โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ภาวะสมองเสื่อม ที่ไม่ได้พบแค่ในผู้สูงอายุ ขี้ลืมบ่อยอาจเป็นสัญญาณเตือน

PPTV HD 36

อัพเดต 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาวะสมองเสื่อมพบได้ทุกวัย ไม่เฉพาะผู้สูงอายุ อาการเช่น ขี้ลืม สับสน บุคลิกเปลี่ยน หากพบอาการผิดปกติควรพบแพทย์ รักษาเร็ว ช่วยลดภาระและคงคุณภาพชีวิตได้

ความเข้าใจของหลายคน มักคิดว่า “ภาวะสมองเสื่อม” พบได้แค่ผู้สูงอายุเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ภาวะสมองเสื่อมสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย อาการเหล่านี้ เช่น ขี้หลงขี้ลืม สับสน บุคลิกภาพหรือพฤติกรรมเปลี่ยนไป อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณมีภาวะสมองเสื่อมโดยไม่รู้ตัว!

อาการผิดปกติของภาวะสมองเสื่อม

  • การสูญเสียความจำที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมากขึ้น
  • สับสนบ่อย
  • บุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากปกติ
  • พฤติกรรมเพิกเฉย แยกตัว
  • เสียความสามารถในการทำงานหรือในชีวิตประจำวัน

การนอนหลับกระบวนการซ่อมแซมชีวิต เผยเทคนิคช่วยให้การนอนมีคุณภาพดีขึ้น

10 สัญญาณฉุกเฉิน เส้นเลือกสมองแตก ที่คนอายุน้อยก็เสี่ยงได้!

มีการเจ็บป่วยจากโรคอื่นที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกับภาวะสมองเสื่อม โดยอาการเหล่านี้สามารถดีขึ้นได้เมื่อได้รับการรักษา ภาวะดังกล่าวได้แก่ ภาวะการขาดวิตามินและฮอร์โมน อาการซึมเศร้า ผลกระทบจากการใช้ยาโดยเฉพาะยานอนหลับ การติดเชื้อ และโรคเนื้องอกในสมอง ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติ ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองและวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริง

ทำความรู้จักภาวะสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) กลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ซึ่งมีสาเหตุมาจากเซลล์ประสาทบางเซลล์ในสมองหยุดการทำงาน ทำให้เกิดการสูญเสียการเชื่อมต่อกับเซลล์อื่นๆ จนเซลล์สมองเสื่อมหรือตายในที่สุด โดยภาวะสมองเสื่อมอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาทางความคิด พฤติกรรมและความสามารถในการทำงานในชีวิตประจำวันเปลี่ยนจนกระทบต่อชีวิต สังคม และการทำงาน สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยพบบ่อยในผู้สูงอายุ และพบน้อยในผู้ที่อายุน้อยกว่า 65 ปี

ประเภทภาวะสมองเสื่อม

  • โรคอัลไซเมอร์
  • ภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด
  • โรคเลวีบอดี (Lewy body disease)
  • ภาวะสมองเสื่อมบริเวณสมองส่วนหน้า

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะให้หายขาดสำหรับภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มที่เกิดจากการเสื่อมหรือตายของเซลล์สมอง ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมจึงควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินสุขภาพและอาการของโรคอย่างต่อเนื่อง ภาวะสมองเสื่อมสามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงหรือจัดการความเสี่ยง แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือ อายุ พันธุกรรม และ การมีบุคคลในครอบครัวมีภาวะดังกล่าว แต่อีกส่วนคือปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถจัดการและปรับเปลี่ยนได้ด้วย

การดูแลสุขภาพป้องกันสมองเสื่อม

  • การดูแลสุขภาพหัวใจ คุมความดัน ลดมัน ลดหวาน ออกกำลังกาย และไม่สูบบุหรี่
  • การดูแลสุขภาพกาย ออกกำลังกายช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมอง รับประทานอาหารดีมีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • การดูแลสุขภาพใจ ส่งเสริมสุขภาพจิต รักษาจิตใจด้วยการเรียนรู้กิจกรรมใหม่ๆ หางานอดิเรกทำ สังสรรค์และเข้าสังคม หรือ เล่นเกมฝึกสมอง

หากพบว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดมีอาการผิดปกติ ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการประเมินและให้การดูแลอย่างเหมาะสม เพราะหากตรวจพบและทำการรักษาแต่เนิ่นๆจะสามารถช่วยลดภาระของผู้ดูแล และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีรวมถึงสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีศักดิ์ศรี

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก PPTV HD 36

อ่าน “MOU 43” ฉบับเต็ม กำหนดว่าอะไร ทำไมกัมพูชาพยายามเอามาอ้าง?

27 นาทีที่แล้ว

“จอนนี่” แจ้งความกลับ 3 ราย ข้าราชการยันอธิบดีกรมพัฒนาสังคม เอาผิด 157

29 นาทีที่แล้ว

บาร์เซโลน่า ยังเดินหน้าหวังปิดดีล "ดิอาซ" ร่วมทัพ ส่วนนักเตะเปิดทางย้ายทีม

34 นาทีที่แล้ว

โรคพิษสุนัขบ้า 2568 เสียชีวิตชีวิต 7 ราย เผย 10 อันดับจังหวัดควรระวัง!

52 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

5 อาหารบำรุงสมอง หาซื้อง่าย อุดมด้วยประโยชน์ลดเสี่ยงอัลไซเมอร์

PPTV HD 36

5 อาหารอีสาน เสี่ยงเบาหวาน มีอะไรบ้าง กินบ่อย น้ำตาลพุ่งไม่รู้ตัว

ฐานเศรษฐกิจ

บอร์ด สปสช. เคาะ "บริการฮอร์โมนยืนยันเพศสภาพ" ดูแลกลุ่มคนข้ามเพศ

ฐานเศรษฐกิจ

7 กรกฎาคม "วันพูดความจริง" แล้ววันนี้ คุณโกหกใครแล้วหรือยัง ?

Amarin TV

โรคพิษสุนัขบ้า 2568 เสียชีวิตชีวิต 7 ราย เผย 10 อันดับจังหวัดควรระวัง!

PPTV HD 36

เตือน จัดโปรฯ "เบียร์บุฟเฟต์" ผิดพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ฐานเศรษฐกิจ

"ม็อบกัญชา" บุกสธ. ปักหลักคัดค้านดึงกลับเป็นยาเสพติด

ฐานเศรษฐกิจ

สปสช. ไฟเขียว สิทธิบัตรทอง “บริการฮอร์โมนเพื่อการยืนยันเพศสภาพ”

PPTV HD 36

ข่าวและบทความยอดนิยม

โปรแกรมฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2025 ฟีฟ่า คลับ เวิลด์ คัพ รอบ 4 ทีม

PPTV HD 36

ระทึก! โครงเหล็กเส้นพื้นที่ก่อสร้างทรุดล้มทับคนงานเจ็บ 13 คน

PPTV HD 36

“สีกา ก.”สารภาพแล้ว! ใครคือเจ้าของจีวรในบ้าน-พบพัวพันพระชั้นผู้ใหญ่อีกนับสิบรูป

PPTV HD 36
ดูเพิ่ม
Loading...