จ.เชียงใหม่ เปิดศูนย์ฯเตรียมพร้อมรับมือ “พายุวิภา” ช่วยเหลือประชาชน
ที่ ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ สำนักงานชลประทานที่ 1 กรมชลประทาน นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานแถลงเปิดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ เตรียมความพร้อมรับมือพายุวิภา โดยมี นายศิวกร บัวป้อง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายอัฎฐวิชย์ นาควัชระ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลง ซึ่งศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ได้คาดการณ์ว่าฝนจะเริ่มตกตั้งแต่บ่ายวันนี้เป็นต้นไป และจะตกหนักในวันพรุ่งนี้ (23 ก.ค. 68) โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
ทั้งนี้ สำนักงานชลประทานที่ 1 ได้รายงานเกี่ยวกับสถานกาณณ์น้ำในปัจจุบันดังนี้ เขื่อนแม่งัด มีปริมาณน้ำอยู่ที่ร้อยละ 63 สามารถรองรับน้ำได้เพิ่มอีก 126 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแม่กวงอุดมธารา มีปริมาณน้ำร้อยละ 51 สามารถรองรับน้ำได้เพิ่มอีก 130 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำขนาดกลางทุกแห่งมีประมาณน้ำกักเก็บต่ำกว่าร้อยละ 80 แม่น้ำปิงที่สถานี p.1 มีปริมาณน้ำร้อยละ 22 จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าอ่างเก็บน้ำทุกแห่ง และลำน้ำปิงมีความพร้อมในการรับน้ำที่เกิดจากอิทธิพลของพายุวิภาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
โดยนายนิรัตน์ เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้เตรียมความพร้อมในการรับมือกับพายุวิภา ซึ่งขณะนี้ได้เปิดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แล้วที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ สำนักงานชลประทานที่ 1 พร้อมกับเปิดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดเชียงใหม่ (ส่วนหน้า) ที่อำเภอฝาง เพื่อติดตามและให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อำเภอฝาง แม่อาย ไชยปราการ เวียงแหง และเชียงดาว ซึ่งเป็นพื้นที่ทางทิศเหนือของจังหวัดและมีความเสี่ยงในการเกิดฝนตกหนักและเกิดดินโคลนถล่ม ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการเปิดศูนย์สนับสนุนการแก้ไขสถานการณ์ และการระดมทรัพยากร และศูนย์สนับสนุนการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ และความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน โดยวันนี้ได้เปิดให้บริการสายด่วน 1567 ตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว เพื่อให้ประชาชนสามารถแจ้งเหตุรวมถึงแจ้งขอรับความช่วยเหลือ และเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและจัดเตรียมอาหาร น้ำดื่ม สำหรับแจกจ่ายให้กับประชาชนกรณีเกิดสถานการณ์อุทกภัยขึ้น
นอกจากนี้ ทุกหน่วยงานในจังหวัดก็ได้มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือด้วยเช่นกัน ทั้งการจัดหาศูนย์พักพิงชั่วคราว ซึ่งได้เตรียมไว้ 40 แห่ง สามารถรองรับประชาขนได้มากถึง 21,115 คน การจัดเตรียมสถานที่จอดรถหนีน้ำ รองรับได้ 10,500 คัน ในส่วนพื้นที่ที่มีความเสี่ยงการเกิดน้ำท่วมขังในเขตพื้นที่เมืองเชียงใหม่ ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ รายงานว่าได้มีการจัดตั้งศูนย์ CMFORCE โดยให้มีเจ้าหน้าที่พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง และดูดลอกท่อระบายน้ำ ขุดขยายลำเหมือง คูคลองในพื้นที่เพื่อเพิ่มและสิทธิภาพการระบายน้ำ จัดทำพนังกั้นน้ำ และเสริมความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำปิง และพร่องน้ำในคูเมืองเชียงใหม่เพื่อเป็นแก้มลิงรองรับน้ำฝนในเขตเมือง
