โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

ASPS แนะการลงทุนครึ่งปีหลัง 2568 ทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว

The Better

อัพเดต 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • THE BETTER

ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (ASPS) ประเมินว่าภาพรวมการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 เริ่มมีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น หลังจากที่ครึ่งปีแรกเผชิญแรงกดดันจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวและความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะนโยบายภาษีการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การส่งสัญญาณที่ “ผ่อนปรนมากขึ้น” จากอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ช่วยคลายความกังวลของตลาด พร้อมหนุนให้นักลงทุนหันไปให้ความสำคัญกับ “ผลกระทบที่แท้จริง” ต่อธุรกิจ เช่น ต้นทุนและพฤติกรรมผู้บริโภค ที่จะมีผลต่อกำไรในระยะต่อไป

ตลาดสหรัฐฯ ฟื้นตัวจากการบริโภค-บริการ หนุนแนวโน้ม EPS S&P 500 ทำจุดสูงสุดใหม่ ในด้านเศรษฐกิจ แม้ประเด็นภาษียังเป็นแรงกดดัน แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเดินหน้าขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากภาคการบริโภคและภาคบริการ Bloomberg จึงปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS) ของดัชนี S&P 500 ขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ และลดโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ เหลือเพียง 35% ในเดือนกรกฎาคม จากระดับ 45% เมื่อเดือนเมษายน

ASPS มองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังโดดเด่นจากการเป็นศูนย์กลางของบริษัทนวัตกรรมระดับโลก โดยเฉพาะกลุ่ม Big Tech ที่ได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งสร้างโอกาสการเติบโตตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ส่งผลให้ยังคงเป็นเป้าหมายหลักของนักลงทุนสถาบันทั่วโลก

พร้อมประเมิน Upside ของ S&P 500 ยังเปิดกว้าง หากสหรัฐฯ เดินหน้าลดดอกเบี้ยและผ่านงบใหม่ แม้ Forward P/E ของ S&P 500 อยู่ที่ระดับสูงราว 22.3 เท่า (ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2568) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 5 ปี แต่ Bloomberg Consensus ยังคงให้เป้าหมายสิ้นปีที่ 6,732 จุด คิดเป็น Upside ประมาณ 7.8% โดยได้แรงหนุนจากทั้ง Big Tech และกลุ่มหุ้นที่เคยเป็น “Laggard” ซึ่งอาจฟื้นตัวตามแนวโน้มการค้าระหว่างประเทศ หากสหรัฐฯ สามารถลดอัตราดอกเบี้ย และผลักดันงบประมาณชุดใหม่ผ่านสภาได้ ก็จะเป็นปัจจัยบวกสำคัญต่อการทำจุดสูงสุดใหม่ของตลาด

ปัจจัยเสี่ยงยังต้องติดตาม – แนะสร้างสมดุลระหว่างโอกาสและความมั่นคง อย่างไรก็ตามปัจจัยที่อาจสร้างความผันผวนให้ตลาดในระยะสั้นยังมีอยู่หลายประเด็น เช่น ผลประกอบการไตรมาส 2 ที่อาจต่ำกว่าคาดการณ์, การชะลอตัวของการบริโภคและการจ้างงาน, นโยบายใหม่ของรัฐบาลสหรัฐฯ, การเปลี่ยนแปลงในท่าทีของธนาคารกลาง และความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งยังส่งผลต่อกระแสเงินทุนและราคาสินทรัพย์ทั่วโลก

กลยุทธ์แนะนำ: ทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี ควบคู่กระจายพอร์ตสู่สินทรัพย์ปลอดภัย ASPS แนะนำให้นักลงทุนใช้จังหวะ “แรงขาย” เป็นโอกาสในการ “ทยอยสะสม” หุ้น โดยเน้นกลุ่มบริษัทที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งและมีความมั่นคงในเชิงโครงสร้าง เช่น กลุ่ม Big Tech และ AI Supply Chain และ กลุ่ม Financials, Travel, และ Defense

ควรเสริมพอร์ตด้วยหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ เช่น Consumer Staples และ Health Care เพื่อเพิ่มเสถียรภาพในช่วงตลาดผันผวน พร้อมทั้งเปิดรับโอกาสการลงทุนในตลาดต่างประเทศที่ยังมีศักยภาพในระยะกลาง เช่น ยุโรป, จีน, ฮ่องกง, และ เวียดนาม

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงในระยะสั้น ASPS ยังแนะนำให้จัดสรรพอร์ตบางส่วนไว้ใน สินทรัพย์ปลอดภัยอย่าง ตราสารหนี้รัฐบาล และ ทองคำ ซึ่งช่วยเสริม Buffer และลดแรงกระเพื่อมของพอร์ตในช่วงที่ตลาดยังไม่เข้าสู่จุดมั่นคง

