มะเร็งในสัตว์เลี้ยง อาการเตือน สาเหตุ วิธีรักษาและการป้องกัน
หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่า สัตว์เลี้ยงก็สามารถป่วยเป็นมะเร็งได้เหมือนกับคน โรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง เกิดจากความผิดปกติของการเจริญเติบโตของเซลล์ ทำให้เซลล์เหล่านั้นแบ่งตัวเพิ่มขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ และอาจลุกลามไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้
บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับ โรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง สาเหตุ ชนิดของมะเร็งที่พบบ่อย รวมถึงอาการเตือนและแนวทาง การรักษามะเร็งสัตว์เลี้ยง เพื่อให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงได้ดูแลน้องๆ อย่างใกล้ชิด
มะเร็งในสัตว์เลี้ยงพบได้ในสัตว์ชนิดใดบ้าง?
มะเร็งสัตว์เลี้ยง สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงทุกชนิด แต่ที่พบบ่อยและมีการศึกษามากที่สุดคือใน สุนัขและแมว เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีผู้นิยมเลี้ยงมาก อายุยืนยาว และมีโอกาสตรวจเจอโรคได้ นอกจากนี้ยังสามารถพบมะเร็งได้ใน นก ปลา หนูแฮมสเตอร์ และสัตว์ชนิดอื่นๆ
สาเหตุของมะเร็งในสัตว์เลี้ยง
สาเหตุของมะเร็งในสัตว์เลี้ยง คล้ายกับในคน เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่
ปัจจัยภายใน
- พันธุกรรมสัตว์เลี้ยง : บางสายพันธุ์เสี่ยงสูงกว่าสายพันธุ์อื่น เช่น โกลเด้นรีทรีฟเวอร์, ร็อตไวเลอร์, บ็อกเซอร์
- อายุ : ยิ่งอายุมาก ความเสี่ยงยิ่งเพิ่ม
- เพศและฮอร์โมน : เช่น มะเร็งเต้านมในสัตว์เลี้ยง พบบ่อยในสัตว์เพศเมีย
- ภูมิคุ้มกัน : ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสูงขึ้น
ปัจจัยภายนอก
- การติดเชื้อไวรัส : เช่น retrovirus, papillomavirus
- รังสี : แสงแดดจัด หรือรังสีในปริมาณสูง
- สารเคมีก่อมะเร็ง : เช่น ยาฆ่าแมลง, ควันบุหรี่, สารเคมีในสิ่งแวดล้อม
อาการเตือนของมะเร็งในสัตว์เลี้ยง
อาการมะเร็งในสัตว์เลี้ยง มักเริ่มจากสิ่งเล็กๆ ที่เจ้าของอาจมองข้าม ควรหมั่น ตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยง และสังเกตอาการผิดปกติ เช่น
- มีก้อนเนื้อที่โตเร็ว
- น้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ
- เบื่ออาหาร
- เดินกะเผลก เจ็บปวด
- มีเลือดหรือของเหลวผิดปกติจากปาก จมูก หู
- กลิ่นเหม็นผิดปกติ
- กลืนอาหารลำบาก
- ไอเรื้อรัง หายใจติดขัด
- ขนร่วง ขนแห้งผิดปกติ
- การติดเชื้อตามผิวหนังที่ไม่หายขาด
หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์ทันที
การดูแลและป้องกันมะเร็งในสัตว์เลี้ยง
สัตว์เลี้ยงสามารถเป็นมะเร็งได้ เจ้าของจึงควรใส่ใจตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยงเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง และหากพบ อาการมะเร็งในสัตว์เลี้ยง หรือสิ่งผิดปกติใดๆ ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย การตรวจเลือด การเอ็กซเรย์ หรือการตรวจชิ้นเนื้อ เพราะการรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้สัตว์เลี้ยงมีคุณภาพชีวิตที่ดี และยืดอายุขัยได้
การป้องกันมะเร็งสัตว์เลี้ยง ที่ดีที่สุด คือการเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปราศจากสารเคมีหรือควันบุหรี่ หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด และเลือกอาหารสัตว์ที่ปลอดภัยและเหมาะสม
โรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง ถือเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่เจ้าของไม่ควรมองข้าม หากรู้เท่าทันอาการ สาเหตุ และวิธีป้องกัน จะช่วยให้น้องๆ อยู่กับเราไปนานๆ อย่างมีสุขภาพดี