โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

ธุรกิจครอบครัว 2568 เปิดผลการศึกษา ทำอย่างไรให้เติบโตยั่งยืน

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพจาก Adobe Stocks

KPMG เปิดเผยการศึกษา ชี้ธุรกิจครอบครัว ยังมีช่องให้เติบโต พบร้อยละ 10 ประสบความสำเร็จเพราะโครงสร้างบอร์ดบริหารมีความเป็นทางการมากกว่า ขณะที่ “ธรรมาภิบาล-ความเป็นผู้ประกอบการ” เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า KPMG Private Enterprise และ STEP Project Global Consortium ได้เผยแพร่รายงาน Global Family Business Report 2025 อ้างอิงข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัวจำนวน 2,683 แห่งใน 80 ประเทศทั่วโลก

การศึกษาดังกล่าว ชี้ให้เห็นบทบาทที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจครอบครัวในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นไปที่ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของธุรกิจเหล่านี้ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นแนวโน้มบางประการที่พบในธุรกิจครอบครัวที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่น

รอบบิน แลงสฟอร์ด ผู้นำระดับโลก ฝ่ายธุรกิจครอบครัว KPMG Private Enterprise เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า ความเข้าใจและการปรับปรุงปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตนั้นมีความสำคัญอย่างมาก ไม่เพียงเพื่อให้ธุรกิจครอบครัวสามารถอยู่รอดได้เท่านั้น แต่ยังเป็นหัวใจของการส่งต่อความสำเร็จจากรุ่นสู่รุ่นด้วย การเติบโตในทุกวันนี้ไม่ใช่แค่การขยายตัวด้านการเงิน แต่ยังรวมถึงความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวด้วย

รอบบิน แลงสฟอร์ด อธิบายเพิ่มเติมว่า การรับมือกับความท้าทายดั้งเดิม เช่น บรรษัทภิบาลของธุรกิจครอบครัว ควบคู่ไปกับการคว้าโอกาสที่เกิดขึ้นใหม่ อย่างการเข้าถึงเงินทุนเพื่อการเติบโต จะช่วยรับประกันความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว ท่ามกลางภูมิทัศน์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องได้

ธุรกิจครอบครัว ยังมีช่องให้โต

ข้อมูลเผยให้เห็นว่าธุรกิจครอบครัวยังมีช่องทางในการเติบโตอีกมาก โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญคือ การปรับเปลี่ยนแนวคิดพื้นฐานในการทำธุรกิจ แรงผลักดันสำคัญของยุคนี้ ได้แก่ การกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ การเปลี่ยนแปลงในการกำกับดูแลกิจการ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, social and governance: ESG) และความปลอดภัยทางไซเบอร์

ซึ่งล้วนต้องการให้ผู้นำธุรกิจครอบครัวตัดสินใจอย่างเป้าหมายว่าจะเปิดรับหรือปฏิเสธสิ่งใด และปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในปัจจุบัน

ศศิธร พงศ์อดิศักดิ์ หุ้นส่วน และหัวหน้าฝ่าย KPMG Private Enterprise เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าวว่า ขณะที่เราเข้าสู่ยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความท้าทายที่ซับซ้อนขึ้น ทั้งในด้านการกำกับดูแลกิจการ การนำเทคโนโลยีมาใช้ และความเปลี่ยนแปลงของตลาด ธุรกิจครอบครัวต้องใช้แนวทางที่หลากหลาย เพื่อให้มั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จและมีความยืดหยุ่นในระยะยาว

การทำให้กรอบการกำกับดูแลกิจการเป็นทางการ การวางแผนการสืบทอดธุรกิจเชิงรุก การบูรณาการ ESG เข้าไปในกลยุทธ์ธุรกิจหลักพร้อมโอบรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ล้วนช่วยเสริมสร้างมรดกของครอบครัว เพิ่มความผูกพันระหว่างรุ่น และสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การควบรวมและการซื้อกิจการเชิงกลยุทธ์ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และปลดล็อกศักยภาพในอนาคตได้

มีหลักฐานที่ชี้ว่า การกำกับดูแลกิจการมีความสำคัญ โดยธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จมีแนวโน้มสูงกว่าร้อยละ 10 ที่จะมีโครงสร้างคณะกรรมการอย่างเป็นทางการ ซึ่งช่วยส่งเสริมความยั่งยืนและประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

