โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

ชำแหละข้อพิพาทเหล็กเส้นไทยมีปัญหาจริงหรือไม่ หลังตึก สตง.ถล่ม

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จากกรณีตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งมีจุดศูนย์กลางที่ประเทศเมียนมา โดยส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมถึงผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

แน่นอนว่าประเด็นที่สำคัญก็คือ สาเหตุที่ตึก สตง. ถล่มมากจากอะไร จนล่าสุดได้มีการสรุปผลการสืบสวนจากกรมโยธาธิการและผังเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าที่ส่งให้กับนายกรัฐมนตรีว่า มีความบกพร่องในเรื่องการออกแบบ วิธีการก่อสร้าง

อย่างไรก็ดี อีกหนึ่งจำเลยที่ถูกตั้งคำถามก็คือเหล็กเส้นที่ใหช้ก่อสร้างอาคารดังกล่าว

ต่อกรณีดังกล่าวนายบัณฑูรย์ จุ้ยเจริญ กรรมการ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยโดยให้ความเห็นผ่านหัวข้อด้วยเรื่องเหล็กเส้นมีปัญหา หรือไม่มีปัญหา ซึ่งระบุว่า

ตั้งแต่นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเมื่อเดือน กันยายน 2567 หนึ่งในนโยบายที่ได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมจนได้รับเสียงสนับสนุนชื่นชมเป็นอย่างมาก คือ การจัดการกับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น สายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า และ เหล็กเส้นก่อสร้าง อย่างเด็ดขาด

ชำแหละข้อพิพาทเหล็กเส้นไทยมีปัญหาจริงหรือไม่ หลังตึก สตง.ถล่ม

หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและตึก สตง ถล่มในเดือนมีนาคม 2568 มีการเก็บตัวอย่างเหล็กเส้นจากซากตึกจำนวนหนึ่งไปทดสอบ แล้วมีรายงานว่า ผลการทดสอบส่วนใหญ่ประมาณ 90% ผ่าน มอก. อีกประมาณ 10%ไม่ผ่าน ก็ยิ่งทำให้เกิดข้อสงสัยและข้อห่วงกังวลเพิ่มขึ้นอีก ในประเด็นเรื่องเหล็กเส้นไม่ได้มาตรฐานว่าได้กระจายไปอยู่ที่ใดมากน้อยเท่าใด

การเปิดเผยผลการสอบสวนตึก สตง ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่อาจจะช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพการณ์ปัจจุบันของคุณภาพเหล็กเส้น

กลุ่มฯเหล็กได้ประมวลความเห็นทางวิชาการและความเห็นของผู้รู้โดยมุ่งไปที่ 2 เรื่อง ประกอบด้วย

  • คุณภาพเหล็กเส้นที่ผลิตและจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน เป็นไปตาม มอก.อย่างมั่นใจได้หรือไม่
  • จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นแล้วมีตึกถล่ม เหล็กมีปัญหาหรือไม่

เริ่มจากเรื่องแรก คุณภาพของเหล็กเส้นที่ผลิตและจำหน่ายในปัจจุบัน เป็นไปตาม มอก. อย่างมั่นใจได้หรือไม่

ความเห็นคือ ยังมั่นใจไม่ได้ทั้งหมด เนื่องจากการที่ทีมสุดซอย ตรวจพบเหล็กเส้นที่ตก มอก. อยู่เป็นระยะๆซึ่งประเด็นนี้ สาเหตุหลักคือข้อจำกัดของกระบวนการผลิตด้วยเตา IF ที่ต้องใช้ความพิถีพิถันอย่างมากในการคัดเลือกวัตถุดิบเศษเหล็กที่มีส่วนประกอบทางเคมีที่เหมาะสม มีความสะอาดไม่มีสารมลทินและสิ่งเจือปนที่มากเกินไป เนื่องจากกระบวนการ IF มีข้อจำกัดในการกำจัดสารมลทิน เช่น ฟอสฟอรัส กำมะถัน

