โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

BOI รับมือสงครามการค้า คลอดแผนสกัดสวมสิทธิ ‘สินค้าไทย’

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา

หลังจากสหรัฐประกาศนโยบายเก็บภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวล ประกอบกับสถานการณ์การแข่งขันทางธุรกิจในประเทศมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้หารือผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเข้าใจปัญหา และหาแนวทางบรรเทาผลกระทบ

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานออกมาตรการชุดใหญ่ ภายใต้ชื่อว่า “มาตรการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทย เพื่อรองรับโลกยุคใหม่” เพื่อตอบโจทย์ 2 เรื่องสำคัญ คือ

1. สนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และเสริมสร้าง Supply Chain ในประเทศให้แข็งแกร่ง พร้อมรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง

2. ลดความเสี่ยงจากมาตรการการค้าของสหรัฐ และจัดระเบียบการลงทุนในบางสาขา เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ และรักษาสมดุลในการแข่งขันทางธุรกิจให้เหมาะสม โดยมี 5 มาตรการย่อย ดังนี้

มาตรการที่ 1 มาตรการส่งเสริม SMEs ไทย ปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยกำหนดสิทธิประโยชน์สำหรับ SMEs ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพ เช่น การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัย การใช้ระบบอัตโนมัติ และเทคโนโลยีดิจิทัลยกระดับกิจการ การประหยัดพลังงาน

มาตรการที่ 2 มาตรการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนในประเทศไทย (Local Content) สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยมีช่องทางการขายที่กว้างขวางขึ้น และสามารถเชื่อมต่อกับบริษัทต่างชาติเพื่อเข้าสู่ Supply Chain ระดับโลก ผ่านการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อจูงใจให้ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ

รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทต้องได้รับการรับรอง Made in Thailand (MiT) จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบ และชิ้นส่วนในประเทศตามสัดส่วนที่กำหนด

ทั้งนี้ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV ไม่น้อยกว่า 40% ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งหมด รถยนต์ไฟฟ้าแบบ PHEV ที่ 45% ชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า 15% และเครื่องใช้ไฟฟ้า 40% โดยจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เพิ่มเติมอีก 2 ปี จากเกณฑ์ปกติ

ชงมาตรการเข้มสกัดสินค้าสวมสิทธิ

มาตรการที่ 3 การเพิ่มความเข้มข้นในการพิจารณากระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญ สำหรับบางกิจการที่มีความเสี่ยงต่อการสวมสิทธิ และอาจได้รับผลกระทบจากมาตรการการค้าของสหรัฐ เช่น กิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์โลหะ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ กระเป๋า

มาตรการที่ 4 การจัดระเบียบการลงทุนในบางสาขา เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ และรักษาสมดุลในการแข่งขันทางธุรกิจให้เหมาะสม ดังนี้

1. กิจการที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูง และมีความเสี่ยงต่อมาตรการการค้าของสหรัฐ โดยยกเลิกการส่งเสริมผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ รวมทั้งกำหนดหุ้นไทยข้างมากในกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์ กระเป๋า และสิ่งพิมพ์

2. กิจการที่มีปริมาณผลิตเกินความต้องการ และกระทบกับผู้ผลิตในประเทศ โดยยกเลิกการส่งเสริมผลิตเหล็กขั้นปลาย เช่น เหล็กทรงยาวทุกชนิด เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นหนา ท่อเหล็ก และกิจการตัดโลหะ

3. กิจการที่มีความเสี่ยงด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชน เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ เคมีภัณฑ์ พลาสติก การรีด ดึง หล่อหรือทุบโลหะ โดยงดให้สิทธิถือครองที่ดินเพื่อประกอบกิจการเพื่อให้ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม และได้รับการกำกับดูแลที่รัดกุมมากขึ้น

