ทดสอบ “เครื่องยนต์จรวด” Mjölnir เตรียมใช้กับ “โดรนเร็วเหนือเสียง” กองทัพสหรัฐฯ
นิว ฟรอนเทียร์ แอโรสเปซ (New Frontier Aerospace - NFA) บริษัทด้านอุตสาหกรรมเครื่องยนต์จรวดในรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศความสำเร็จในการทดสอบมโยล์เนียร์ (Mjölnir) เครื่องยนต์จรวดขนาดกะทัดรัด ที่มีวงจรการเผาไหม้สมบูรณ์ เพื่อใช้สนับสนุนในโครงการอากาศยานความเร็วเหนือเสียงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในอนาคต
เครื่องยนต์จรวด มโยล์เนียร์ (Mjölnir) คือ
มโยล์เนียร์ (Mjölnir) เป็นเครื่องยนต์จรวดแบบพิมพ์ 3 มิติ ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานในจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ยานพาหนะความเร็วเหนือเสียง และยานอวกาศถ่ายโอนในวงโคจร ตัวเครื่องยนต์ขับเคลื่อนด้วยก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ที่เผาไหม้สมบูรณ์ เพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษ
เครื่องยนต์จรวดมโยล์เนียร์ (Mjölnir) นำไปใช้กับอะไรบ้าง
โดยปัจจุบัน บริษัทพัฒนาเครื่องยนต์รุ่นนี้ขึ้น เพื่อการใช้งานกับอากาศยาน 2 แพลตฟอร์มหลักของบริษัท ได้แก่พาธไฟนเดอร์ (Pathfinder) หรือระบบอากาศยานไร้คนขับที่บินขึ้นและลงจอดในแนวตั้งด้วยความเร็วเหนือเสียง
ตัวยานที่ใช้จะมีความยาว 41 เมตรและมีรุ่นที่สามารถพัฒนาให้รองรับผู้โดยสารได้ถึง 100 คนด้วยกัน และสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ที่มัค 8 หรือ 9,878 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยบริษัทมองว่าจะต่อยอดไปใช้ในภารกิจสำรวจ ภารกิจขนส่ง และการใช้งานทางทหาร เริ่มทดสอบการบินต้นปี 2026
ส่วนอีกแพลตฟอร์มที่บริษัทพัฒนาขึ้น คือไบฟรอสต์ (Bifröst) ซึ่งเป็นยานขนส่งในวงโคจร (OTV) มีน้ำหนักรวม 1,361 กิโลกรัม โดยจะใช้พลังการขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ เพื่อช่วยปรับตำแหน่งการบรรทุกในวงโคจรต่ำของโลก โดยใช้เชื้อเพลิงน้อยที่สุด และมีแผนจะเปิดตัวในปี 2027
ทั้งนี้บริษัทระบุว่าการทดสอบเครื่องยนต์จรวด ที่ประสบความสำเร็จได้ เกิดขึ้นจากการได้รับเงินทุนและการสนับสนุนจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา (NASA) ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อขับเคลื่อนยานปล่อยจรวดขนาดเล็กรุ่นเวนเชอร์ (Venture) ในอนาคต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- บริษัทสตาร์ตอัปด้านเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง Exosonic กำลังจะปิดกิจการ
- อัปเกรด MacBook Air ยังไม่ใช้ชิป M4 ใหม่แต่เพิ่ม RAM จาก 8GB ให้เป็น 16GB ทุกรุ่น
- หุ่นยนต์อ่อนนุ่ม "ตัดและต่อขา" ของตัวเองได้ แรงบันดาลใจจากกิ้งก่าและมด
- รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก Luvly O มีตัวถังประกอบสำเร็จรูปแบบรีไซเคิลได้
- สหรัฐเผยความตึงเครียดกับจีนเพิ่มขึ้นหลังการประชุมรมว.ต่างประเทศ