โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

รถไฟฟ้า 20 บาทใกล้คลอด ฝ่ายค้านตั้งคำถามเอื้อนายทุน ?

Thai PBS

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Thai PBS
นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เตรียมเริ่ม 1 ต.ค. 2568 ครอบคลุม 8 สาย 13 เส้นทาง ลดค่าครองชีพประชาชน แต่ฝ่ายค้านตั้งคำถามเรื่องความโปร่งใสในการชดเชยเอกชนผู้ถือสัมปทาน ขณะที่ กทม. เตรียมถกกระทรวงคมนาคมบ่ายนี้ เพื่อหาข้อสรุปงบชดเชยและระบบเชื่อมต่อ

วันนี้ (22 ก.ค.2568) นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลเพื่อลดภาระค่าครองชีพ คืบหน้าเตรียมบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2568 - 30 ก.ย.2569 ครอบคลุมรถไฟฟ้า 8 สาย รวม 13 เส้นทาง ระยะทาง 276 กิโลเมตร 194 สถานี โดยจะขยายจากโครงการนำร่องสายสีแดงและสายสีม่วง ไปยังสายสีเขียว, สีทอง, สีเหลือง, สีชมพู, สีน้ำเงิน และแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ผู้ใช้บริการต้องลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" ในเดือน ส.ค.2568 เพื่อรับสิทธิ์

นโยบายนี้ได้รับการสนับสนุนจาก พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และการแก้ไข พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม โดยกระทรวงคมนาคมคาดว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวจะผ่านสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 7 ส.ค.2568 และมีผลบังคับใช้ภายใน ก.ย.2568 อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกังวลจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะเรื่องการชดเชยรายได้ให้เอกชนผู้ถือสัมปทาน ซึ่งอาจนำไปสู่ข้อครหาว่าเป็นการเอื้อประโยชน์นายทุน

น.ส.ธัญพิชชา เฉลิมพันธ์ ผู้โดยสารรถไฟฟ้า ระบุว่านโยบายนี้จะช่วยลดภาระค่าครองชีพได้จริง และควรขยายไปสู่ระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภท เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการเดินทางในราคาที่เหมาะสม ด้าน น.ส.สุภาพร ถิ่นวัฒนากูล รองเลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค เห็นด้วยว่านโยบายนี้ช่วยลดปัญหารถติดและมลพิษในกรุงเทพฯ แต่แนะนำให้ปรับโครงสร้างราคาค่าโดยสาร แทนการใช้เงินภาษีอุดหนุน พร้อมเสนอให้ พ.ร.บ.ตั๋วร่วมครอบคลุมการเดินทางทุกประเภททั้งทางบก ราง และน้ำทั่วประเทศ

นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.พรรคประชาชน ตั้งคำถามถึงความโปร่งใสในการใช้เงินอุดหนุนจากรัฐ โดยเฉพาะสัมปทานเอกชนที่มีสัญญาผูกพันกับรัฐ ซึ่งอาจกระทบรายได้ของ รฟม. ที่มีภาระหนี้อยู่แล้ว เขายังเสนอให้รัฐพิจารณาอุดหนุนระบบขนส่งสาธารณะอื่น เช่น รถเมล์ เพื่อกระจายประโยชน์ให้ครอบคลุม

ด้านกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า การชดเชยรายได้สำหรับสายสีเขียว ซึ่งมีค่าโดยสารเฉลี่ย 34 บาท/คน และมีผู้ใช้บริการ 700,000 คน/วัน อาจสูงกว่าที่กระทรวงคมนาคมประเมินไว้ที่ 2,500 ล้านบาท โดยคำนวณว่ารัฐต้องชดเชย 14 บาท/คน หรือราว 3,500 ล้านบาท/ปี และหากผู้โดยสารเพิ่มขึ้นในอนาคต อาจต้องใช้เงินชดเชยมากขึ้น ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน

ในช่วงบ่ายวันนี้ กทม. จะหารือกับกระทรวงคมนาคมเพื่อยกระดับระบบขนส่งสาธารณะและระบบเชื่อมต่อ (Feeder) รวมถึงประเด็นการชดเชยสัมปทาน คาดว่าจะมีความคืบหน้าเกี่ยวกับนโยบายนี้เพิ่มเติม

อ่านข่าวอื่น :

ศาลทหารชั้นศาลฎีกาสั่งรุ่นพี่เตรียมทหาร จำคุก 4 เดือน 16 วัน รอลงอาญา 2 ปี คดี "เมย" ภคพงศ์ เสียชีวิต

"กลาโหม" ย้ำดูแลกำลังพลเสียสละเพื่อชาติเต็มที่ พิจารณาบรรจุ "พลทหาร ธนพัฒน์"

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thai PBS

คำบอกเล่าจากปาก "พ่อน้องเมย" เมื่อ 8 ปีก่อน

21 นาทีที่แล้ว
วิดีโอ

"หม่ำ-เท่ง -โหน่ง" ลุยสร้างหนัง "จักรวาลแม่นาก"

25 นาทีที่แล้ว

"อนุทิน" ไม่หวิว อดร่วมวงดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล

36 นาทีที่แล้ว

แพทองธารเข้ม 4 แนวทาง ดันวัฒนธรรมไทยสู่เวทีโลก

57 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าว ธุรกิจ-เศรษฐกิจ อื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

รถไฟฟ้า 20 บาทใกล้คลอด ฝ่ายค้านตั้งคำถามเอื้อนายทุน ?

Thai PBS

ครม. เคาะ “วิทัย รัตนากร” นั่งเก้าอี้ผู้ว่าแบงก์ชาติ

Thai PBS

ปล่อย "คุณย่าเป้แดง" เต่าสำรวจ-บันทึกเสียงสัตว์ทะเลฝั่งอันดามัน

Thai PBS
ดูเพิ่ม
Loading...