ตรวจเข้มเงื่อนไขจ้างแรงงานต่างชาติ

มาตรการที่ 5 การปรับปรุงเงื่อนไขการจ้างงานบุคลากรต่างชาติ เพื่อสร้างโอกาสการจ้างงานในประเทศ และกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่บุคลากรไทยมากขึ้น โดยกำหนดว่า หากเป็นกิจการผลิตที่มีการจ้างงานทั้งบริษัทตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป จะต้องมีการจ้างบุคลากรไทยไม่น้อยกว่า 70%

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดรายได้ขั้นต่ำของบุคลากรต่างชาติที่จะขอใช้สิทธิด้านวีซ่า และใบอนุญาตทำงานกับบีโอไอ เช่น ถ้าเป็นระดับผู้บริหาร ต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่า 150,000 บาทต่อเดือน และระดับผู้เชี่ยวชาญ ไม่น้อยกว่า 50,000 บาทต่อเดือน เพื่อให้สามารถคัดกรองบุคลากรต่างชาติที่มีทักษะสูงให้เข้ามาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่เศรษฐกิจไทยได้ดียิ่งขึ้น

รถยนต์แบรนด์เดิมใช้ชิ้นส่วนในประเทศสูง

ทั้งนี้ในส่วนของชิ้นส่วนยานยนต์ ภาพรวมของการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย ในช่วงที่ผ่านมากำหนดให้ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (local content) ไม่ต่ำกว่า 40% ขณะที่รถที่จะส่งออกระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟตา กำหนดให้ใช้ชิ้นส่วนในภูมิภาคหรือ ASEAN content ไม่ต่ำกว่า 40%

อย่างไรก็ตามในแง่ปฏิบัติจริง แบรนด์รถยนต์ดั้งเดิมที่เข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทยยาวนาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ญี่ปุ่น ใช้ชิ้นส่วนมากกว่าข้อกำหนดพื้นฐานอย่างมาก โดยกลุ่มรถยนต์นั่งเฉลี่ย 60-70% หรือสูงกว่านั้นในบางแบรนด์บางรุ่น ขณะที่รถปิกอัพส่วนใหญ่ใช้ในระดับเกิน 80% หรือ 90% ขึ้นไป

และที่สำคัญเป็นการใช้ชิ้นส่วนสำคัญๆ ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบเครื่องยนต์ ชุดเกียร์ หรือชุดควบคุม (อีซียู) ก็ตาม และบางแบรนด์ก็ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตหลัก ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่พบว่าโรงงานผลิตรถยนต์หลายภูมิภาค รวมถึงสหรัฐ ประกาศหยุดการผลิตเนื่องจากขาดแคลน อีซียู ที่ผลิตในประเทศไทย

ขณะที่แบรนด์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มรถพลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี ที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการผลิตก็ยังคงใช้ชิ้นส่วนในประเทศในระดับใกล้เคียงกับเกณฑ์ของรัฐคือ 40% หรือหากจะสูงกว่าก็ไม่มากนัก

สำหรับข้อกำหนดการผลิตอีวี กรมศุลกากร และกระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดให้ผู้ผลิตอีวีที่ตั้งในเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรี จะต้องผ่านกระบวนการผลิตที่สำคัญ เช่น การตรวจสอบคุณภาพ และผลิตชิ้นส่วนสำคัญ โดยต้องใช้ชิ้นส่วนและวัตถุดิบที่ผลิตในไทย และอาเซียนไม่น้อยกว่า 40% ของราคาหน้าโรงงาน

ส่วนสรรพสามิตได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ผลิตที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ อีวี 3.0 และ อีวี 3.5 ต้องใช้แบตเตอรี่หรือชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตในประเทศ เช่น มอเตอร์ขับเคลื่อน ระบบ BMS DCU อินเวอร์เตอร์ เกียร์ทดรอบ หรือคอมเพรสเซอร์ระบบปรับอากาศ

ดังนั้นหากแบรนด์ใดใช้ชิ้นส่วนบางรายการ เช่น แบตเตอรี่ที่ประกอบในประเทศ ก็แทบจะไม่ต้องใช้ชิ้นส่วนอื่นๆ เนื่องจากแบตเตอรี่มีมูลค่าที่สูง