ตลาดหุ้นไทยไตรมาส 3 “SET ดูสดใสขึ้น แต่ยังต้องติดตามหลายปัจจัยเสี่ยง” แนะกระจายพอร์ตหุ้นใหญ่เน้นปันผล-กำไรโต

สายงานวิจัยฯ บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด (ASPS) ประเมินภาพในช่วงไตรมาสที่ 3 SET ดูสดใสขึ้น แต่ยังต้องติดตามหลายปัจจัยเสี่ยง เริ่มที่ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ตะวันออกกลาง หลัง NATO บรรลุข้อตกลงเพิ่มงบกลาโหม5% ของ GDP ภาย ใน 10 ปีข้างหน้า ขณะที่สภาวะการค้าโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากความกังวลอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐฯต่อประเทศต่างๆที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง และเพิ่มโอกาสเกิด Recession ท่ามกลางเงินเฟ้อที่อาจขยับขึ้นในช่วง 2H68 ทำให้ทั่วโลกโน้มเอียงไปทางภาวะ Stagflation (Stagnation + Inflation) สิ่งที่ส่งผลตามมา คือ การเดินหน้าปรับลดดอกเบี้ยยากขึ้นของธนาคารกลางต่างๆ รวมถึง FED ที่ส่งสัญญาณ Hawkish มากขึ้น สอดคล้องกับ Fed Watch Tool ที่คาดว่าจะเห็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกปีนี้ในเดือน ก.ย. 68 (4.50% สู่ 4.25%) จากช่วงก่อนหน้าที่คาดลดครั้งแรก ณ ก.ค.68 ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจโลกดังกล่าว น่าจะกดดันเศรษฐกิจไทยให้โตระดับใกล้เคียง 2%YoY ดังหลายสำนักเศรษฐกิจคาดการณ์ไว้ และมีโอกาสเห็นมาตรการที่จะเข้าประคับประคองทั้งนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินในอนาคต

คุณเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม กรรมการบริหาร บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่า ทิศทางดอกเบี้ยไทย 2H68 มีโอกาสลดดอกเบี้ยอีก 1-2 ครั้ง ราว 0.25-0.50% สะท้อนผ่านตราสารหนี้ไทยอายุน้อยกว่า 7 ปีที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นโยบายการคลัง น่าจะมีมาตรการกระตุ้นออกมาในช่วง 2H68 ตามการเบิกจ่ายงบประจำปี 69 ที่ยังคงกรอบเวลาเดิม หากกระบวนการของสภายังคงอยู่ และไม่มีการยุบสภาในเร็ววัน ส่วนกำไรตลาดฯ ฝ่ายวิจัย ASPS คาดอยู่ที่เฉลี่ย 2.62 แสนล้านบาทต่อไตรมาส โดยประเมินกำไรทั้งปี 1.06 ล้านล้านบาท หรือ 86 บาท/หุ้น (เติบโต 17%YOY) ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ และถือว่า CONSERVATIVE กว่า BLOOMBERG CONSENSUS ส่วน Sector ที่กำไรเติบโตต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 2 ถึง 3 มักจะปรับตัวขึ้นได้ดีในช่วงไตรมาสที่ 3 อาทิ กลุ่ม ETRON, HELTH, PROP, TRANS เป็นต้น

ขณะที่ช่วง 3Q68 หวังแรงขายจากนักลงทุนสถาบัน-ต่างชาติ จะเบาลงตามยอดเม็ดกองทุน LTF ที่อยู่เพียง 1.17 แสนล้านบาท (ลดลงมา 1.02 แสนล้านบาท YTD) และสัดส่วนต่างชาติถือหุ้นไทยทางตรงที่น้อยลงเรื่อยๆจนล่าสุดอยู่ระดับ24.2%

โดยปัจจุบันดัชนี SET มี VALUATION ถูก มีPBV68F ต่ำกว่า 1.0 เท่า (-2SD) ต่ำสุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก (MSCI ACWI มี PBV 3.0 เท่า) และ SET มี DIVIDEND YIELD 68F สูง 4.8% (+1SD) สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเช่นกัน ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินเป้าหมายดัชนีปลายปี 68 แบบอนุรักษ์นิยม (CONSERVATIVE) ภายใต้EPS68F ที่ 86 บาทต่อหุ้น, อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.75% อิง MEYG 4.50% (+1 SD) ได้ดัชนีเป้าหมายปี 2568 ที่1,376 จุด มี UPSIDE เปิดจากระดับดัชนีในปัจจุบันที่อยู่ในช่วง 1,140-1,170 จุดพอสมควร

