โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

สัญญาณเตือน “โรคไต” อาการเริ่มต้น กลุ่มเสี่ยง วิธีรักษา

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ เตือนภัย “โรคไต” ภัยเงียบที่อาจเริ่มต้นโดยไม่มีอาการชัดเจน แต่หากละเลยจนเข้าสู่ระยะรุนแรง อาจต้องเผชิญกับภาวะไตวายเรื้อรังและต้องฟอกไตไปตลอดชีวิต โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และผู้ที่รับประทานยาบางชนิดต่อเนื่อง จึงควรเร่งตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันก่อนสายเกินไป

นายแพทย์สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์โรคไตในประเทศไทยน่าเป็นห่วง เพราะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว เป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่กระทบเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ปัจจัยเสี่ยงหลักคือ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และผู้ที่ใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบ (NSAIDs) หรือยาสมุนไพรที่ไม่ผ่านการรับรอง รวมถึงผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อการทำงานของไตโดยตรง

ด้านนายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี ย้ำว่า โรคไตสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และหากไม่ได้รับการตรวจหาสาเหตุและรักษาอย่างเหมาะสม อาจพัฒนาเป็นโรคไตเรื้อรัง พร้อมภาวะแทรกซ้อน เช่น ตัวบวม เท้าบวม เหนื่อยง่าย ปัสสาวะมีฟองหรือมีเลือด การตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น

รศ.พญ.วรางคณา พิชัยวงศ์ แพทย์เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลราชวิถี เสริมว่า กลุ่มเสี่ยงหลักที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรอง ได้แก่

  • ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
  • ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยโรคไต
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้ที่ใช้ยากลุ่ม NSAIDs ต่อเนื่อง

สัญญาณเตือนโรคไตที่ไม่ควรมองข้าม เช่น ปัสสาวะมีฟอง มีเลือดปน ปวดหลัง ปวดบั้นเอว ตาบวม เท้าบวม หรือความดันโลหิตสูงผิดปกติ โดยวิธีป้องกันที่สำคัญ คือ การควบคุมระดับน้ำตาลและความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ งดอาหารหมักดอง งดสูบบุหรี่ และเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดหรือสมุนไพรที่ไม่ทราบแหล่งที่มา

โรคไตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • โรคไตเฉียบพลัน มักเกิดจากภาวะขาดน้ำ การติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษ การรักษาเน้นแก้ไขสาเหตุ เช่น หยุดยา เติมน้ำ หรือใช้ยาปฏิชีวนะ
  • โรคไตเรื้อรัง มักเกิดจากเบาหวาน ความดันสูง ไตอักเสบ หรือพันธุกรรม การรักษามุ่งเน้นที่การชะลอความเสื่อมของไต และควบคุมภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะบวมน้ำ โลหิตจาง กระดูกพรุน และความดันสูง

หากเข้าสู่ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต มีแนวทางการรักษา 4 ทาง ได้แก่

  • การล้างไตทางช่องท้อง
  • การฟอกเลือดผ่านเครื่องฟอกไต
  • การปลูกถ่ายไต ซึ่งมีประสิทธิภาพดีที่สุดในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
  • การรักษาแบบประคับประคอง สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการบำบัดเต็มรูปแบบได้

การตรวจเลือดดูค่าการทำงานของไต และตรวจปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันโรคไต พร้อมแนะให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงหมั่นดูแลสุขภาพ และพบแพทย์เฉพาะทางเมื่อพบความผิดปกติ เพื่อไม่ให้โรคพัฒนาไปสู่ระยะที่รักษายากและกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างรุนแรงในระยะยาว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

“ทรัมป์” ขู่เก็บภาษีเพิ่ม 10% ชาติหนุนกลุ่ม BRICS ต่อต้านอเมริกา

21 นาทีที่แล้ว

รัฐบาลไทย ร่วมวง BRICS ครั้งแรก ถกโครงสร้างเศรษฐกิจ-การเงินโลก

23 นาทีที่แล้ว

นับถอยหลังเส้นตาย 1 ส.ค. ดีลการค้าสหรัฐฯ ใครรอด ใครยังลุ้น?

42 นาทีที่แล้ว

ศึกชิงซุปเปอร์บอร์ด กสทช.เด็กหน้าห้อง ติดโผ 6 ใน 10 ใครบ้างเช็กเลย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ

เมืองจันทร์ลุย! สร้างพื้นที่เที่ยวปลอดภัย คุมเหล้า ลดบุฟเฟต์ผิด กม

กรุงเทพธุรกิจ

ธรรมศาสตร์รวมพลัง 39 ท้องถิ่น! ปั้นโมเดลผู้สูงอายุในชุมชน

กรุงเทพธุรกิจ

เฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์! 'จักรวาลแห่งน้ำพระทัย' จัดเต็มที่ รพ.จุฬาภรณ์

กรุงเทพธุรกิจ

ตำรับแรกของไทย! “ยาอิมครานิบ 100” รักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าชนิดเม็ด

PPTV HD 36

ผลิตในไทยครั้งแรก ยารักษาโรคมะเร็งมุ่งเป้าชนิดเม็ด 'ยาอิมครานิบ 100'

กรุงเทพธุรกิจ

ภาวะสมองเสื่อม ที่ไม่ได้พบแค่ในผู้สูงอายุ ขี้ลืมบ่อยอาจเป็นสัญญาณเตือน

PPTV HD 36

การฉีดวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคสมองเสื่อม

กรุงเทพธุรกิจ

ใส่คอนแทคเลนส์ผิดวิธี เสี่ยง ‘แผลที่กระจกตา’ ถึงขั้นตาบอดถาวร

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...