ความต้องการชิ้นส่วนลดลง กระทบเศรษฐกิจ

ทั้งนี้การใช้ชิ้นส่วนในประเทศถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ตัวอย่างเช่นในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องจำนวนมาก และเมื่อได้รับผลกระทบทำให้มีความเสียหายจำนวนมาก

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย จากการที่ใช้ชิ้นส่วนในประเทศจำนวนมากโดยเฉพาะรถปิกอัพที่เป็นโปรดักต์ แชมเปี้ยนของไทย และโดยปกติมีสัดส่วนการขายประมาณ 40-50% ของตลาด ทำให้ซัพพลาย เชน มีความแข็งแกร่งอย่างมาก

แต่ปัจจุบัน โครงสร้างตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการเข้ามาของ อีวี และผลกระทบจากปัจจัยลบอื่น ๆ เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจ ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ทำให้ตลาดรถปิกอัพติดลบอย่างรุนแรง และปัจจุบันสัดส่วนการขายน้อยกว่ารถ เอสยูวี และอีโค คาร์ ทำให้ส่งผลกระทบกับผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ

“การผลิตปิกอัพใช้ชิ้นส่วนในประเทศ 93-94% ตลาดที่หดตัวลง ทำให้ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจในภาพรวม”

ทั้งนี้สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์จากข้อมูลของกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วน และอะไหล่ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่าไทยมีกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วน เทียร์ 1476 ราย เทียร์ 2 และ 3 จำนวน 1,210 ราย โดยกลุ่มเทียร์ 1 ส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนช่วง 40-50 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น 60% ขณะที่บริษัทร่วมทุนมีประมาณ 10% ส่วนผู้ประกอบการไทยหลักๆ จะอยู่ในกลุ่ม เทียร์ 2 เกือบ 50%

พิสูจน์อักษร….สุรีย์ ศิลาวงษ์

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ตี๋ใหญ่คัมแบ็ก! 'HUAWEI Pura 80 Series' พร้อมกลับมาผงาดตลาดเรือธง

38 นาทีที่แล้ว

จัดใหญ่! Southern Innovation Fair 2025 ขับเคลื่อนด้วยวิจัย-นวัตกรรม

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แบงก์กรุงเทพ เปิดกำไรไตรมาส2 ที่ 1.18หมื่นล้าน วูบ 6.2% หลังตั้งสำรองเพิ่ม 18%

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘ดีบีเอส’ สแกน ‘หุ้นไทย’ เหลือ1,000จุด แรงบีบ ‘ภาษีทรัมป์36%‘

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

“ทักษิณ” ลั่นอีก 3 เดือนไทยเปิดแซนด์บ็อกซ์ใช้คริปโทเคอร์เรนซี

กรุงเทพธุรกิจ

‘พีระพันธุ์’ ชี้แจงความคืบหน้าร่างกม. ปฏิรูปพลังงาน ย้ำทุกอย่างเป็นไปตามแผนเร่งลดภาระพี่น้องประชาชน

THE STATES TIMES

ตี๋ใหญ่คัมแบ็ก! 'HUAWEI Pura 80 Series' พร้อมกลับมาผงาดตลาดเรือธง

กรุงเทพธุรกิจ

15 หุ้น “โรบอทเทรด” คึก! แรงซื้อ DELTA ดันราคาปิดพุ่ง 16%

ข่าวหุ้นธุรกิจ

BBL โชว์ครึ่งแรกปี 68 มีกำไร 24,458 ล้านบาท โต 9.5% จากปีก่อน รับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยพุ่งแรง

Wealthy Thai

พด.101 ร่วมโครงการ ‘คลีนิคเกษตรเคลื่อนที่’ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

The Bangkok Insight

จับสัญญาณทองคำครึ่งปีหลัง InterGOLD ชี้การย่อลึกไม่ใช่จบรอบ แนะปรับกลยุทธ์ลงทุนรับความผันผวน

สยามรัฐ

ปูนซีเมนต์นครหลวง คว้ารางวัล ‘บริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี’ จาก Money & Banking Awards 2025

The Reporters

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...