การวางแผนเส้นทางการเติบโตไว้อย่างชัดเจนและรอบคอบ จะช่วยให้ธุรกิจครอบครัวสามารถใช้ประโยชน์จากเงินทุนเพื่อการเติบโตได้มากขึ้น พร้อมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) เพื่อขยายธุรกิจและสร้างนวัตกรรม

การศึกษาเน้นย้ำว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีธุรกิจครอบครัวเกือบ 500 รายที่เข้าร่วมกิจกรรม M&A โดยร้อยละ 60 เป็นการเข้าซื้อกิจการของธุรกิจครอบครัวอื่น นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า บริษัทลงทุนภาคเอกชนให้ความสนใจเพิ่มขึ้นในการสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจครอบครัว โดยมองว่าธุรกิจเหล่านี้ต้องการทั้งแหล่งเงินทุนและความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น และสร้างการเติบโตในระยะยาว

ธุรกิจครอบครัวไทย เคสตัวอย่าง จับมือเอกชนเติบโต

เอียน ธอร์นฮิลล์ หุ้นส่วนและหัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาการซื้อขายกิจการ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีธุรกิจครอบครัวที่แข็งแกร่งเป็นพิเศษ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นกรณีที่กองทุน private equity ได้ร่วมมือกับเจ้าของธุรกิจ ทั้งในด้านการจัดหาเงินทุนเพื่อการเติบโตในอนาคต การแนะแนวทางในการปรับปรุงการกำกับดูแลกิจการ และประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมถึงยังสนับสนุนเรื่องการสืบทอดกิจการอีกด้วย

ขณะที่ แอนเดรีย คาลาโบร ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของ STEP Project Global Consortium กล่าวว่า นี่เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจครอบครัว และสำหรับหลาย ๆ ธุรกิจ นี่อาจเป็นช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกเขา

สิ่งที่น่าสังเกตคือ การเข้าซื้อกิจการระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การทำธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น แต่เป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ได้รับอิทธิพลจากโครงสร้างความเป็นเจ้าของของธุรกิจ ผู้บริหาร และวิสัยทัศน์ระยะยาว บอร์ดบริหารที่มีการกำกับดูแลที่ดีต้องตระหนักถึงปัจจัยที่ซับซ้อนเหล่านี้ เพื่อให้มั่นใจว่ากลยุทธ์การซื้อกิจการสอดคล้องกับทั้งเป้าหมายทางการเงิน และคุณค่าทางจิตใจที่ครอบครัวให้ความสำคัญ

เปิดแนวทาง ‘ธุรกิจครอบครัว’ เติบโตยั่งยืน

รายงานฉบับนี้ระบุแนวทางหลายประการที่ธุรกิจครอบครัวสามารถดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและความยั่งยืนในระยะยาว ขยายกรอบความคิดเกี่ยวกับความสำเร็จให้ครอบคลุมมากกว่าแค่การสืบทอด แต่ควรหมายถึงการส่งผ่านธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นอย่างมีคุณค่าและมีความหมาย โดยแนวทางที่แนะนำ มีดังนี้

เสริมสร้างการกำกับดูแลกิจการ : จัดตั้งโครงสร้างบอร์ดบริหารอย่างเป็นทางการเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการตัดสินใจและความยั่งยืน พร้อมพิจารณาองค์ประกอบของบอร์ดอย่างรอบคอบ

สร้างช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น : เกือบร้อยละ 40 ของสมาชิกครอบครัวตั้งคำถามเกี่ยวกับคุณภาพของการสื่อสารระหว่างสมาชิกครอบครัวและธุรกิจครอบครัว

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมข้ามรุ่น : สมาชิกครอบครัวรุ่นถัดไปเพียงร้อยละ 52 เท่านั้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนากลยุทธ์ ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกครอบครัวจากหลายรุ่นมีบทบาทในธุรกิจมากขึ้น เพื่อเพิ่มความยั่งยืนและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน : บูรณาการแยวคิดด้านความยั่งยืนไว้ในกลยุทธ์ธุรกิจ เพื่อสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ใช้ประโยชน์จากเงินทุนเพื่อการเติบโตและ M&A : มองหาโอกาสในการเข้าถึงเงินทุนเพื่อการเติบโต และพิจารณา M&A เชิงกลยุทธ์เพื่อขยายตัวสู่ตลาดใหม่และสร้างนวัตกรรม