ทั้งนี้ นายนิรัตน์ ได้สั่งการไปยังทุกส่วนราชการ ทุกอำเภอในพื้นที่ ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความมั่นใจในการรับมือตั้งรับให้กับพี่น้องประชาชน หมั่นตรวจสอบทางน้ำและเก็บ รื้อถอนป้ายโฆษณาที่ติดตั้งโดยไม่ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันไม่ให้พัดตกลงมาทับอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหาย
จากนั้น นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เดินทางมาเป็นประธานการประชุม การเตรียมความพร้อมรับมือพายุ "วิภา" ได้กล่าวว่า กรมบรรเทาและสาธารณภัย ได้เปิดวอร์รูป 3 ข้อสั่งการ ของท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ให้ติดตามสถานการณ์พายุวิภา อย่างใกล้ชิด ทางกรมฯ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัยากรธรณี ในส่วนของสกนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมชลประทาน รวมทั้งภาคีเครือข่ายทั้งหมด มาเปิดวอร์รูม ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อติดตามสถานการณ์ โดยศุนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ออกคำเตือนมากมายในช่วงระยะนี้ เนื่องจากว่าเป็นช่วงที่พายุวิภา ขณะนี้มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณชายฝั่ง กำลังจะขึ้นประเทศเวียดนามตอนบน หลังจากนั้นก็จะสลายกำลังลง จากพายุลงเป็นโซนร้อนตามลำดับ เมื่อเคลื่อนตัวเข้าก็จะสลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ก็ประกอบกับเข้าร่องมรสุมพอดี ก็คือทางภาคเหนือตอนบน จะเข้าทางลาวตอนบน รวมทั้งในส่วนของประเทศไทยก็จะได้รับอิทธิพล โดยเฉพาะในโซนของภาคเหนือตอนบนตั้งแต่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย แพร่ พะเยา และน่าน จะได้รับอิทธิพ รวมทั้งอุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ด้วย
เมื่อพายุพัดผ่านเข้ามา เมื่อลมพายุพัดผ่านเข้ามาที่ภูเก็ด ก็จะทำให้โซนของตะวันตก ไม่ว่าจะเป็น กาญจนบุรี ราชบุรี ในโซนนั้น รวมถึงตะวันออก ที่ระยอง จันทบุรี ตราด ก็จะได้รับอิทธิพล ทำให้มีฝนตกหนักด้วย ซึ่งคาดการณ์ว่าฝนก็น่าจะเริ่มหนักตั้งแต่ช่วงเย็นวันนี้จนถึงวันที่ 24 ก.ค. ก็จะตกหนักต่อเนื่อง ทำให้หลายพื้นที่ทางภาคเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีภูเขาสูง ชุ่มน้ำ ทางกรมทรัพยากรธรณี ก็เกรงว่าเมื่อปริมาณน้ำฝนตกหนักน่าจะเกิน 200 มิลลิเมตร อาจทำให้เกิดดินโคลนถล่ม ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ก็ได้ประชุมวอร์รูม ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่กรมทรัพยากรธรณีได้แจ้งเตือนไป ให้ทำการอพยพพี่น้องโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง พื้นที่ที่อยู่ตามริมเขา อาจะเป็นกลุ่มแรกที่ต้องอพยพ ต้องมีศูนย์พักพิง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เตรียมเครื่องจักรกลไว้ให้เพียงพอ ตั้งแต่ศูนย์เผชิญเหตุที่ลำปาง ที่เชียงราย และใช้ศูนย์ ปภ.เขต 9 พิษณุโลก เป็นจุดรวมพลของเครื่องจักรกล เอามาจากศูนย์เขต 2 และศูนย์เขต 16 ชัยนาท เมื่อเกิดภัยพิบัตรในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ก็จะกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ส่วนถุงยังชีพ เตรียมไว้แล้วตามจงหวัด รวมทั้งการโรยตัวทางอากาศก็ครบถ้วน เครื่องจักรก็สามารถประสานได้ทุกจังหวัดตามการร้องขอ