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำหุ้นใหญ่กระจายหลายอุตสาหกรรม และมี High Dividend Yield หรือ Profit Growth 68 เติบโต อย่าง PTT, SCC, CPALL, BDMS, TRUE, PLANB

คิดจะพัก(เงิน) คิดถึงตราสารหนี้ไทย – Yield ต่ำ แต่ยังน่าลงทุนด้วยกลยุทธ์ Selective Buy

ตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุน แม้ภาวะอัตราผลตอบแทน (Yield) โดยเฉพาะในฝั่งพันธบัตรอายุยาวจะปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 3.00% แต่ยังมีแนวโน้มลดลงต่อ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมในช่วงที่เหลือของปี

คุณลัพธ์พร ปานะกุล ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ตลาดรอง บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ระบุว่า “แม้ผลตอบแทนจะลดต่ำลงต่อเนื่อง นักลงทุนยังคงเข้าซื้อตราสารหนี้ไทยอย่างคึกคัก โดยมีแนวโน้มลงทุนแบบ SelectiveBuy มากขึ้น โดยเน้นตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงกว่า BBB และอายุไม่เกิน 2 ปี ขณะที่ Perpetual Bonds ของบริษัทชั้นนำซึ่งให้ผลตอบแทน 3.00–4.00% ยังคงเป็นที่ต้องการสูง เมื่อเทียบกับตราสารหนี้ส่วนใหญ่ในตลาดที่ให้ Yield ต่ำกว่า 3.00%”

ข้อมูล ณ สิ้นไตรมาส 2/2568 ตลาดตราสารหนี้ไทยมีมูลค่าคงค้างรวม 17.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.1% จากปีก่อน โดยเป็นการเติบโตของพันธบัตรภาครัฐ ในขณะที่มูลค่าคงค้างของตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวปรับลดลง (-19.3%) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น:Investment Grade ลดลง (-19.7%) และ High yield(-13.2%) ที่มีมูลค่าการออกลดลงมาอยู่ที่ 372,697 ล้านบาทและ 26,123 ล้านบาท ตามลำดับ

มูลค่าตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวครบกำหนดช่วงครึ่งปีหลังนี้ 414,810 ล้านบาท โดยจะครบในช่วงไตรมาสสาม 194,385 ล้านบาท และ ในช่วงไตรมาสสุดท้าย 220,424 ล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังครองอันดับหนึ่งของการมีมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวสูงสุด คือ กลุ่มพลังงาน (ENER) ซึ่ง 5 อันดับแรกของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวสูงสุดยังคงเป็นกลุ่มเดิม คือ กลุ่มพลังงาน (ENER) กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ (FIN) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์(PROP) กลุ่มพาณิชย์ (COMM) และ กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) โดย 5 กลุ่มนี้มียอดคงค้างประมาณเดิมอยู่ที่ 61% ของมูลค่ารวมทั้งตลาด แต่ถ้ามองในมุมของอันดับเครดิตแล้ว หุ้นกู้กลุ่มอันดับเครดิต A ยังคงมีมูลค่าคงค้างสูงสุด แต่ถ้ามองทุกอันดับเครดิตรวมกันกว่า 94% เป็นหุ้นกู้กลุ่ม Investment Grade (BBB-) ขึ้นไป

แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนพันธบัตร ตลาดคาดการณ์ว่า แบงก์ชาติไทย มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.75% ลงมาอยู่ที่ 1.50% หรือต่ำกว่าเพราะศักยภาพที่มีเหลือเพื่อรองรับการปรับลงได้อีก โดยประเมินจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเคยต่ำสุดที่ 0.5% ช่วงปี 2565 อีกทั้งตอนนี้อัตราดอกเบี้ยแท้จริง (real interest rate) ของเราอยู่ที่ +2.00% ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งเนื่องจากการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งโดยปกติแล้วตลาดจะมีการเคลื่อนไหวเพื่อรองรับการคาดการณ์ล่วงหน้า สังเกตได้จากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุไม่เกิน 15 ปี ที่ตอนนี้ลงมาต่ำกว่า 1.75%

โดยตลาดคาดว่าแบงก์ชาติจะปรับลดดอกเบี้ยลงอีกในการประชุม 1-2 ครั้ง ที่เหลือจากทั้งหมด 3 ครั้งในปีนี้ โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะปรับลงเป็นครั้งที่สองในการประชุม กนง เดือนสิงหาคม โดยเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยมีการปรับตัวลงมาเรื่อยๆ ซึ่งถ้านับจุดเริ่มต้น ณ สิ้นปีที่แล้ว อัตราผลตอบแทนภาครัฐอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับลง 53-54 bps มาอยู่ที่ประมาณ 1.43% ส่วนอัตราผลตอบแทนภาครัฐอายุมากกว่า 1 ปี ปรับลงไม่ต่ำกว่า 65 bps จาก ณ สิ้นปีที่ยังเห็นอัตราผลตอบแทนสำหรับตัวยาวเกิน 36 ปี ไม่ต่ำกว่า 3.00% มา ณ ตอนนี้ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลที่อายุยาวที่สุด 46 ปี (LB726A) ยังลงมาต่ำกว่า 2.30%

ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนที่แนะนำสำหรับการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คือ ซื้อตราสารหนี้ตัวอายุกลางๆ ไว้ทำกำไรระยะสั้น แต่ก็ยินดีถ้าจะต้องถือยาว เนื่องจาก ปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญจากทั้งภายในและภายนอก อย่างภัยพิบัติทางธรรมชาติ หนี้เสีย ภาวะเศรษฐกิจที่โตต่ำ และจะถูกซ้ำเติมจากสงครามการค้าที่สหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้มาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) กับไทยในอัตรา 36% จึงกดดัน yield ให้ทรงตัวในระดับต่ำจนถึงลงไปได้อีกตามการคาดการณ์การปรับตัวลงของดอกเบี้ยนโยบายที่มีความเป็นไปได้ที่จะถูกปรับลงอีกอย่างน้อย 25 bps ไปอยู่ที่ต่ำกว่า 1.50%

อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรจะเตรียมพร้อมสำหรับกรณีตลาดพร้อมดีดตัวกลับเมื่อเห็นสัญญาณ bottom out ของภาวะดอกเบี้ย ซึ่งคงยังไม่เห็นในเร็ววันนี้ จึงแนะนำให้ selective buy ตามวัตถุประสงค์การลงทุน ถ้าวัตถุประสงค์เพื่อ trading แนะให้ซื้อตราสารหนี้ภาครัฐ แต่ถ้าวัตถุประสงค์ Buy and Hold แนะให้ซื้อ Perpetual bonds หรือ หุ้นกู้ที่อันดับเครดิตไม่ต่ำกว่า BBB หรือหุ้นกู้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวพันกับปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิต อย่างเช่น อาหารและเครื่องดื่ม (Food), การแพทย์ (Helth), ธุรกิจการเกษตร (Agri) เป็นต้น “แม้ตลาดตราสารหนี้จะดูซึมตัว แต่ก็ยังมีโอกาสทำกำไรได้จากการลงทุนอย่างมีชั้นเชิงและมีเป้าหมายที่ชัดเจน”

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The Better

"แพทองธาร" ขอบคุณพรรคร่วม 1 ปีหนุนรัฐบาล ย้ำยังมั่นใจในเอกภาพ-หวังได้กลับมาทำเพื่อ ปชช. อีกครั้ง

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"ทักษิณ" บรรยายพิเศษดินเนอร์พรรคร่วมฯ ลั่นยังจับมือกันเหนียวแน่น ฝากมท.อย่ามัว "รำวง" ขอเอาจริง-เดินหน้าลุยทั่วประเทศ

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"ทักษิณ" ร่วมดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล "อิ๊งค์" เคียงข้างไม่ห่าง – "เพื่อไทย" เคาะ "ฉลาด" นั่งรองประธานสภาคนที่ 2

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"สมศักดิ์" เปิดแผน 3 ระยะ พัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ยกระดับบริการสุขภาพไทย

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่น ๆ

Night Recap Gold Spot 22-07-2568

ฮั่วเซ่งเฮง

‘ดาวโจนส์’ เพิ่มขึ้น 38.54 จุด ‘พาวเวล’ ไม่ส่งสัญญาณ ‘ทิศทางดอกเบี้ย’

The Bangkok Insight

Night Recap Gold Futures 22-07-2568

ฮั่วเซ่งเฮง

ทิพยประกันภัย สืบสานศาสตร์พระราชา จากหลอดยาสีพระทนต์สู่แรงบันดาลใจแห่งทันตนวัตกรรม

สยามรัฐ

วิริยะประกันภัย คว้ารางวัล “Marketeer No.1 Brand Thailand 2025”ตอกย้ำผู้นำตลาดประกันภัยรถยนต์ ที่ครองใจผู้บริโภคผู้บริโภค 2 ปีซ้อน

สยามรัฐ

ส่องหนี้เสีย 11 แบงก์ ใครเสี่ยง?

หุ้นวิชั่น

[Vision Exclusive] SNNP ชูหมัดเด็ด! อัดแคมเปญจัดหนัก

หุ้นวิชั่น

ถึงเวลาที่ ธปท.จะ ‘เปิดประตูหอคอย ฟังเสียงบ้านนา’ ไม่ใช่แค่สนทนา ในกรอบสถิติ

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...