พิจารณาความร่วมมือกับบริษัทลงทุนภาคเอกชน : สร้างความสัมพันธ์กับบริษัทลงทุนภาคเอกชนและสำนักงานธุรกิจครอบครัว (family office) เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ ข้อมูลเชิงกลยุทธ์ และความเชี่ยวชาญที่จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจ และการเติบโตในระยะยาวให้ประสบความสำเร็จ

ทบทวนความหมายของ “ความสำเร็จ” สำหรับธุรกิจครอบครัว : เมื่อธุรกิจครอบครัวต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ความสำเร็จในอนาคตควรมีหน้าตาอย่างไร และคุณจะวัดความสำเร็จนั้นอย่างไร

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ธุรกิจครอบครัว 2568 เปิดผลการศึกษา ทำอย่างไรให้เติบโตยั่งยืน

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.prachachat.net

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ประชาชาติธุรกิจ

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้ (24 ก.ค. 68) เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ลด 40 สต. มีผลตี 5

45 นาทีที่แล้ว

บอร์ด กกท. เห็นชอบ "โป๊กเกอร์" เป็นกีฬา ต้องไม่เกี่ยวการพนัน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุวิภา ฉบับที่ 16 ฝนตกหนัก-ลมแรง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เซ็นทรัลพัฒนา เจาะนักท่องเที่ยวไฮเอนด์ตะวันออกกลาง ดันไทยสู่ Global Elite Destination

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่น ๆ

ผบ.ตร. อยากเคลียร์ใจครอบครัว "น้องเมย" ปมคู่กรณีได้เป็นตำรวจใต้บังคับบัญชา

THE ROOM 44 CHANNEL

คำเตือนใจ อ.เฉลิมชัย คนชั่วสุขลวง เมื่อบาปกรรมยังไม่ลงโทษ

สยามนิวส์

ด่วน! กำลังพลเหยียบกับระเบิดเพิ่ม ส่งรักษาแล้ว พร้อมสั่งปิด 4 ด่าน-ปราสาทตาเมือนธม-ตาควาย

THE ROOM 44 CHANNEL

พม.-สภาสมาคมสตรีฯ เตรียมจัดงานวันสตรีไทย ชู 'สตรีไทยพร้อมใจ สืบสาน รักษา ต่อยอด'

MATICHON ONLINE

ผบ.ตร. สั่งชุดควบคุมฝูงชนสแตนด์บายชายแดนไทย-กัมพูชา พร้อมสนับสนุนหากปะทะ

THE ROOM 44 CHANNEL

'ร่าง พ.ร.บ.หวยเกษียณ' ฉบับเต็มล่าสุด อายุ 15+ ซื้อสลาก กอช. ลุ้นทุกศุกร์

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวดี! ออมสินรีไฟแนนซ์บ้าน ดอกเบี้ย 0% นาน 3 เดือน พร้อมช่วยค่าจดจำนองสูงสุด 30,000 บาท

สยามนิวส์

ศาลยกฟ้อง! "ไทยพีบีเอส" กรณีสั่งปลด 'อดีต ผอ.ศูนย์สื่อสารภัยพิบัติ' ฐานคุกคามผู้สมัครงาน

THE ROOM 44 CHANNEL

ข่าวและบทความยอดนิยม

กรมอุตุฯเตือน พายุ “วิภา” เป็นพายุดีเปรสชันแล้ว ฝนตกหนัก 23-24 ก.ค.นี้

ประชาชาติธุรกิจ

SET วันนี้ (23 ก.ค.) แกว่งในกรอบ ลุ้นผลเจรจาสหรัฐ

ประชาชาติธุรกิจ

ราคาทองวันนี้ (23 ก.ค. 68) พุ่งขึ้น 400 บาท รูปพรรณขายออก 52,950 บาท

ประชาชาติธุรกิจ
ดูเพิ่ม
Loading...