ชำแหละข้อพิพาทเหล็กเส้นไทยมีปัญหาจริงหรือไม่ หลังตึก สตง.ถล่ม

รวมถึงธาตุที่ต้องควบคุมปริมาณให้ได้ตาม มอก. เช่น ธาตุโบรอน นอกจากนี้ กระบวนการในการทำให้เหล็กเส้นมีความแข็งแรงตามมาตรฐาน ที่ใช้กันอยู่มี 2 วิธีหลักๆ วิธีแรกคือการทำให้เหล็กที่รีดออกมา เย็นตัวอย่างรวดเร็ว เรียกว่า เหล็ก T-Tempcore กับ วิธีที่สองคือการเติมธาตุผสมหรืออัลลอยเล็กน้อย (low alloy/micro-alloy) หรือเรียกว่า เหล็ก Non-T ซึ่งการผลิตเหล็ก T-Tempcore ต้องมีการบำรุงรักษาเครื่องจักรและกระบวนการผลิตให้สามารถควบคุมส่วนประกอบทางเคมี การควบคุมการรีดและอัตราการเย็นตัวของเหล็กเส้นที่แม่นยำ มิฉะนั้นจะไม่สามารถผลิตเหล็กเส้นที่มีคุณสมบัติตาม มอก. ได้อย่างสม่ำเสมอ

ในเรื่องดังกล่าวนี้ จึงต้องสนับสนุนความพยายามของกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไปในการกำจัดเหล็กเส้นที่ไม่ได้มาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจได้ 100% ว่าเหล็กเส้นที่ขายในท้องตลาด มีคุณภาพเป็นไปตาม มอก. เพื่อปกป้องผู้บริโภคให้ได้ใช้สินค้าที่ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัย

สำหรับเรื่องที่สอง จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นแล้วมีตึกถล่ม คำถามคือ เหล็กมีปัญหาหรือไม่

หลังจากการเปิดเผยผลสอบตึก สตง ถล่ม มีข้อความแถลงส่วนหนึ่งที่ว่า ในเรื่องของวัสดุต่างๆ ทั้ง เหล็กและคอนกรีตเป็นวัสดุปกติที่ได้มาตรฐานของทั่วไปแต่การนำมาใช้ในโครงการนี้ พบปัญหาในส่วนของคอนกรีตที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะของโครงการนี้เท่านั้น

คำแถลงในส่วนดังกล่าวนี้ ยังคลุมเครือ เช่นทราบได้อย่างไรว่าเหล็กเส้นปริมาณมากมายที่ใช้งานทั้งหมดมีคุณสมบัติได้มาตรฐาน หรือ ทราบได้อย่างไรว่าเป็นปัญหาเฉพาะของโครงการนี้เท่านั้น

อีกทั้งผลการทดสอบเหล็กจำนวนหนึ่งที่เก็บตัวอย่างจากซากตึก สตง. ที่มีรายงานว่า ผลการทดสอบส่วนใหญ่ประมาณ 90% ผ่านมาตรฐาน แล้วได้มีการพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดจากเหล็กส่วนที่ไม่ผ่านมาตรฐานหรือไม่อย่างไร ก็คงยังเป็นความคลุมเครือ เช่น หากมีสมมุติฐานว่า เหล็กไม่มีปัญหา เพราะเหล็กส่วนใหญ่ทดสอบแล้วผ่าน มอก. ประกอบกับการออกแบบมีการเผื่อค่าความปลอดภัย หรือ safety factor ไว้ แล้วลงความเห็นว่า เหล็กไม่มีปัญหา ประเด็นที่คลุมเครือคือ เกณฑ์การยอมรับได้ของคำว่าส่วนใหญ่คืออะไร

อย่างไรก็ดี ประการสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ มอก. เหล็กเส้นในปัจจุบันในส่วนของคุณสมบัติทางกล โดยหลักคือการกำหนดเพียงค่าขั้นต่ำ ของความต้านแรงดึง ความต้านแรงดึงที่จุดคราก และ ค่าความยืด ซึ่งการกำหนดค่าขั้นต่ำแบบนี้ อาจจะไม่เพียงพอต่อการออกแบบใช้งานกรณีแผ่นดินไหว เนื่องจาก ยังมีคุณสมบัติอื่นๆที่ต้องพิจารณา เช่น ถ้าความต้านแรงดึงที่จุดคราก ผ่านมาตรฐานก็จริง แต่มีค่าสูงมากเกินไปจนเข้าใกล้ค่าความต้านแรงดึง(ตอนเหล็กขาดออกจากกัน) อาจจะทำให้เหล็กขาดคุณสมบัติการยืดตัวที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่เกิดแผ่นดินไหว

