โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

SMEs-การเกษตร

‘คลัง’ คลอดมาตรการด่วน “พักหนี้-ลดดอกเบี้ย” ช่วยผู้ประสบภัยชายแดนไทย-กัมพูชา

SMART SME

อัพเดต 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กระทรวงการคลัง สั่งแบงก์รัฐฯ เปิดมาตรการช่วยเหลือ “พักหนี้-ลดดอกเบี้ย” ผู้ได้รับผลกระทบชายแดนไทย–กัมพูชา

นายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นจากเหตุปะทะกันระหว่างกำลังความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา ได้ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ และขยายวงกว้างไปสู่ภาคเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชนโดยรอบ

ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ และการดำเนินธุรกิจของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก

ในการนี้ ผมและรัฐบาลตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นและให้ความสำคัญกับการดูแลประชาชนในพื้นที่โดยเร่งด่วน โดยได้มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดำเนินมาตรการด้านการเงินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น ซึ่งครอบคลุมทั้งมาตรการพักชำระหนี้ มาตรการลดอัตราดอกเบี้ย และมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างครอบคลุมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในพื้นที่ชายแดน มีรายละเอียดดังนี้

ธนาคารออมสิน

จัดทำมาตรการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ประกอบด้วย

  • มาตรการพักชำระเงินต้น

สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา จนถึงงวดเดือนธันวาคม 2568 และให้จ่ายดอกเบี้ยเพียงบางส่วน เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระหนี้

  • มาตรการสินเชื่อเพื่อรายย่อย จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

  • สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือสำหรับประชาชนรายย่อย

ระยะเวลาผ่อนชำระ 12 เดือน ปลอดชำระเงินงวด 3 เดือนแรก ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.60 ต่อเดือน

  • สินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพสำหรับประชาชนรายย่อย

ระยะเวลาผ่อนชำระ 60 เดือน ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.75 ต่อเดือน

  • สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ SMEs

วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 7 ปี ปลอดชำระเงินงวดไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ย

  • ปีที่ 1 = MLR – ร้อยละ 2.65
  • ปีที่ 2 เป็นต้นไป = MLR ยกเว้น ค่าธรรมเนียม Front End Fee และ Prepayment Fee

สามารถแสดงความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการผ่านทางเว็บไซต์ของธนาคารออมสิน หรือติดต่อสาขาของธนาคารออมสินในพื้นที่ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

จัดทำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ประกอบด้วย

  • โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ปี 2568

วงเงินต่อรายไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR = 6.725% ต่อปี) ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี ปลอดชำระดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก

  • โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต

เพื่อซ่อมแซมบ้านเรือน ทรัพย์สิน และอุปกรณ์การเกษตร วงเงินต่อรายไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR – 2 ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 15 ปี

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

วงเงินโครงการ 200 ล้านบาท

  • ผู้กู้บาดเจ็บสาหัส หรือที่อยู่อาศัยเสียหาย

– ดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี (5 ปีแรก)

  • ผู้กู้ทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิต หรือบ้านเสียหายทั้งหลัง

– ดอกเบี้ย 0.01% ตลอดอายุสัญญา

  • กู้เพื่อปลูกสร้างอาคารใหม่

– 6 เดือนแรก ดอกเบี้ย 0%

– เดือน 7–12 ดอกเบี้ย 0.50%

– ปีที่ 2 เป็นต้นไป เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธอส.

ยื่นคำขอได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 ธ.ค. 2567

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.)

“พัก ลด ขยาย เติม” เพื่อช่วย SME

  • พักชำระเงินต้น

  • ลดค่างวด

  • ขยายเวลาชำระหนี้

  • เติมทุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เช่น

  • ปลุกพลัง SME

  • Beyond ติดปีก SME

ดอกเบี้ยคงที่ 3% / ปี กู้สูงสุด 10 ปี

  • สินเชื่อ SME Refinance

ดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.99% / ปี

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)

  • ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 365 วัน ลดดอกเบี้ยสูงสุด 20% เพิ่มวงเงินชั่วคราว 1 ปี สูงสุด 30% ดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.99% / ปี

  • เสริมสภาพคล่องและลดต้นทุน

  • EXIM-DITP Empower Financing → 6.15%

  • EXIM Export Booster → เริ่มต้น 3.99%

  • EXIM Safe Trade → เริ่มต้น 3.99% + ประกันความเสี่ยง

  • Export Credit Insurance → ยกเว้นค่าวิเคราะห์

  • ร่วมประกันสังคม → ดอกเบี้ยคงที่ 2% / ปี (3 ปี)

  • Transformation Loan → ดอกเบี้ยเฉลี่ย SMEs = 5.68%

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)

มาตรการ “ไอแบงก์เราไม่ทิ้งกัน”

  • พักชำระเงินต้นและกำไร สูงสุด 6 เดือน

👉 ขยายได้ไม่เกิน 12 เดือน

  • วงเงินเพิ่มเพื่อซ่อมแซม/ฟื้นฟู

  • เพื่ออยู่อาศัย → ดอกเบี้ยเริ่ม 1.99% / ปีแรก วงเงินไม่เกิน 1 ลบ. กู้สูงสุด 20 ปี

  • เพื่อธุรกิจ → ดอกเบี้ยเริ่ม 3.25% / ปีแรก วงเงินไม่เกิน 5 ลบ. กู้สูงสุด 5 ปี

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

  • มาตรการช่วยลูกค้าเดิม

  • พักชำระค่าธรรมเนียม 6 เดือน

  • พักชำระค่างวด 3 เดือน

  • โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS11 “บสย. SMEs ยั่งยืน”

  • SMEs Power Trade & Biz วงเงินค้ำ 3,000 ลบ. / ราย 5 แสน – 10 ลบ.

  • SMEs Micro Biz วงเงินค้ำ 2,000 ลบ. / ราย 1 หมื่น – 5 แสนบาท

กระทรวงการคลังให้ความสำคัญกับการบรรเทาผลกระทบในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยมุ่งช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เพียงพอในการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพ และฟื้นฟูกิจการอย่างต่อเนื่อง

มาตรการที่จัดทำขึ้นครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ รวมถึงสามารถช่วยลดภาระต้นทุน เสริมสภาพคล่อง และสนับสนุนการปรับปรุง ซ่อมแซม หรือฟื้นฟูทรัพย์สิน เช่น อาคาร โรงงาน และเครื่องจักร ให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถขอรับความช่วยเหลือผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เกี่ยวข้องได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยกระทรวงการคลังจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมที่จะออกมาตรการเพิ่มเติมอย่างเหมาะสมได้ทันท่วงทีต่อไป

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก SMART SME

รู้จัก COCO Walk ยกระดับ “มะพร้าวน้ำหอมไทย” สู่แฟรนไชส์เครื่องดื่มคุณภาพ

15 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ปัญหาไทย-กัมพูชา หากสถานการณ์ยืดเยื้อ สั่นสะเทือนเศรษฐกิจมากแค่ไหน

17 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความSMEs-การเกษตรอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...