ทิพยประกันภัย สืบสานศาสตร์พระราชา จากหลอดยาสีพระทนต์สู่แรงบันดาลใจแห่งทันตนวัตกรรม
ทิพยประกันภัย สืบสานศาสตร์พระราชา จากหลอดยาสีพระทนต์สู่แรงบันดาลใจแห่งทันตนวัตกรรม
การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้จำกัดอยู่แค่คำสอน หากปรากฏชัดในทุกพระราชจริยวัตรของในหลวงรัชกาลที่ 9 แม้แต่หลอดยาสีพระทนต์ที่บางเฉียบเหมือนกระดาษเพราะถูกบีบจนหมด สะท้อนการใช้ชีวิตอย่างรู้คุณค่า เรียบง่าย และเปี่ยมด้วยความหมายว่า การเปลี่ยนแปลงสังคมไทยเริ่มได้จากการเปลี่ยนตนเองด้วยใจที่พอเพียง
โครงการ "ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา" ครั้งที่ 54 ได้เปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ครั้งใหม่ ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี "หลอดยาสีพระทนต์" เป็นจุดเริ่มต้นของบทเรียนสำคัญ สู่ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในมิติที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น กิจกรรมในครั้งนี้เป็นผลจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สมาคมนักเรียนเก่าเอเอฟเอสแห่งประเทศไทย มูลนิธิธรรมดี พร้อมกับองค์กรภาคีเครือข่าย และนับเป็นครั้งแรกที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งบุคลากรกว่า 30 ท่านเข้าร่วมกิจกรรมในฐานะองค์กรภาคีเครือข่าย เพื่อศึกษาศาสตร์พระราชาอย่างใกล้ชิดและเตรียมนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวว่า "ศาสตร์พระราชา…คือทางออกของโลกใบนี้ เป็นแนวทางที่จะช่วยสร้างรากฐานที่แข็งแรงให้กับประเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างมั่นคง จากภายในสู่ภายนอก” ดร.สมพร ยังเน้นย้ำว่า “ศาสตร์พระราชาคือมรดกทางปัญญาที่ล้ำค่าที่สุด ของแผ่นดิน พระองค์มิได้ทรงเพียงประทานแนวทาง หากแต่ทรงอุทิศทั้งชีวิตในการลงมือแก้ไขปัญหาให้ประชาชนอย่างจริงจัง และยั่งยืนด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรง ‘ทำให้ดู’ ผ่านพระราชจริยวัตรที่เรียบง่าย สมถะ แต่งดงาม และเปี่ยมด้วยความพอเพียง สมควรอย่างยิ่งที่พวกเราคนไทยควรน้อมนำมาเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติโดยรวม”
ภายในคณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เข้าร่วมโครงการได้เยี่ยมชม พิพิธภัณฑสถานวาจวิทยาวัฑฒน์ พิพิธภัณฑ์ด้านทันตกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งจัดแสดงเครื่องมือทันตกรรมในอดีต ตำราหายาก และกรณีศึกษาทางโรคฟันที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และการแพทย์ โดยจุดสำคัญคือ สถานที่จัดแสดง
“หลอดยาสีพระทนต์” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ถูกบีบจนบางเฉียบ กลายเป็นสัญลักษณ์ทรงพลังของ “ความพอเพียง” ที่สะท้อนพระราชจริยวัตรอันเรียบง่าย แต่เปี่ยมด