โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สพฐ.ครู-อาจารย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ยโสธร ตอบรับ รูปแบบการพัฒนา Active Learning (GPAS 5 Steps) ด้วยการคิดขั้นสูง

TOJO NEWS

อัพเดต 13 กรกฎาคม 2568 เวลา 1.32 น. • เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Admin Tojo

สพฐ. นำครู อาจารย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ยโสธร 830 คน ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning ด้วยการคิดขั้นสูง

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ค.2568

ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)ให้สัมภาษณ์ภายหลังการเป็นประธานในพิธีการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ) ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา สร้างต้นแบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในจังหวัดร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และยโสธร โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมอบรม ทั้งสิ้น 830 คน แยกเป็นระดับประถมศึกษา 330 คน และระดับมัธยมศึกษา 500 คน ระหว่างวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2568 ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.)ร้อยเอ็ดทั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)กับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ว่า การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning: GPAS 5 Steps เป็นการสอนให้เกิดความคิดขั้นสูงที่จะนำไปต่อยอดเรื่องของความฉลาดคิด เป็นการเตรียมคน เพราะครูจะต้องได้รับการพัฒนาให้เด็กมีกระบวนการคิดขั้นสูง เพราะที่ผ่านมาการประเมินภายนอกและการประเมินภายใน และการทดสอบ เราพบว่าสิ่งที่เด็กก็ต้องปรับปรุงคือความคิดขั้นสูง และการเรียนรู้แบบ Active Learning ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ครูนำไปใช้สอนเด็กให้เกิดความคิดขั้นสูง เพราะว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกันเด็กได้ค้นหาความรู้ ได้คิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่จะพัฒนาครูเพื่อตอบโจทย์กระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการพัฒนาครู อย่างไรก็ตาม ที่ดีที่สุดคือต้องมีการบูรณาการหลายรูปแบบ Active Learning ก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่ครูจะต้องเรียนรู้

ดร.รัตติกร ทองเนตร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร กล่าวระหว่างเป็นประธานอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ที่โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ว่า การเรียนการสอนยุคปัจจุบันเราต้องจัดการเรียนการสอนรูปแบบ Active Learning เราจะไม่มีการสอนรูปแบบ Passive Learning อีกแล้ว เพราะต่อไปเราจะให้ลูก ๆ นักเรียนเป็นพระเอกนางเอก ให้เขาได้แสดงบทบาทของเขาอย่างเต็มที่ให้เขาได้คิด วางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอนโดยครูเป็นผู้คอยแนะนำกำกับช่วยเหลือ

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาเราก็ได้จัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning มานานพอสมควร และวันนี้ก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะมาเสริมเติมเต็มจากวิทยากรผู้ทรงคุณผู้มากด้วยความรู้ความสามารถ ซึ่งเป้าหมายหลักในวันนี้ก็จะเป็นโรงเรียนในหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนคุณภาพ ระดับมัธยมศึกษา และประถมศึกษา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการปฏิรูปการเรียนรู้ในระดับห้องเรียน ให้ครูมีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การสร้างและการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนวัตกร นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ หรือที่เรียกว่า ซอฟพาวเวอร์ ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ซึ่งดิฉันมั่นใจว่าคุณครูที่มาอบรมในครั้งนี้ จะเป็นกำลังสำคัญที่จะทำให้การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาดำเนินไปได้อย่างดีมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เทคนิคที่เราจะได้รับจากวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ จะสร้างความตระหนักให้เรารู้ความสำคัญของการเรียนการสอนรูปแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ให้ครูผู้สอนมีความรู้เพิ่มเติม มีทักษะอย่างเพียงพอที่จะผลักดันการปฏิรูปการศึกษาในระดับห้องเรียนของเราให้มีประสิทธิภาพ ปรับกระบวนการเรียน เปลี่ยนกระบวนการสอน ให้ผู้เรียนเกิด Active Learning เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ทั้งนี้สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตลอดมา ซึ่งจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบ 6 เดือนแรกได้คะแนนเต็ม 100 และในครั้งต่อไปเราก็มีความคาดหวังว่าเราจะได้คะแนนเต็ม 100 เหมือนเดิม

ผอ.สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร กล่าวต่อไปว่า โรงเรียนในสพม.ศรีสะเกษ ยโสธร มีทั้งสิ้น 83 โรงเรียน ได้ปรับกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาครูในหลายเรื่อง หลายโครงการ หลายกิจกรรม เพราะเราให้ความสำคัญในการพัฒนาครู ถ้าครูได้พัฒนา นำสิ่งที่ได้รับตรงนี้ ไปถ่ายทอดให้กับนักเรียน นักเรียนก็จะได้รับความรู้ที่ถูกทาง และนำความรู้ที่ได้รับให้เกิดประโยชน์สามารถสร้างนวัตกรรม กลายเป็นนวัตกรได้ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร ที่ว่า “องค์กรคุณภาพ สร้างคนดี มีความสุข ด้วยนวัตกรรม”ดร.รัตติกร กล่าว

นางวิมลวรรณ เปี่ยมจาด ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร กล่าวว่า สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร ได้ขับเคลื่อนโครงการ "พัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ด้วยรูปแบบ Active Learning" สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมายแรกคือกลุ่มโรงเรียน "1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ" โครงการนี้มีเป้าหมายสำคัญ คือ การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในระดับห้องเรียน ให้ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้แบบเดิม มาเป็นผู้ออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ และสร้างนวัตกรรมของตนเองได้ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น โดยเนื้อหาและกิจกรรมการพัฒนาครูในครั้งนี้มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคดิจิทัล การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning : GPAS 5 Steps และทักษะการคิดขั้นสูงเชิงระบบ การสร้างและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา กระบวนการชุมชนการเรียนรุ้ทางวิชาชีพ (PLC)

ซึ่งโครงการนี้ไม่เพียงพัฒนาครูผู้สอนเท่านั้น แต่ได้มีการพัฒนาให้กับศึกษานิเทศก์เพื่อทำหน้าที่เป็นโค้ช และพี่เลี้ยง ในการชี้แนะ ส่งเสริม สนับสนุน ตลอดจนสร้างเครือข่ายและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จะเห็นว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ส่งเสริมให้เกิดการปรับปรุงการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ พัฒนาทักษะคิดขั้นสูง ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นและทำงานเป็นทีมได้ สามารถบูรณาการความรู้สู่การแก้ปัญหาและสร้างนวัตกรรม

ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ อดีตกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการศึกษาในวุฒิสภา บรรยายพิเศษตอนหนึ่ง ว่า ระบบเดิมที่เน้นฟัง อ่าน ท่อง เพื่อสอบ เป็นแค่การกระตุ้นความจำระยะสั้น แม้ว่าการท่องจำจะทำให้สอบผ่าน แต่เด็กก็ลืมภายในไม่กี่สัปดาห์ และสุดท้ายสมองไม่เกิดการพัฒนา ก็เสียเวลา เสียทรัพยากร และที่เจ็บที่สุดคือเราเสีย “เด็กไทย” ไปกับระบบที่ไม่ได้เปลี่ยนพวกเขาให้ดีขึ้น แต่ GPAS 5 Steps คือจุดเปลี่ยนที่ใช้การคิดขั้นสูงเชิงระบบ ฝึกให้เด็กได้คิด วิเคราะห์ สร้างและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นการจำในสมองระยะยาว ไม่ใช่ท่องจำแล้วทำข้อสอบผ่าน และนี่ก็คือแนวทางที่นักการศึกษาทั่วโลกยืนยันมาเป็นร้อยปีว่า การเรียนรู้ที่แท้จริง ต้องมาจากการลงมือทำ และถ้าเรายังไม่เปลี่ยนวันนี้ ความสูญเปล่าทางการศึกษาจะยิ่งแย่กว่าเดิมแน่นอน

#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TOJO NEWS

รายวันพยากรณ์ ดวงวันนี้ 13 กรกฎาคม 68 กับ อ.ดีนุ้ย พรหมญาณพยากรณ์

31 นาทีที่แล้ว

หมออ๋อง จัดหนัก! ไม่ได้เกี่ยวกับฝ่ายค้าน แต่รัฐบาลไม่มีปัญญา?

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

วิดีโอ

เซินเจิ้น ประเทศจีน นำหุ่นยนต์แพทย์แผนจีนอัจฉริยะช่วยวินิจฉัย ยกระดับการรักษาในคลินิกชุมชนหลายร้อยแห่ง

BRIGHTTV.CO.TH

เปิดชีวิต 'เจ๊อ๋อ' จากถูกหวย 90 ล้าน เงินหมด รับจ้างดำนาวันละ 300 ชีวิตโคตรมีความสุข

Khaosod

“สุชาติ” แจงข่าวลำไยเชียงใหม่ราคาตกเหลือ 1 บาท/กก. คลาดเคลื่อน

สำนักข่าวไทย Online

“กัน จอมพลัง” บุกช่วยตาวัย 80 ถูกหลานทรพีทำร้ายอ้างเมา ตาไม่ให้อภัยลั่นตายก็ไม่ต้องมาเผา

Manager Online

โพสต์สุดท้าย "อั้ม พิชญ์สุธางค์" บีบหัวใจหนัก เหมือนล้มทั้งเป็น

TNews

แม่ทัพภาคที่ 2 เตรียมเข้ากรุง รับมอบ บลูบังเกอร์ จากฝีมือ วิทยาเขตอุเทนถวาย

tvpoolonline.com

หนุ่มกัมพูชาลอบเข้าไทย เล่าสิ่งที่เจอหลังโดนเรียกกลับประเทศ

TNews

กระเป๋าผู้หญิง แหล่งสะสมเชื้อโรค เสี่ยงสุขภาพที่หลายคนไม่รู้ตัว

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...