โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

‘พิชิต’ ยกกฎหมาย 2 ฉบับ ‘ผู้รักษาราชการแทนนายกฯ’ มีอำนาจยุบสภาได้

เดลินิวส์

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
“พิชิต” ยกกฎหมาย 2 ฉบับมาอ้างอิง “ภูมิธรรม” ผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีมีอำนาจเช่นเดียวกับนายกฯ จึง “ยุบสภา” ได้

เมื่อวันที่ 8 ก.ค.68 นายพิชิต ชื่นบาน อดีตรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ว่า #บันทึกที่เห็นต่าง (2) นายภูมิธรรมในฐานะรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี สามารถยุบสภาได้หรือไม่ ?!!

การยุบสภาเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร การแสดงความเห็นของผมในครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่สาธารณชนต้องช่วยกันพิจารณา

การยุบสภา เป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองให้กับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย การแปลความทางกฎหมายจึงไม่ควรแปลความอย่างแคบ หรือทำให้เกิดทางตันที่ไม่อาจคืนอำนาจให้ประชาชนได้ อีกทั้งประเทศเราอยู่ในระบบประมวลกฎหมาย ไม่สามารถนำระบบจารีตประเพณีมาอ้างอิงได้

ประเด็นปัญหาการยุบสภามีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับเท่านั้น คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นส่วนขยายบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

สิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศเวลานี้ อยู่ในช่วงที่นายกรัฐมนตรีถูกคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 68

ปัญหาที่ถกเถียงกันคือ รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภาได้หรือไม่

วันที่ 3 ก.ค. 68 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ ครั้งที่ 26/2568 มีมติแต่งตั้งให้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 103 บัญญัติไว้ว่า พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ โดยการตราพระราชกฤษฎีกา บทบัญญัติรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุเจาะจงให้นายกรัฐมนตรีเท่านั้น ซึ่งมาตรา 182 บัญญัติว่า บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา พระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินต้องมี “รัฐมนตรี” ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญ ซึ่งแตกต่างเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 171 ที่บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตามที่ “นายกรัฐมนตรี” ถวายคำแนะนำ

เมื่อพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 41 และ มาตรา 48 ซึ่งเป็นส่วนขยายของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

มาตรา 41 ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีจึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายและถือเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร

มาตรา 48 ให้ผู้รักษาราชการแทนตามความในพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน

ดังนั้น นายภูมิธรรมในฐานะผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี จึงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีที่จะใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร "ยุบสภา" ได้ครับ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

ครม.ไฟเขียวจัดเขตตรวจราชการใหม่ของ 5 รองนายกฯ ‘ภูมิธรรม’ คุมชายแดนใต้-เหนือตอนบน-อีสานตอนบน

21 นาทีที่แล้ว

วางแผนรับมือ ‘ลำไย’ ออกกระจุกตัว ประสาน ‘พาณิชย์-แรงงาน’ กระจายสินค้า

29 นาทีที่แล้ว

อินฟลูฯดังข้ามแดนยกทีมถ่ายคลิปตาเมือนธม ทหารไทยต้องเข้าเบรก “เบาได้เบา”

32 นาทีที่แล้ว

เฟทโก้ แนะ 3 วิธีรับมือทรัมป์รีดภาษี ประคองเศรษฐกิจไทย-รักษาความเชื่อมั่น-การเมืองอยู่ในกรอบ

33 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ปัดตกนิรโทษ ‘ม.112’

เดลินิวส์

5 นักอนุรักษ์จับมือ UNDP เขย่ายั่งยืนโลก เมื่อคนรุ่นใหม่วาดฝันลงมือสร้างอนาคตเอง

เดลินิวส์

ลุ้นตัวโก่งชะตา ‘นายกฯหญิง’

เดลินิวส์
ดูเพิ่ม