อย่างไรก็ตาม หากมีการเปิดเผยรายละเอียดของการทดสอบเหล็กและวัสดุในรายงานผลสอบสวน ก็อาจจะช่วยสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้นได้ และถือเป็นโอกาสที่สำคัญ เนื่องจากขณะนี้ มอก.เหล็กเส้น อยู่ในระหว่างการทบทวนเพื่อปรับปรุงมาตรฐานโดย สมอ. จึงควรพิจารณาปรับปรุงยกระดับ มอก.เหล็กเส้น ให้มีการกำหนดคุณสมบัติของเหล็กเส้น รวมถึงข้อแนะนำในการใช้งานในเงื่อนไขที่สำคัญๆ เช่น ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงแผ่นดินไหว โดยการศึกษาและอ้างอิงจากมาตรฐานของประเทศที่มีการกำหนดคุณสมบัติของเหล็กเพื่อใช้งานในเงื่อนไขต่างๆ เช่น มาตรฐานเหล็กเส้น ของอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน เป็นต้น ตัวอย่างเช่นประเทศจีนกำหนดว่าเหล็กเส้น ต้องผลิตจากเตาชนิด converter หรือจากเตา EAF เท่านั้น หรือบางประเทศกำหนดมาตรฐานเหล็ก low alloy steel ที่ยืดตัวได้สูง เหมาะกับการใช้งานบริเวณที่มีแผ่นดินไหวบ่อย

โดยสรุปแล้ว สิ่งที่ควรต้องจัดการให้เกิดขึ้นในขณะนี้คือ ต้องทำให้เหล็กเส้นทุกเส้นที่นำไปใช้งาน ได้มาตรฐานตาม มอก.อย่างมั่นใจได้ 100% และเดินหน้าปรับปรุง มอก. เหล็กเส้นให้ประกอบด้วย ชั้นคุณภาพ ตลอดจนคุณสมบัติต่างๆด้วยองค์ความรู้ ที่จะทำให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสมในแต่ละเงื่อนไขของการใช้งาน

สุดท้ายต้องรอดูรายงานผลการสอบสวนว่าจะออกมาให้ความกระจ่างได้หรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลและข้อเท็จจริงจากการสอบสวนที่นำมาสนับสนุนข้อสรุปที่ว่า วัสดุต่างๆ ทั้ง เหล็กและคอนกรีตเป็นวัสดุปกติที่ได้มาตรฐาน และ เหล็กเส้นที่ตึก สตง ไม่มีปัญหาจริงหรือไม่

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ผลไม้ล้นตลาด "พาณิชย์" ดันมังคุดนครศรีฯ ขึ้นห้าง Tops ทั่วประเทศ ช่วยเกษตรกร

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ถ่ายทอดสด "วอลเลย์บอลหญิงไทย U21" พบ "เวียดนาม U21" VTV Cup 2025 วันนี้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ราคาทองวันนี้ 5 กรกฎาคม 2568 เปิดตลาดราคาทองปรับเพิ่มขึ้น 50 บาท

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"Laura Ashley" เดินหน้าตีตลาดไทยอีกครั้ง ผ่านPop-up Store เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่นๆ

ครูน้ำตาคลอ! ต้องรื้อทะเบียนนักเรียนเกือบ 70 ปี หลังศิษย์เก่าวัย 73 ขอสำเนา

สยามนิวส์

อาลัย ผอ.จิราพร กิ่งทัพหลวง เสียชีวิตกะทันหัน

สยามนิวส์

ชาดา เดือด! ฝากถึงรัฐบาล อย่ามัวกระแซะฝ่ายค้าน แนะให้กลับไปทำงาน

สยามนิวส์
วิดีโอ

ตระกูลชินวัตรบริหารประเทศ กี่คนก็ "ทุจริต" ทั้งนั้น!

THE ROOM 44 CHANNEL

อุทาหรณ์คนเป็นแม่! เผยสาเหตุ ลูกชายป่วยภูมิแพ้หนัก

สยามนิวส์

สทนช. ประกาศเฝ้าระวัง! ฝนตกต่อเนื่อง เสี่ยงน้ำหลาก ดินโคลนถล่ม ระดับน้ำโขงเปลี่ยนแปลง 6-12 ก.ค.นี้

สยามนิวส์

ผลไม้ล้นตลาด "พาณิชย์" ดันมังคุดนครศรีฯ ขึ้นห้าง Tops ทั่วประเทศ ช่วยเกษตรกร

ฐานเศรษฐกิจ

กัน จอมพลัง แฉยับ! แก๊งหญิงกัมพูชา ลักลอบเข้ามาขอทานในไทย นานนับ 20 ปี

สยามนิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...