โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

มองต่างมุม ‘นักกฎหมาย’ ชี้ ‘อิ๊งค์’ เข้าถวายสัตย์ฯ-ปฏิบัติหน้าที่ รมว.วธ. ได้

ไทยโพสต์

อัพเดต 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 16 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดร.ณัฏฐ์ มองต่างมุมปมร้อน “แพทองธาร” ชี้คำสั่งศาลรธน.ไม่ผูกพัน สามารถเข้าถวายสัตย์ฯและปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ “รมว.วัฒนธรรม”ได้

2 กรกฎาคม 2568 - สืบเนื่องจากประกาศให้ความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2568 โดยมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีนั่งควบ รมว.วัฒนธรรม อีกตำแหน่งหนึ่ง โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติเสียงข้างมากรับคดีไว้พิจารณาและมีคำสั่งมาตรการชั่วคราว สั่งให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลจะวินิจฉัยชี้ขาด นั้น

ล่าสุด “ดร.ณัฏฐ์” หรือ ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวว่าตนขอให้ความเห็นเพื่อประโยชน์สาธารณะในประเด็นนี้ว่า รัฐธรรมนูญได้บัญญัติในการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี โดยบัญญัติว่า “ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์” เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161วรรคหนึ่ง ข้อถกเถียงกันปมร้อนว่า คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำสั่งให้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นากยกรัฐมนตรีศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่และควบตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม สามารถเข้าถวายสัตย์ฯและปฏิบัติหน้าที่ รมว.วัฒนธรรมได้หรือไม่ ให้พิจารณาข้อกฎหมาย ดังนี้

ดร.ณัฏฐ์ กล่าวว่า คำขอท้ายคำร้องของผู้ร้อง ขอใช้มาตรการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสามประกอบมาตรา 82 วรรคสอง ประกอบ พรป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 71 ประกอบข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2562 ข้อ 40(8) เฉพาะตำแหน่งของผู้ร้อง หมายถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่ได้หมายรวมถึงตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรมที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งตำแหน่งรัฐมนตรีควบใหม่ เพราะเกินคำขอท้ายคำร้อง(ข้อ 2) จึงไม่ห้ามที่จะเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์และสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ รมว.วัฒนธรรม ส่งผลให้เข้าร่วมประชุม ครม.ได้

ดร.ณัฏฐ์ กล่าวต่อว่า หากผู้ร้องจะขอให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม จะต้องไปใช้ช่อง รธน.มาตรา 82 ใหม่ โดยอาศัยข้อเท็จจริงใหม่ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เสร็จเด็ดขาด จึงไม่ผูกพันในคดีอื่นๆ

ดร.ณัฏฐ์ กล่าวอีกว่า ขณะเสนอรายชื่อให้ควบตำแหน่งรัฐมนตรี คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาด โดยให้ยึด “วันที่ได้รับแต่งตั้ง” เป็นรัฐมนตรี คือ ในวันที่ 30 มิถุนายน 2568

ดร.ณัฏฐ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและเข้าทำหน้าที่ เป็นไปตามหลักความรับผิดชอบร่วม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 158 โดยเริ่มต้นการเข้าทำหน้าที่ มีองค์ประกอบ (1) ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี และ (2)ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์

ดร.ณัฏฐ์ กล่าวอีกว่า การ “หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี” ตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงมาตรการชั่วคราว ของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันความเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง ประกอบ พรป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 71 ประกอบข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2562 ข้อ 40(8) มิใช่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เสร็จเด็ดขาดและผูกพันทุกองค์กร ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 211 วรรคท้าย

ดร.ณัฏฐ์ กล่าวต่อว่า ในขณะเสนอรายชื่อเป็น รมว.วัฒนธรรมและโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น รมว.วัฒนธรรมในวันที่ 30 มิถุนายน 2568 คุณสมบัติรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160(4) และ (5) ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง” ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาด คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามความเป็นรัฐมนตรีจึงไม่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160

วันที่ 3 กรกฎาคม 2568 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีผู้รักษาการนายกรัฐมนตรี นำ รัฐมนตรีใหม่ เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระมหากษัตริย์ ถึงแม้ศาลจะมีคำสั่งให้นางสาวแพทองธารฯ ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ตราบใด ศาลรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีคำวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดว่าขาดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามความเป็นรัฐมนตรี ถือว่ามีสถานะเป็น “รัฐมนตรีที่รอการถวายสัตย์ฯ” สามารถเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ถึงจะเข้ารับทำหน้าที่ได้

ดร.ณัฏฐ์ กล่าวอีกว่า พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งของนางสาวแพทองธารฯ เป็น รมว.วัฒนธรรม มีผลในทางกฎหมาย เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2568 เป็นต้นไป มิใช่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 ในวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

กระบวนการเพิกถอนการแต่งตั้งรัฐมนตรีเฉพาะราย จะต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 171 หรือ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดว่าขาดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม มาตรา 170(4) ประกอบมาตรา 160

ไม่มีข้อกฎหมายใดตีความขยายว่า “คำสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ภายหลัง” ทำให้การแต่งตั้งย้อนหลังเป็นโมฆะ

ดร.ณัฏฐ์ ย้ำว่า ปัญหาข้อโต้แย้งว่าไม่ควรให้นางสาวแพทองธารฯ เข้าเฝ้าถวายสัตย์ตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม ถือว่าเป็นการตีความล่วงหน้า และรัฐธรรมนูญไม่รองรับ ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด หลักนิติรัฐ และหลักความมั่นคงแห่งสิทธิทางกฎหมาย เพราะฉะนั้น ตราบใดที่นางสาวแพทองธารฯ ยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญว่า “ขาดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม” ตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) และ (5) การแต่งตั้งย่อมชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และนางสาวแพทองธารฯ มีสิทธิเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณ ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าต่อมาภายหลังจะมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ก็ตาม

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

รัฐบาลโหนไอศกรีมละมุด 100 ปีที่คว้ารางวัลระดับโลก

13 นาทีที่แล้ว

‘แพทองธาร’ แต่งชุดขาวเข้าทำเนียบฯ เตรียมถวายสัตย์ฯ

15 นาทีที่แล้ว

ส.นักบอลสเปน ร้อง ‘ลาลีกา’ เลื่อนเกมนัดเปิดลีก ‘ราชันชุดขาว’

18 นาทีที่แล้ว

สืบกระทุ่มแบน ลากคอชายโฉดก่อคดีพรากผู้เยาว์ หนีหมายจับ 18 ปี แต่ก็ไม่รอด

20 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม