“ส่งออกกุ้ง” ดิ้นหาตลาดใหม่หนีภาษีทรัปม์ ทุบตลาด 1.2 หมื่นล้านวูบ
นายเอกพจน์ ยอดพินิจ นายกสมาคมกุ้งไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” จากการที่สหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้มาตรการทางภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs)โดยปรับอัตราภาษีนำเข้าจากประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ซึ่งไทยอยู่ในลำดับที่ 20 ถูกเรียกเก็บอัตราภาษีนำเข้าสูงถึง 36% ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งของไทยอย่างมาก และเมื่อพิจารณาอัตราภาษีนำเข้าเทียบกับประเทศคู่แข่ง มีอัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าไทย
เช่น อินเดีย (-10%)เอกวาดอร์ (-26%) และอินโดนีเชีย (-496) ทำให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันลดลง และอาจสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับประเทศคู่แข่งได้ โดยเฉพาะสินค้ากุ้งที่เป็นวัตถุดิบและแปรรูปเบื้องต้น(พิกัด 0306) ซึ่งสหรัฐฯ นำเข้าสูงถึง 40%-50 หรือคิดคำนวณปริมาณ 5 หมื่นตัน หรือ 1.2หมื่นล้านบาท จะได้รับผลกระทบจากอัตราภาษีที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง หากขายไม่ได้จะไปขายที่ไหน
นายเอกพจน์ กล่าวว่า จากผลกระทบดังกล่าวก็เป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ที่จะต้องหาตลาดใหม่ทดแทน หรือจะเพิ่มการบริโภคในประเทศ ก็ต้องยอมรับว่าไม่มีความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากภาษีแต่ละประเทศต่ำกว่าไทยทั้งสิ้น ก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างหนักใจ อย่างไรก็ดี ถือคติที่ว่าชีวิตต้องเดินต่อไป อยากให้รัฐบาลเป็นแกนหลักที่จะพาภาคเอกชนไปหาตลาดใหม่ทดแทนให้ได้ส่วนหนึ่งที่ยังเป็นความหวังก็คือ การทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป เพราะหากเจรจาสำเร็จจำนวนส่วนเกินในตลาดสหรัฐจะไปที่ตลาดนี้ทดแทนทันที
ด้านกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง รายการการส่งออกกุ้งของไทยเพิ่มขึ้นในเดือน พฤษภาคม2568 โดยเป็นการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น แต่ภาพรวมการส่งออกกุ้ง ม.ค.-พ.ค.2568 ยังลดลงเมื่อเทียบกับปี2567 ซึ่งเป็นปีที่ส่งออกต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
สถานการณ์ภายนอกประเทศ
การผลิต : ในเอเชีย การจับกุ้งของปี 2568 เกษตรกรผู้เลี้ยงทั่วเอเชียได้รับผลกระทบอีกครั้งจากการประกาศเก็บภาษีนำเข้าอาหารทะเลที่ค่อนข้างสูงของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2568 โดยในขณะนี้การเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงดังกล่าว ได้ชะลอไว้เป็นเวลา 90 วัน (จนถึง ก.ค.68) ล่าสุดขยายรอบ 2 สิ้นสุดวันที่ 1 สิงหาคม 2568 ยกเว้น จีนที่โดนภาษีนำเข้าทันทีในอัตราที่สูงถึง 245% ด้าน “เอกวาดอร์” ที่เป็นผู้ส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐเมริการายใหญ่ที่สุด ได้เปรียบในการแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกอื่นในอาเซียน เนื่องจากผู้ผลิตจากอเมริกาใต้โดนภาษีเพียง 10%
ตลาดสหรัฐอเมริกา : การนำเข้ากุ้งของสหรัฐฯ ในเดือน มกราคม - มีนาคม 2568 ปริมาณ 205,770.30 ตันมูลค่า 1,711.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 12.57% และ 22.19% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ อินเดีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย เวียดนามและไทย ซึ่งการนำเข้าจากไทยมีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 41.76% และ 37.24% ตามลำดับ
ตลาดญี่ปุ่น : การนำเข้ากุ้งของญี่ปุ่นในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2568 ปริมาณ 44,951.48 ตัน มูลค่า 62,850.30 ล้านเยนปริมาณลดลง 0.52% ในขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้น 6.50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย ไทย และอาร์เจนตินา ซึ่งการนำเข้าจากไทยมีปริมาณลดลง 3.43% ในขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นขึ้น 1.80%
ตลาดจีน : การนำเข้ากุ้งของจีนในเดือน ม.ค. - มี.ค.68 ปริมาณ 221,384.94 ตัน มูลค่า 1,197.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณและมูลค่าลดลง 11.81% และ 3.82% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าหลัก คือ เอกวาดอร์ อินเดีย ไทย อาร์เจนตินา และแคนาดา ซึ่งการนำเข้าจากไทย มีปริมกณและมูลค่ายพลง 1912% และ 2307% ตามลำดับ โดยราคากุ้งในประเทศทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับต้นทุนการผลิต และเกิดปัญหาการระบาดของโรค TPD และ EHP
ทั้งนี้สำหรับราคาในประเทศ ช่วงเดือน เมษายน 8 ราคากุ้งโดยเฉลี่ย 142.15 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ปรับลดลง 8.76% เมื่อเทียบกับเดือน มีนาคม 2568 ราคาลดลงในทุกขนาด โดยเฉพาะกุ้งขนาดเล็ก (70-100 ตัว/กก.) ราคาลดลงเฉลี่ย 16.72 บาท/กก. ในขณะที่เมื่อเทียบกับเดือน เมษายน 2567 ราคาปรับเพิ่มขึ้น 10.45% โดยมีจำนวนตู้ที่เข้าสู่ตลาด 1,776 ตู้ เพิ่มขึ้น 0.23% ปริมาณกุ้งที่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาปรับลดลงตามกลไกตลาด