โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

5 ความท้าทายถาโถม 'ศุภชัย' ชี้ไทยถึงจุดขับเคลื่อน SDGs แบบไม่หันหลังกลับ

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย (Global Compact Network Thailand: GCNT) ได้เปิดเผยแผนภาพเชิงข้อมูลที่สะท้อน “สิ่งที่โลกกำลังเผชิญในปี 2025” ครอบคลุมความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านเทคโนโลยี ความมั่นคง การเกษตร พลังงาน และความเชื่อมั่น ซึ่งล้วนส่งผลโดยตรงต่อภาคธุรกิจ ภาครัฐ และประชาชนทั่วโลก

“ศุภชัย เจียรวนนท์” นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์โลกและประเทศไทยที่กำลังเผชิญความท้าทายอันซับซ้อนหลายประการ ซึ่งกระทบโดยตรงต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ปัจจัยเสี่ยงในระดับโลก ทั้งเรื่องภาวะโลกร้อน ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ไปจนถึงเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรม ล้วนมีผลต่อการบรรลุ SDGs

5 ความท้าทายปี 2025

GCNT ชี้ให้ประเด็นความท้าทายที่ควรจับตามองไว้ในปี 2025 โดยมี 5 ด้านหลัก ได้แก่

🔹 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI): ปัญหาเชิงจริยธรรม ความลำเอียงของระบบอัลกอริธึม ความสูญเสียของตำแหน่งงาน และภัยจากข้อมูลเท็จที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว

🔹 ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Conflict) : สงครามที่ยังดำเนินอยู่ การแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ และการเติบโตของประเทศภูมิภาคที่มีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก

🔹 ระบบอาหารและการเกษตร (Food & Agriculture): การขาดแคลนแรงงาน ความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ ภัยแล้งและการเสื่อมโทรมของที่ดิน ซึ่งล้วนส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร

🔹 วิกฤติพลังงานโลก (The Global Energy Crisis/Decarbonization) : ความท้าทายในการสร้างสมดุลระหว่างความมั่นคงด้านพลังงานกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ช่องว่างของการลงทุน และห่วงโซ่อุปทานของแร่ธาตุสำคัญ

🔹 วิกฤติความไว้วางใจ (The Crisis of Trust): ความเชื่อมั่นในสถาบันหลักๆ ลดลง ข้อมูลเท็จกลายเป็นเครื่องมือสร้างความแตกแยก และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมา

กระแสความเปลี่ยนแปลงถาโถม

“ศุภชัย” อธิบายว่า ปี 2025 ไม่ได้เดินเข้ามาอย่างเงียบๆ แต่พาเอากระแสความเปลี่ยนแปลงถาโถมใส่เราทุกด้าน ทั้งเรื่องสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด เทคโนโลยีที่เปลี่ยนเร็วไม่ทันตั้งตัว ความขัดแย้งในภูมิภาคที่ไม่มีทีท่าจะคลี่คลาย และศรัทธาที่เสื่อมถอยลงทุกวัน

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แน่นอนว่าเป็นเป้าหมายสำคัญของหลายประเทศ แต่ประเทศไทยยังติดกับดักการลงทุนที่ไม่เพียงพอ การเข้าถึงทุนและเทคโนโลยีก็ยังจำกัด แถมการบูรณาการระบบซัพพลายเชนยังไม่เป็นรูปธรรมมากพอ กลับกลายเป็นอุปสรรคแทนที่จะเป็นโอกาส

ด้านเวทีการค้าระหว่างประเทศ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ก่อตัวอย่างต่อเนื่อง การลงทุนที่ไม่แน่นอนกำลังดึงความร่วมมือระหว่างประเทศให้ห่างออกไปทุกที ขณะที่ปัญญาประดิษฐ์จะถูกยกให้เป็น 'ตัวช่วยสำคัญ' ในการบรรลุเป้าหมาย SDGs แต่เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีกลับมีคำถามมากมาย

