โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

‘คลัง’ จ่อชงปรับเงื่อนไขจ่ายชดเชยอีวี ผุดเกณฑ์บี้ส่งแผนผลิตรายเดือน ยันอุตฯยังสดใส

ไทยโพสต์

อัพเดต 14 กรกฎาคม 2568 เวลา 19.47 น. • เผยแพร่ 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จ่อชง 'บอร์ดอีวี' ติดดาบสรรพสามิตเบรกจ่ายเงินชดเชยค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ทำผิดเงื่อนไข พร้อมผุดเกณฑ์เข้มสั่งทำแผนผลิตชดเชยรายเดือน แจงเบรกจ่ายชดเชย 'เนต้า (ประเทศไทย)' แล้ว เดินเครื่องพิจารณากระบวนการเรียกร้องค่าปรับ ยันยังไม่เห็นสัญญาณค่ายรถอีวีอื่นทำผิดเงื่อนไข

14 ก.ค. 2568 - นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.การคลัง เปิดเผยว่า เร็ว ๆ นี้ เตรียมจะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์แห่งชาติ (บอร์ดอีวี) พิจารณาการปรับเงื่อนไขในมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าระยะแรก (อีวี3.0) และระยะที่สอง (อีวี3.5) โดยเฉพาะการเพิ่มอำนาจให้กรมสรรพสามิตสามารถระงับการจ่ายเงินชดเชยให้กับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโครงการได้ทันทีในกรณีที่ค่ายรถยนต์ หรือบริษัทมีปัญหาไม่สามารถดำเนินการได้ตามเงื่อนไขของมาตรการสนับสนุน เช่น การผลิตรถอีวีชดเชยไม่เป็นไปตามเงื่อนไข

ทั้งนี้ เบื้องต้นจะมีการเพิ่มเงื่อนไขเพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณาระงับการจ่ายเงินชดเชยให้กับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโครงการ โดยค่ายรถต่าง ๆ จะต้องทำแผนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อชดเชยส่งให้กรมสรรพสามิตทุก ๆ เดือน ซึ่งจะมีการตั้งเกณฑ์การผลิตในแต่ละเดือนไว้ที่ 30% ของแผนการผลิตที่ส่งมา และหากผลิตได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 1 เดือน จะโดนใบเหลือง แต่หากเดือนต่อไปยังผลิตได้ต่ำกว่า 30% ของแผนการผลิตที่ส่งมา ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวก็จะโดนใบแดง โดยกรมสรรพสามิตก็จะมีอำนาจในการระงับการจ่ายเงินชดเชยได้ทันที

“ค่ายรถจะต้องทำแผนทุกเดือน ถ้าเดือนใดเดือนหนึ่งผลิตได้ไม่ถึง 30% ของแผน จะโดนใบเหลือง และถ้าเดือนต่อไปก็ยังทำไม่ถึง 30% ของแผนอีก จะโดนใบแดง และกรมสรรพสามิตก็จะระงับการจ่ายเงินชดเชยได้ทันที โดยแผนที่ค่ายรถส่งมานี้ ก็จะมีกรอบใหญ่ซึ่งเป็นแผนการผลิต 1 ปีครอบอยู่อีกทีว่าในแต่ละปีค่ายรถจะต้องผลิตชดเชยเท่าไหร่ ตรงนี้จะเป็น 2 กรอบที่เข้ามาเพิ่มเติม ตรงนี้เป็นการเพิ่มให้กรมสรรพสามิตมีคัทเอาท์ หรือกระบองสำหรับจัดการค่ายรถที่ทำผิดเงื่อนไข โดยหลังจากบอร์ดอีวีเห็นชอบแล้ว หลังจากนั้นก็จะต้องส่งให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป” นายเผ่าภูมิ กล่าว

อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ เพื่อสนับสนุนรถยนต์ประเภท PHEV, HEV และ ICE ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการมากขึ้น เพราะอีกโจทย์ที่สำคัญของรัฐบาล คือ การทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ประเภท PHEV, HEV และ ICE ยังสามารถดำรงอยู่ได้นานที่สุด เนื่องจากซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมรถยนต์ประเภทดังกล่าวค่อนข้างยาว และอาจจะยาวกว่ารถยนต์อีวีด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นการดำเนินการนอกเหนือจากการผลักดันอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า

โดยแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดขายและยอดการผลิตรถยนต์ในเดือน มิ.ย. 2568 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เริ่มเห็นยอดการผลิตเพื่อการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าความใกล้เคียงของการเร่งผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มเกิดขึ้น ส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากนโยบายของรัฐบาลในการดึงเรื่องการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามาในไทย

“เรามีการดูเรื่องโครงสร้างอัตราภาษีรถยนต์ค่อนข้างเยอะ แต่การจะโยนทุกอย่างไปที่อุตสาหกรรมอีวีเลย ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่โยนเร็วเกินไป ตรงนี้จะเป็นอันตราย ดังนั้นที่ผ่านมาจะเห็นว่ารัฐบาลมีการปรับตัวภาษีต่าง ๆ เพื่อทำให้รถยนต์ประเภท PHEV, HEC และ ICE ยังยืนยระยะอยู่ได้ ไม่ได้บอกว่าเป็นการปรับลดอัตราภาษี แต่เป็นการสร้างแรงจูงใจให้มากขึ้น”

