โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

เกษตรไทยบักโกรก สหรัฐบีบภาษีหนัก นำเข้า-ส่งออกโดนถ้วนหน้า หมู-โค-ไก่-ข้าวโพด ผวาสิ้นอาชีพ

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง “พิชัย ชุณหวชิร” เตรียมเจรจารอบใหม่กับสหรัฐอเมริกาคืนวันที่ 17 กรกฎาคม ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หวังปิดดีลลดอัตราภาษีตอบโต้ให้ต่ำกว่า 36% ก่อนมีผลบังคับใช้ 1 สิงหาคม 2568 ข้อเสนอใหม่ของไทยครอบคลุมการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม เช่น ลำไย ปลานิล การนำเข้าพลังงานจากสหรัฐ และการส่งเสริมการลงทุนในสหรัฐ

ขณะเดียวกัน รัฐบาลเตรียมวงเงินสินเชื่อซอฟต์โลน 200,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.1% เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีดังกล่าว ทั้งนี้ภาคเกษตรของไทยมีความน่าเป็นห่วง หากไทยต้องเปิดตลาดนำเข้าสินค้าสหรัฐภาษี 0% ตามอย่างเวียดนาม และอินโดนีเซียที่ปิดดีลกับสหรัฐไปก่อนหน้า

โคเนื้อผวารอวันตาย

นายสุรชัย เปี่ยมคล้า เลขานุการ สมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร แต่หากรัฐบาลตัดสินใจเอาโคเนื้อและเครื่องในวัว ไปแลกกับสหรัฐโดยลดภาษีนำเข้าเป็น 0% หรือลดภาษีเหลือในอัตราต่ำให้กับสหรัฐ เพื่อแลกกับที่สหรัฐจะลดภาษีนำเข้าสินค้าไทยลงจาก 36% เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อรอวันตายอย่างเดียว ปัจจุบันราคาโคเนื้อมีชีวิตที่เกษตรขายได้ยังอยู่ในภาวะตกต่ำ ขายได้เฉลี่ย 60-70 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ขณะต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ยที่ 83 บาทต่อ กก. (ต้นทุนตามข้อมูลของ สศก.) ปัจจุบันมีโคเนื้อทั้งประเทศ กว่า 9 ล้านตัว

“ขณะนี้การบริโภคเนื้อวัวในประเทศของไทยได้ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ บวกกับการนำเข้าเนื้อโคจากออสเตรเลียที่มี FTA ระหว่างกันได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไทยได้ปลดล็อกไม่จำกัดปริมาณการนำเข้า สามารถนำเข้าได้อย่างอิสระ ทำให้ในปี 2567 ไทยมีการนำเข้าเนื้อวัวจากออสเตรเลียกว่า 29 ล้านกิโลกรัม และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลความต้องการโคเนื้อในประเทศน้อยลง

ล่าสุดจากการที่ไปยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาลเรื่องคัดค้านการนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐ รวมถึงส่งเรื่องไปที่กระทรวงพาณิชย์ และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งสองหน่วยงานมีหนังสือตอบกลับมาสั้นๆ ว่า “รับทราบ” ดังนั้นชีวิตและชะตาของเกษตรกรไทยถืออยู่ในมือรัฐบาลที่จะเป็นผู้ตัดสินใจ”

“หมู”กว่าแสนรายกังวลหมดอาชีพ

นายสิทธิพันธ์ ธนเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า หากไทยเปิดตลาดให้เนื้อหมูที่มีราคาถูกจากสหรัฐจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำมาก เข้ามาตีตลาดในประเทศ จะเท่ากับเป็นการลงดาบผู้เลี้ยงสุกรไทยทั้งประเทศกว่าแสนรายอาจต้องหมดอาชีพ นอกจากนี้จะเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ในห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ผู้ปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ ถั่วเหลือง โรงงานผู้ผลิตอาหารสัตว์ โรงงานแปรรูปเนื้อหมู และแรงงานที่เกี่ยวข้องนับแสนชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ อาจจะต้องล่มสลายไปด้วยกัน ดังนั้นรัฐบาลไม่ควรนำเนื้อหมูไปเป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรองให้สหรัฐลดภาษีให้ไทย

หวั่นไก่มะกันถล่มตลาด

นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวว่า สหรัฐเป็นหนึ่งในผู้ผลิตไก่เนื้อรายใหญ่ของโลก หากไทยลดภาษีนำเข้าเป็น 0% มีความเป็นไปได้ที่สหรัฐอเมริกาจะส่งเนื้อไก่เข้ามาขายในเมืองไทย โดยชิ้นส่วนไก่ที่สหรัฐมีศักยภาพและมีราคาถูกที่จะส่งมาขายไทย เช่น ส่วนเนื้อน่อง สะโพก ที่คนอเมริกันไม่ค่อยรับประทาน แต่ส่วนใหญ่จะชอบรับประทานเนื้อหน้าอกที่มีราคาสูงกว่า และปกติสหรัฐจะกีดกันไม่ให้สินค้าไก่จากต่างประเทศเข้าไปเปิดตลาดได้เลย

“ถ้าเนื้อไก่สหรัฐเข้ามาจริงต้นทุนถูกกว่าแน่นอน เพราะต้นทุนไก่เนื้อไทยแพง แต่ตอนนี้ปรับขึ้นมาได้ดีหน่อยจากกากถั่วเหลืองราคาถูกลงมา ทำให้เกษตรกรพอมีกำไรในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นก็ต้องมาแข่งกันที่ต้นทุนอีก ถ้ามีเนื้อไก่จากที่อื่นเข้ามาเติมในตลาดในประเทศก็จะกระทบเพราะเป็นตลาดการบริโภคเดียวกัน”

ปัจจุบันสหรัฐยังมีสถานการณ์ไข้หวัดนกระบาดในบางพื้นที่ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่กรมปศุสัตว์สั่งชะลอนำเข้า จากปกติไม่มีโรคระบาดทางเอกชนก็จะขอนำเข้าพวกปู่ย่า พ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ ไก่เนื้อ กลุ่มยา และวิตามินจากประเทศสหรัฐอยู่แล้ว อย่างไรก็ดีหากมีการลดภาษีเป็น 0 โอกาสเปิดรับไก่เนื้อจากสหรัฐก็มีโอกาส แต่สหรัฐจะเปิดให้ไทยเข้าตลาดไปขายได้หรือไม่แบบ วิน-วิน และต่อไปหากในอนาคตสินค้าไก่ไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐได้มากขึ้น สหรัฐจะขึ้นภาษีไทยภายหลังอีกหรือไม่ นี่เป็นข้อกังวล

กระทบชิ่งโรงงานอาหารสัตว์

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า ในการเจรจากับสหรัฐไม่ควรไปแตะในสินค้าหมู เพราะหากเปิดให้หมูสหรัฐเข้ามา เกษตรกรและผู้ประกอบการในห่วงโซ่การผลิตที่ต่อเนื่องจะกระทบอย่างรุนแรง นอกจากนี้จะกระทบกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่เป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคญในการผลิตอาหารสัตว์เป็นลูกโซ่ และจะส่งผลกระทบต่อโรงงานผลิตอาหารสัตว์ด้วยเพราะอาจขาดแคลนวัตถุดิบ และขายได้ลดลง ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูของสหรัฐต้องตกลงกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองของสหรัฐก่อนว่าจะขอไทยลดภาษีสินค้าใด ไม่ใช่ไทยต้องลดภาษีเป็น 0% ให้ทุกสินค้า เพราะไทยก็ต้องปกป้องเกษตรกรเช่นเดียวกับสหรัฐ

“อรรถกร”พร้อมยืนเคียงข้างเกษตรกร

ขณะที่ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ทางกระทรวงฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะกับทีมเจรจาของไทยในส่วนของสินค้าเกษตร ซึ่งโดยหลักการหากสินค้าใดส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศเป็นจำนวนมาก ไทยควรปฏิเสธ และไม่ควรที่จะลดภาษีนำเข้าให้สินค้าเกษตรจากสหรัฐที่จะเข้ามาจำหน่ายในไทยลงเป็น 0% เช่น เนื้อหมู และเครื่องใน เป็นต้น

ส่วนสินค้าเกษตรในรายการใดของสหรัฐ ที่จะส่งมาจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน หากเป็นสินค้าที่นำเข้ามาแล้วไม่ส่งผลกระทบกับเกษตรกรในประเทศมาก ก็ขอให้คณะเจรจาพิจารณาตามความเหมาะสม อย่างไรก็ดียอมรับว่าการเจรจาต่อรองย่อมมีทั้งได้และเสีย ดังนั้นรัฐบาลก็ต้องคิดหามาตรการในการรองรับผลกระทบหรือแก้ปัญหาที่จะตามมา

ทูน่า-อาหารสัตว์เลี้ยงลุ้นภาษีต่ำ

ด้านการส่งออกสินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูปของไทยไปสหรัฐ จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยความร่วมมือจากกระทรวงพาณิชย์ และกรมศุลกากร ในปี 2567 ไทยมีการส่งออกสินค้าเกษตรไปสหรัฐมูลค่ารวม 188,914 ล้านบาท โดยสินค้าเกษตรและเกษตรต่อเนื่องอาหารสำคัญที่ไทยส่งออกไปสหรัฐ เช่น ยางธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ (กุ้ง ปลา) ข้าวและผลิตภัณฑ์ ผลไม้และผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

สำหรับในสินค้าทูน่ากระป๋อง ที่สหรัฐเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย ในปี 2567 ไทยการส่งออกมูลค่า 16,825 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 19% ส่วนช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มีการส่งออกมูลค่า 7,090 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15%จากช่วงเดียวกัของปีก่อน

ขณะที่ในสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยง สหรัฐก็เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทยเช่นกัน โดยปี 2567 ไทยมีการส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงไปสหรัฐ 30,670 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 49% ส่วนช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ส่งออกมูลค่า 14,725 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 22% ทั้งนี้หากสหรัฐเก็บภาษีตอบโต้ หรือภาษีต่างตอบแทนไทย (Reciprocal Tariff) 36% อาจส่งผลกระทบต่อสินค้าทั้งสองรายการของไทยไปสหรัฐจะขยายตัวลดลง

นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนขอให้กำลังใจทีมเจรจาของไทยให้ได้ดีลภาษีที่ออกมาดีที่สุด และทำให้สินค้าไทยในภาพรวมยังแข่งขันได้ในตลาดสหรัฐที่เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทยในภาพรวมทุกสินค้า ซึ่งจากที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หัวหน้าทีมไทยแลนด์ และหัวหน้าคณะเจรจาระบุว่า ไทยจะลดภาษีสินค้า 90% ของรายการสินค้าที่ไทยค้ากับสหรัฐ รวมถึงพ่วงประเด็นอื่น ๆ เพื่อสร้างความพอใจให้กับสหรัฐ ภาคเอกชนก็มั่นใจว่าจะมีความสำเร็จในการปิดดีลการเจรจาในรอบใหม่นี้

กุ้งห่วงเสียเปรียบคู่แข่งหนัก

นายเอกพจน์ ยอดพินิจ นายกสมาคมกุ้งไทย หนึ่งในสินค้าเกษตรสำคัญที่ไทยส่งออกไปสหรัฐ กล่าวว่า หากไทยถูกสหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสูงถึง 36% จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งของไทยอย่างมาก หากประเทศคู่แข่งขันส่งออกกุ้งที่สำคัญของไทยไปสหรัฐ เช่น เอกวาดอร์ อินเดีย และอินโดนีเซีย ได้รับอัตราภาษีที่ต่ำกว่า ซึ่งจะทำให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันลดลง และอาจสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับประเทศคู่แข่งเพิ่มขึ้น (ปี 2567 ไทยส่งออกสินค้ากุ้งไปสหรัฐ 8,757 ล้านบาท) จากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ที่จะต้องหาตลาดใหม่ทดแทน หรือเพิ่มการบริโภคในประเทศ