จังหวัดพื้นที่ลุ่มต่ำ ก็ได้เอาเครื่องจักรไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครื่องสูบน้ำ เรือ รถยกสูง รถผลิตน้ำดื่ม ก็จะไปประจำตามพื้นที่ต่างๆ นอกจากนั้นเราก็นำออกมาประจำที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 20 ก.ค. ที่ผ่านมา นอกจากนี้ก็ได้มีการออกแจ้งเตือนประชาชนอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นระยะ โดยใช้ Cell Broadcast แจ้งเตือนฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ตอนนี้ภาพรวมก็เตรียมพร้อมทุกจังหวัดแล้ว รวมทั้งศูนย์พักพิงด้วย และในแต่ละจังหวัดก็จะมีการเปิดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับท้องถิ่น อำนวยการในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างเร่งด่วน
ด้านดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหาร Futuretales LAB, MQDC และผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) คืออาการล่าสุดกำลังแตะชายฝั่งเวียดนามจุดศูนย์กลางเปลี่ยนตลอด ล่าสุดคิดว่าไปทางน่านแต่แน่นอนมันอ่อนกำลังลงจะเป็นดีเปรสชั่นหรือหย่อมก็ต้องติดตามแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นว่าอ่อนกำลังลงแล้วฝนจะไม่ตกหนัก ที่น่าห่วงคือพายุอ่อนกำลังลงแล้วฝนตกแช่เป็นประเด็นเชียงใหม่เองขณะนี้เราจะเห็นว่าภาพเราจะมองเมฆก็จะปกคลุมคือทามไลน์ของมันจะเป็นเข้าอีสานบนจะเริ่มฝนตกหลังจากนั้นคืนที่ 22 ก.ค. 68 จะเข้า จังหวัดน่าน ซึ่งจังหวัดน่านต้องเฝ้าระวังกับจังหวัดเชียงราย ส่วน จังหวัดเชียงใหม่ก็ต้องเฝ้าระวังวันที่ 23 ก.ค. 68 ฝนจะตกหนัก คำว่าตกหนักหมายความว่าถ้าฝนตกหนักสะสมวันละ 80-100 มิลลิเมตร 3 วัน 300มิลลิเมตร ก็เป็นไปได้ซึ่งสิ่งนี้ที่เรากังวลฝนตกสะสม เพราะฉะนั้นสถานการณ์ยังเปลี่ยนแปลงในเชิงของเส้นทางพายุเท่านั้นเอง
ผลกระทบนั้นการประเมินทาง ดร. เสรี ยังกล่าวอีกว่าแต่ละแห่งความเปราะแตกต่างกันถ้าริมแม่น้ำสายใหญ่เขาก็เตรียมพร้อมเช่นริมน้ำปิง อย่างเช่นรัฐมนตรีได้บอกไปได้มีการขุดลอกตอนนี้ก็ได้มีการพร่องน้ำให้เหลือร้อยละ 40 แล้วแต่บางสายน้ำเช่นแม่น้ำน่าน มันเยอะอยู่ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้พยายามพร่องแต่ก็ยังเยอะอยู่เพราะฉะนั้นเสี่ยงสูงสุดคงไม่พ้นน่าน ที่เรามองตามมาด้วยจังหวัดเชียงราย กรมอุตุนิยมวิทยามีการคาดการณ์ว่าจังหวัดเชียงรายนั้นจะมีฝนตกเกือบ 300 มิลลิเมตร เพราะฉะนั้นแม่สายก็คงหลีกเลี่ยงได้ยากดังนั้นก็คงต้องติดตามสถานการณ์เพราะแม่สายมาเร็วไปเร็ว ซึ่งการมอนิเตอร์เรลทามต้องทำตลอดเวลาส่วนพื้นที่อื่นๆ จังหวัดแพร่ /จังหวัดอุตรดิตถ์ก็ยังเป็นคงเป็นพื้นที่เสี่ยงอยู่ วันนี้เอง 22 ก.ค. 68 ที่ต้องเฝ้าระวังคืออีสานบน จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงรายและตะวันตกคือจังหวัดตาก
ส่วนวันที่ 23 ก.ค. 68 พื้นที่ๆ กังวลก็คือทั่วประเทศเลย เรียกว่าสัปดาห์นี้ถือว่าเป็นสัปดาห์อันตรายเลยก็ว่าได้เพราะเชียงใหม่ที่ผ่านมาฝนตกแค่ 30 มิลลิเมตรน้ำยังท่วมขังเลยเพราะฉะนั้นพายุโซนร้อนวิภาอัตราฝนที่จะตกเกิน 100 มิลเมตรอยู่แล้วเป็นห่วงและต้องเฝ้าระวัง
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ก็ได้ลงพื้นที่ดูการขุดลอกแม่น้ำปิง และการรื้อฝายหินเดิม (ฝายท่าวังตาล) ที่บริเวณประตูระบายน้ำท่าวังตาล ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยโครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้นำเรียนถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำของประตูระบายน้ำแห่งนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อประชาชนชาวเชียงใหม่