ส่วนกรณีบริษัท เนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ที่ขณะนี้ยังไม่สามารถผลิตรถอีวีชดเชยได้ตามเงื่อนไขนั้น รมช.การคลัง ระบุว่า ตอนนี้กรมสรรพสามิตได้ระงับการจ่ายเงินชดเชยเรียบร้อยแล้ว และขั้นตอนต่อไป คือการพิจารณากระบวนการเรียกร้องค่าปรับจากค่ายรถยนต์ดังกล่าว โดยเบื้องต้นค่าปรับจะคิดบนฐานภาษีสรรพสามิตที่ค่ายรถได้ประโยชน์ไปทั้งหมด

สำหรับวิธีการคำรวณค่าปรับกรณีผิดเงื่อนไขมาตรการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐ กรณีครบกำหนดผลิตชดเชยวันที่ 31 ธ.ค. 2568 คือ ยึด Bank Guarantee ที่ บริษัทฯ นำมาวางไว้, ยึดเงินอุดหนุน 150,000 บาทต่อคัน พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และค่ายรถจะต้องจ่ายคืนภาษีสรรพสามิตที่ได้รับยกเว้น ประมาณ 6% บวกเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีสรรพสามิต บวกกับเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน และค่าปรับอีก 1 เท่า

“มาตรการสนับสนุนจะสิ้นสุดจริงในวันที่ 31 ธ.ค. 2568 ซึ่งถ้าตรงไปตรงมาเลยก็ต้องดูว่าในวันดังกล่าว ค่ายรถยังผลิตชดเชยขาดไปเท่าไหร่ ก็ต้องปรับไปตามเกณฑ์ ตอนนี้สรรพสามิตกำลังดูอยู่ เพราะเราไม่เห็นการผลิตแล้ว การจะไปรอจนถึงวันสิ้นสุดมาตรการก็อาจจะช้าไป เราก็ควรจะทำให้เร็วกว่านั้น โดยอยู่บนกระบวนการทางกฎหมายว่าเมื่อเราเห็นว่าไม่มีการผลิตแล้ว ถึงแม้ว่ายังไม่ถึงเดตไลน์ก็ตาม เราจะดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายอย่างไรได้บ้าง แต่เบื้องต้นตอนนี้ คือ ระงับการจ่ายชดเชยเรียบร้อยแล้ว โดยการเรียกค่าปรับนี้ จะต้องดำเนินการกับบริษัทที่เซ็นเข้าร่วมมาตรการกับสรรพสามิต คือ บริษัท เนต้า (ประเทศไทย) จำกัด” นายเผ่าภูมิ กล่าว

อย่างไรก็ดี ยืนยันว่าปัจจุบันยังไม่มีสัญญาณ หรือแนวโน้มว่าค่ายรถยนต์อีวีรายอื่น ๆ จะมีการผิดเงื่อนไขตามมาตรการสนับสนุน โดยภาพรวมอุตสาหกรรมอีวีในประเทศไทยยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

‘อนุทิน’ ลั่นไม่เสียเวลาฟัง ‘ทักษิณ’ โจมตีภูมิใจไทย เชื่ออิ๊งค์ให้ร่วมรัฐบาลต่อ แต่พ่อนายกฯไล่ทุกวัน

15 นาทีที่แล้ว

เตรียมมันกับ ‘เสาร์ 5’ อีกครั้ง คืนจอในช่วง ‘ละครรีรันบ่าย’

20 นาทีที่แล้ว

‘ราเมศ’ สวน ‘บรุ๊ค’ โกหก! ยันรัฐบาลชวนไม่เคยขอ ‘ทักษิณ’ เจรจาออสเตรเลีย

24 นาทีที่แล้ว

กัมพูชาเตรียมบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหารในปี 2026

27 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่! รมว.คลัง เผยเซ็นแล้ว เตรียมเสนอครม.พรุ่งนี้

TNN ช่อง16

สยามพิวรรธน์-กทม. พร้อมพันธมิตร เปิดสนาม ‘SPOGOMI’ คัดตัวแทนลุยเวทีเก็บขยะโลก

เดลินิวส์

CIMB THAI ประกาศยุทธศาสตร์เป็น The Supporter หนุนสินเชื่อบุคคล-ที่อยู่อาศัย

การเงินธนาคาร

ฟิทช์ เรทติ้งส์ คงเครดิตองค์กรGPSCที่ A+

Manager Online

ตลาดร้านกาแฟโตสวนเศรษฐกิจ ราคาต่ำกว่า 100 บาทขายดี

TNN ช่อง16

รมว.คลัง เคาะชื่อ “ผู้ว่าธปท.” คนใหม่แล้ว ชงครม. 15 ก.ค.นี้

การเงินธนาคาร

จับตา 4 มาตรการสหรัฐฯ ไทยยังแข่งได้ด้วย 5 ปัจจัยหนุน

PPTV HD 36

ข่าวดี 'พระปรางค์วัดอรุณ' มรดกสถาปัตยกรรมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...