
  • หมั่นตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอ

หากมีอาการผิดปกติ เช่น แสบตา เคืองตา ตามัว หรือปวดตา ควรรีบพบจักษุแพทย์โดยไม่รอให้อาการลุกลาม เพราะแผลที่กระจกตานั้นแม้ดูเหมือนเล็ก แต่สามารถกลายเป็นเรื่องใหญ่ถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นถาวรได้ในเวลาอันสั้น

การใส่คอนแทคเลนส์ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ต้องใส่อย่างมีวินัยและดูแลอย่างถูกวิธี เพราะดวงตามีเพียงคู่เดียว หากปล่อยให้แผลที่กระจกตาเกิดขึ้นและลุกลาม อาจต้องแลกด้วยการมองเห็นไปตลอดชีวิต

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

พลังแสงอาทิตย์พลิกขั้ว BRICS ขึ้นแท่นผู้นำพลังงานสะอาดโลก

20 นาทีที่แล้ว

“CKPower” ติดทำเนียบหุ้น ESG100 ต่อเนื่อง 4 ปี สะท้อนการโตยั่งยืน

20 นาทีที่แล้ว

6 กูรูหุ้นถอดรหัสหุ้นน้องใหม่ ATLAS เคาะราคาเป้าหมายสูงสุด 5.20 บาท

37 นาทีที่แล้ว

“สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” เด้งรับคำสั่งแบ่งงานรองนายกฯ คุม 5 กระทรวง 2 หน่วยงาน

43 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ

“มะเร็งรังไข่” ภัยเงียบของผู้หญิง! รู้ทัน ป้องกันได้ เช็กสัญญาณเตือนระยะแรก

TNN ช่อง16

เมืองจันทร์ลุย! สร้างพื้นที่เที่ยวปลอดภัย คุมเหล้า ลดบุฟเฟต์ผิด กม

กรุงเทพธุรกิจ

ธรรมศาสตร์รวมพลัง 39 ท้องถิ่น! ปั้นโมเดลผู้สูงอายุในชุมชน

กรุงเทพธุรกิจ

เฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์! 'จักรวาลแห่งน้ำพระทัย' จัดเต็มที่ รพ.จุฬาภรณ์

กรุงเทพธุรกิจ

ตำรับแรกของไทย! “ยาอิมครานิบ 100” รักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าชนิดเม็ด

PPTV HD 36

ผลิตในไทยครั้งแรก ยารักษาโรคมะเร็งมุ่งเป้าชนิดเม็ด 'ยาอิมครานิบ 100'

กรุงเทพธุรกิจ

ภาวะสมองเสื่อม ที่ไม่ได้พบแค่ในผู้สูงอายุ ขี้ลืมบ่อยอาจเป็นสัญญาณเตือน

PPTV HD 36

การฉีดวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคสมองเสื่อม

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...