พลังงานที่ต้องใช้มหาศาล การแทนที่แรงงานในหลายภาคส่วน และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชากรที่เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานได้ไม่เท่ากัน ทั้งหมดนี้คือความท้าทายที่เราต้องเผชิญหน้า

ไม่เพียงเท่านั้น ภาคเกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหารเองก็อยู่ภายใต้แรงกดดันจากภูมิอากาศที่แปรปรวน ประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น แรงงานลดลง และทรัพยากรธรรมชาติกำลังหมดไปอย่างไม่ทันตั้งตัว แล้วก็ยังมี “สิ่งที่อาจมองข้าม” แต่กำลังกัดกร่อนความร่วมมืออย่างช้าๆ นั่นคือ วิกฤติศรัทธา

ไทยไม่สามารถถอยหลังได้อีกต่อไป

“ศุภชัย” กล่าวด้วยว่า GCNT ไม่ได้มองสิ่งเหล่านี้ด้วยความสิ้นหวัง ในทางกลับกันเราเชื่อว่านี่คือจุดเปลี่ยน ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในจุดที่สามารถถอยหลังได้อีกต่อไป (Point of No Return) นี่คือช่วงเวลาที่ทุกภาคส่วนต้องลุกขึ้นมา รวมพลังเพื่อเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ เราต้องเร่งผลักดัน SDGs ให้เป็นรูปธรรม วัดผลได้ และเกิดผลกระทบในระดับประเทศอย่างแท้จริง

ด้วยเหตุนี้ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย จึงจะจัดงาน “GCNT Expo 2025: Forward SDGs Faster Together – รวมพลังเร่งสร้างโลกที่ยั่งยืน” งานแห่งความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์ เพื่อเร่งเดินหน้าประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย SDGs 2030 ผ่านกรอบ 7 Transformations หรือ 7Ts ระหว่างวันที่ 29 – 31 กรกฎาคม 2568 ณ ทรู ดิจิทัล พาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อเป็นเวทีต้นแบบด้านความยั่งยืนที่สร้างผลกระทบเชิงบวกได้มากที่สุดเวทีหนึ่งในประเทศไทย ที่จะยกระดับความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจกับพันธมิตรจากทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมาย SDGs ในระดับ

SDGs ถึงไทยไม่ได้ “ดีที่สุด” แต่ก็แข่งขันได้

"ดร. ธันยพร กริชติทายาวุธ" ผู้อำนวยการสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) กล่าวเสริมว่า ได้ใช้ข้อมูลจากรายงานวิเคราะห์ของสหประชาชาติปี 2025 เพื่อดูว่า SDGs ต่างๆ ห่างจากเป้าหมายแค่ไหน อย่างประเทศไทยอาจมีข้อมูลไม่ครบ จึงอิงภาพรวมจากทั่วโลก ซึ่งพบว่า SDG ที่ "ห่างไกล" ที่สุดคือ เป้าหมายที่ 13 ว่าด้วยการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ขณะที่เป้าหมายที่ประเทศไทยขับเคลื่อนได้ดีที่สุดคือเป้าหมายที่ 1—การขจัดความยากจน ถึงแม้เราจะยังไม่กล้าฟันธงว่า “หมดความยากจนแล้ว” แต่จากตัวเลขของหลายหน่วยงาน ประเทศไทยถือว่า “ขยับขึ้นมาหายใจได้” อยู่ในระดับที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่ยังมีสงครามหรือวิกฤติรุนแรง

อีกเป้าหมายที่ไทยทำได้ดีคือข้อ 3 เรื่อง สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ระบบสาธารณสุขดี อายุเฉลี่ยสูง แต่ก็ยังมีจุดอ่อน เช่น อัตราการตายบนท้องถนนที่ยังสูง ซึ่งสะท้อนว่าการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของเราอาจยังไม่ตอบโจทย์เรื่องความปลอดภัย จึงยังไม่เรียกว่ายั่งยืนอย่างแท้จริง

เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน ไทยถือว่าอยู่ในกลุ่มนำ ถึงเราจะไม่ได้ “ดีที่สุด” แต่ก็อยู่ในระดับที่แข่งขันได้ โดยเฉพาะด้านสุขภาพและการลดความยากจน สิงคโปร์เองแม้คะแนนบางด้านจะต่ำ แต่ก็เลือกไม่ส่งข้อมูลในบางประเด็น เหตุผลอาจเกี่ยวกับบริบทการเมือง เขาเองก็ยอมรับว่าไม่จำเป็นต้องได้คะแนนสูงทุกรายการ เพราะไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนให้ความสำคัญที่สุด

ต้องไม่ถอยในสิ่งที่ทำได้ดี

หากมองไปยังปี 2030 กับคำถามว่า ประเทศไทยควรเร่งทำเรื่องใดเพื่อจะบรรลุเป้า SDGs? "ดร. ธันยพร" ตอบว่า เราต้องไม่ถอยในสิ่งที่ทำได้ดี และต้องกล้าพุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายที่ยังมีช่องว่าง โดยเป้าหมายที่เรายังขาดและต้องเร่ง ได้แก่

  • ข้อ 6: การจัดการน้ำ—ยังไม่มีกิจกรรมเชิงรุกหรือแผนฟื้นฟูแหล่งน้ำที่ชัดเจน
  • ข้อ 7: พลังงานสะอาด—แม้มีการผลิต แต่ยังไม่เพียงพอ
  • ข้อ 8: การจ้างงานอย่างเป็นธรรม—แม้อัตราการว่างงานต่ำ แต่คุณภาพงานยังไม่ดีพอ หลายคนมีงาน แต่ไม่ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม

“ประเทศไทยไม่ควรขายแรงงานขั้นต่ำไปตลอดชีวิต เราต้องฉีกกรอบเดิม เปลี่ยนวิธีคิดจากการจ่ายค่าแรงขั้นต่ำ ไปสู่ระบบที่ให้ค่าตอบแทนตามศักยภาพและความรู้ เพื่อให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

ดังนั้น GCNT Expo 2025 จึงมีกรอบที่ประกอบไปด้วย 7 ด้าน Tourism, Trade, Technology, Talent Development, Transition และ Trust ซึ่งเป็นกรอบที่เรานำมาจับเพื่อหาแนวทางพัฒนา

“การทำงานจริงๆ ไม่ใช่แค่นั่งเขียนนโยบายลงกระดาษ เราต้องหาให้เจอว่าเราควรเริ่มทำ ‘อะไร’ และ ‘ทำแบบไหน’ เช่น การยกตัวอย่างภาคเกษตร การใช้โดรนแค่หนึ่งตัวให้บริการได้ 3 หมู่บ้าน เราจะชักชวนเกษตรกรยังไง? มีทางออกอะไรที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง?

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ไฮด์ เฮอริเทจ ทองหล่อ กระดับบริการตอบไลฟ์สไตล์ระดับลักชัวรี

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

GCNT Expo 2025 งานมหกรรมความยั่งยืนระดับชาติ ขับเคลื่อน SDGs ด้วย 7Ts

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

โรงเรียนแมวๆ : ยึดมั่นในคำสอน

The MATTER

บอลวันนี้ ดูบอลสด ถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล วันอังคารที่ 22 ก.ค. 68

PostToday

"ไส้กรอกอีสาน-ไส้อั่ว" เมนูเด็ดจากไทย ติดอันดับ 50 ไส้กรอกที่ดีที่สุดในโลก

Manager Online

นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย "Part of, Not Apart From"

Manager Online

ชวนสัมผัสศิลปะ วัฒนธรรม และลิ้มรสอาหารญี่ปุ่นอันประณีต

Manager Online

เพื่อนรักนักบำบัด ทำไมสัตว์เลี้ยงจึงเป็นจิตแพทย์ที่ดีที่สุดในยุคนี้

SpringNews

วิธีเบิกค่าทำฟัน ประกันสังคม ออนไลน์ สรุป 14 ขั้นตอน

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

สึกแล้ว! พระสายมู แอบแซ่บ เมียชาวบ้าน คุยแชตหวาน หยอด 'นางผู้เป็นที่รักของพี่'

MATICHON ONLINE

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...