โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

กำไรอุตสาหกรรมจีนร่วงต่อเนื่อง สะท้อนดีมานด์ในประเทศอ่อนแอ

การเงินธนาคาร

อัพเดต 27 กรกฎาคม 2568 เวลา 20.58 น. • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ภาวะเงินฝืดในฝั่งผู้ผลิตยังคงรุนแรง กดดันภาคธุรกิจจีนอย่างหนัก แม้เศรษฐกิจไตรมาส2 โตดีเกินคาด แต่สงครามราคาและการบริโภคซบเซายังเป็นอุปสรรค รัฐบาลเร่งออกมาตรการกระตุ้น พร้อมตั้งเป้าสร้างตลาดในประเทศที่เป็นหนึ่งเดียว

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า ผลกำไรของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมของจีนยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา โดยได้รับผลกระทบจากภาวะเงินฝืดที่รุนแรงในฝั่งผู้ผลิต และอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังคงซบเซา ซึ่งตอกย้ำถึงแรงกดดันที่ภาคธุรกิจกำลังเผชิญ แม้ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 จะแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็ตาม

ข้อมูลจาก NBS ระบุว่า กำไรของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายนลดลง 4.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งถือเป็นการชะลอตัวลงจากที่ลดลงถึง 9.1% ในเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ตาม ส่งผลให้กำไรในช่วงครึ่งปีแรกลดลง 1.8% ซึ่งเป็นการหดตัวที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วง 5 เดือนแรกของปี

ภาวะดังกล่าวสะท้อนผลกระทบจาก สงครามราคาที่รุนแรง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้รัฐบาลจีนประกาศจะเข้ามาควบคุมการแข่งขันด้านราคาอย่างเข้มงวด ขณะที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของรัฐอย่าง กว่างโจว ออโตโมบิล กรุ๊ป (Guangzhou Automobile Group) และ เจเอซี กรุ๊ป (JAC Group) คาดว่าจะรายงานผลขาดทุนในไตรมาสที่สองสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนหน้า

หลู เจ๋อ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากซูโจว ซีเคียวริตี้ส์ (Soochow Securities) คาดการณ์ว่า ผลกำไรภาคอุตสาหกรรมอาจมีแนวโน้มดีขึ้นจากมาตรการของรัฐบาล รวมถึงโครงการ "รถเก่าแลกรถใหม่" ที่จะช่วยควบคุมสงครามราคาและกระตุ้นอุปสงค์ของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายรายมองว่า การปฏิรูปฝั่งอุปทานในรอบนี้อาจไม่สามารถฉุดจีนให้พ้นจากภาวะเงินฝืดได้รวดเร็วเหมือนในอดีต เนื่องจากต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการจ้างงาน

สถานการณ์นี้ยังถูกซ้ำเติมจาก ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) หรือราคาหน้าโรงงาน ที่ในเดือนที่ผ่านมาลดลงแตะระดับเลวร้ายที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี ซึ่งยิ่งทำให้ปัญหาอุปทานล้นตลาดรุนแรงขึ้น ยฺหวี เว่ยหนิง นักสถิติจาก NBS กล่าวว่า จีนจำเป็นต้องเร่งสร้าง "ตลาดในประเทศที่เป็นหนึ่งเดียว" และส่งเสริมการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายใน เพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพสูง ท่ามกลางสภาพแวดล้อมภายนอกที่ซับซ้อน

ทั้งนี้ หากจำแนกตามประเภทกิจการ พบว่าในช่วงครึ่งปีแรก รัฐวิสาหกิจมีกำไรลดลง 7.6% ขณะที่บริษัทเอกชนและบริษัทต่างชาติมีกำไรเพิ่มขึ้น 1.7% และ 2.5% ตามลำดับ โดยข้อมูลดังกล่าวครอบคลุมบริษัทที่มีรายได้จากการดำเนินงานหลักอย่างน้อย 20 ล้านหยวนต่อปี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับ สถานการณ์เศรษฐกิจจีน ทั้งหมด ได้ที่นี่

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก การเงินธนาคาร

Attitude Mom แตกไลน์เครื่องดื่มบำรุงน้ำนม ขยายตลาดโลกเล็งดูไบ-บราซิล

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ปตท.สผ. ทุ่ม 450 ล้านดอลลาร์ ซื้อแหล่งก๊าซจากเชฟรอน พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กสิกรไทย ออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือลูกค้าชายแดนและอุทกภัยภาคเหนือ

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จับสัญญาณ “โรงแรม ร้านอาหาร สปาไทย” พลิกเกมรับมือเทรนด์ท่องเที่ยวเปลี่ยน

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

“จตุพร” ลุยตลาดดอนหวาย ดันตลาดต้องชมทั่วไทย – กำชับดูแลราคาสินค้าหลังอุทกภัย

Manager Online

กสิกรฯ ให้กรอบ SET วีคนี้ 1,175 - 1,255 จุด เกาะติดประชุมเฟด-ผลเจรจาการค้าไทย-สหรัฐ

Manager Online

"กอบศักดิ์"หวั่นปัญหาไทย-กัมพูชาขัดแย้งลามท่องเที่ยวเสียหาย เร่งหาทางจบโดยเร็ว

Manager Online

นักวิชาการเรียกร้องหยุดยิง รักษาชีวิตคน-ลุยเจรจาภาษีทรัมป์ หวั่นยิ่งยืดเยื้อ กระทบค้าชายแดน 1.7 แสนล.

MATICHON ONLINE

"วิทยุการบินฯ" ย้ำพร้อมหนุนภารกิจทหารอย่างเต็มกำลัง ยังให้บริการบินพาณิชย์ได้ปกติ

สยามรัฐ

28 กรกฎาคม 2568 ธนาคารหยุดไหม สาขาทั่วไป-ในห้าง เช็กข้อมูลที่นี่

Thaiger

"สุริยะ" จัดเต็ม 5 มาตรการด่วน! ช่วยเหลือประชาชนได้รับผลกระทบสถานการณ์ไทยกัมพูชาชายแดน

สยามรัฐ

Entertainment Complex : กาสิโนจำเป็นไหม? คลายทุกข้อกังวล

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...