เกษตรมะกันอยากได้ตลาดไทย

นายเกรียงไกร เธียรนุกล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า หมวดสินค้าเกษตร เป็นหมวดที่สหรัฐมีการพูดถึงหรืออ้างเสมอว่า ประเทศไทย มีมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี และบางรายการมีการคิดภาษีสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับที่สหรัฐคิดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยในหมวดสินค้าเกษตรต่ำกว่า โดยค่าเฉลี่ยไทยเก็บภาษีสินค้าเกษตรจากสหรัฐประมาณ 27%

สำหรับสหรัฐภายใต้ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ให้ความสำคัญกับสินค้าเกษตรเพราะเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรครีพับลิกัน โดยสหรัฐเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี ถั่วเหลือง รวมถึงหมูที่สหรัฐเป็นผู้ผลิตอันดับ 3 ของโลก แต่เป็นผู้ส่งออกเนื้อหมูอันดับ 1 ของโลก โดยผลิตในปริมาณมาก ทำให้มีต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่สหรัฐต้องการเข้าถึงตลาด

อย่างไรก็ดีในสินค้าเนื้อหมู เนื้อวัวไทยก็มีเกษตรกรเกี่ยวข้องหลายแสนราย และเป็นกลุ่มเปราะบาง ซึ่งไทยก็ต้องปกป้องเกษตรกรเช่นกัน ดังนั้นการเจรจากับสหรัฐครั้งนี้ของทีมไทยแลนด์คงต้องต่อรองอย่างรอบคอบและขอให้กำลังใจ เพื่อให้ได้ดีลภาษีออกมาดีที่สุด โดยเป้าหมายสำคัญคือภาษีไทยต้องไม่เสียเปรียบเวียดนาม

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ดูบอลสด 'บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด vs บีจี ปทุม' ถ่ายทอดสดวันนี้ 19 ก.ค. 18.00 น.

15 นาทีที่แล้ว

“เผ่าภูมิ” ลุยหวยเกษียณ เข้าสภา 23 ก.ค.นี้ หนุนออมเงิน ลุ้นล้าน

16 นาทีที่แล้ว

แบงก์กรุงศรี เผยงวดครึ่งปี 68 สินเชื่อลดเฉียด 3 หมื่นล้านหรือ 1.6%

19 นาทีที่แล้ว

ดีอี เตือน ข่าวปลอม รับสมัคร จนท.ศูนย์ดิจิทัลชุมชน มีค่าแรกเข้า 50,000 บาท

21 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่นๆ

รมว.สาธารณสุข เปิดโครงการ บริการทุกช่วงวัย ด้วยความห่วงใย จากกระทรวงสาธารณสุข

สยามนิวส์

เปิดประวัติ 'สมเด็จธงชัย' ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรฯ ตำนาน'ผ้ายันต์เลสเตอร์ แพ้ไม่เป็น'

THE ROOM 44 CHANNEL

“เผ่าภูมิ” ลุยหวยเกษียณ เข้าสภา 23 ก.ค.นี้ หนุนออมเงิน ลุ้นล้าน

ฐานเศรษฐกิจ

ตรงทุกจุด หนุ่ม ศรราม ให้กำลังใจ 3 ทหารกล้า พร้อมประโยคเด็ดถึงรัฐ อย่าได้หวังในน้ำใจจากผู้นำ

สยามนิวส์

คู่รักกำลังเก็บของขึ้นรถ แต่หนุ่มคงทำช้าไม่ทันใจ งานนี้ได้เห็นความลับผู้หญิงเต็มตา . อ่านข่าวใต้คอมเมนต์

สยามนิวส์

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดต สถานการณ์และเส้นทางพายุโซนร้อน "วิภา" วันที่ 19 ก.ค.68

สวพ.FM91

“ฉันทวิชญ์” ขับเคลื่อน 3 ภารกิจด่วน 90 วัน เจรจาการค้า-ขยายตลาด-ผลักดัน SME

ฐานเศรษฐกิจ

ราคาทองวันนี้ 19 กรกฎาคม 2568 เปิดตลาดราคาทองปรับเพิ่มขึ้น 50 บาท

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...