4 เดือน ผู้ประกอบการไทยใช้สิทธิ FTA ส่งออกสินค้าเฉียด 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
4 เดือน ผู้ประกอบการไทยใช้สิทธิ FTA ส่งออกสินค้าเฉียด 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เช็ก 5 อันดับสินค้าส่งออกมากที่สุด
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA)
ในช่วง 4 เดือน ของปี 2568 (ม.ค.-เม.ย.) มีมูลค่ารวม 28,834.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.46% คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิ 79.45% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิ์ทั้งหมด
โดย 5 อันดับแรก เป็นการส่งออกไปยังอาเซียนภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) สูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า 10,259.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วนการใช้สิทธิ์ 66.34% รองลงมา คือ ความตกลงอาเซียน-จีน (ACFTA) มูลค่า 7,032.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วน 91.02% ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA) มูลค่า 4,475.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วน 84.29% ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) มูลค่า 2,062.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วน 75.57% และความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) มูลค่า 1,850.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วน 59.39%
5 อันดับสินค้าใช้สิทธิ FTA ส่งออกมากที่สุด
สำหรับสินค้า 5 อันดับแรกที่มีการใช้สิทธิ FTA ส่งออกมากที่สุด ได้แก่
- ยานยนต์สำหรับขนส่งของอื่น ๆ (ที่มีเครื่องดีเซล หรือกึ่งดีเซล) น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุก ไม่เกิน 5 ตัน มูลค่า 2,112.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- แพลทินัมยังไม่ได้ขึ้นรูป (อันรอต) กึ่งสำเร็จรูปหรือเป็นผง มูลค่า 1,655.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ มูลค่า 1,138.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ทุเรียนสด มูลค่า 57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- .แพลทินัมยังไม่ได้ขึ้นรูป (อันรอต) กึ่งสำเร็จรูปหรือเป็นผงอื่น ๆ มูลค่า 76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป ที่มีมูลค่าการใช้สิทธิ์ FTA สูง 5 อันดับแรก ได้แก่ ทุเรียนสด น้ำตาลที่ได้จากอ้อย ไก่ที่ปรุงแต่ง เนื้อของสัตว์ปีกเลี้ยงแช่เย็นจนแข็ง และผลไม้สด (เงาะ ลำไย ทับทิมสด) มูลค่ารวม 6,898.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 23.92% ของมูลค่าการใช้สิทธิ์ทั้งหมด
และสินค้าอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของ แพลทินัมยังไม่ได้ขึ้นรูป (อันรอต) กึ่งสำเร็จรูปหรือเป็นผง ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ แพลทินัมยังไม่ได้ขึ้นรูป (อันรอต) กึ่งสำเร็จรูปหรือเป็นผงอื่น ๆ และเครื่องปรับอากาศชนิดติดผนังหรือติดเพดาน มูลค่ารวม 21,936.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 76.08% ของมูลค่าการใช้สิทธิ์ทั้งหมด
ใช้สิทธิ FTA เพิ่มขึ้นรวม 5 ฉบับ
ทั้งนี้ จาก FTA ทั้งหมด 12 ฉบับ ที่ พบว่า มีการใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้นรวม 5 ฉบับ ได้แก่
- ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (ส่งออกไปอินเดีย) เพิ่มขึ้น 18%
- ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เพิ่มขึ้น 59%
- ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน เพิ่มขึ้น 39%
- ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ส่งออกไปจีน) เพิ่มขึ้น 91%
- ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี (ส่งออกไปเกาหลี) เพิ่มขึ้น 86%
ซึ่งการใช้สิทธิ FTA ที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด เป็นผลมาจากภาพรวมการส่งออกของไทยเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2567 จาก 93,904.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 106,789.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568
“รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการค้าและขยายโอกาสทางการค้า มุ่งเน้นให้กับผู้ประกอบการไทยใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA เพื่อต่อยอดธุรกิจ และการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA พร้อมผลักดันให้ใช้ FTA เพื่อสร้างแต้มต่อในการส่งออก รวมทั้งเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” นางสาวศศิกานต์ กล่าว
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- งานแรก! ‘จตุพร’ ลุยนครศรีฯ แก้ปัญหาราคามังคุด ปล่อยคาราวานรถกว่า 40 ตัน กระจายทั่วไทย
- ปัญหาเพียบ! ‘สรวงศ์’ สั่งปิดระบบลงทะเบียน 'เที่ยวไทยคนละครึ่ง' เตรียมย้ายไปใช้แอปทางรัฐ
- เที่ยวไทย คนละครึ่ง ลงทะเบียนทะลุ 1 ล้านคนแล้ว จ่ายเงินสำเร็จพร้อมเที่ยวกว่าหมื่นคน
ติดตามเราได้ที่