SMEs เสี่ยงปิดกิจการต่อเนื่อง เฉลี่ยปิดตัวเพิ่มปีละ 7%
ธุรกิจ SMEs ของไทย มีมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 1 ใน 3 หรือประมาณ 35% ของ GDP หรือประมาณ 6.5 ล้านล้านบาท กำลังเผชิญหลายปัจจัยกดดัน โดยเฉพาะผลของสงครามการค้ารอบใหม่ และการแข่งขันกับสินค้านำเข้าท่ามกลางตลาดในประเทศที่เติบโตต่ำ
ส่งผลให้ ยังเสี่ยงขาดทุนหรือปิดตัวต่อ จากที่ก่อนหน้านี้ ถูกกระทบจากปัญหาโครงสร้างที่มีอยู่เดิม ทำให้มีการปิดตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7% ต่อปี (อ้างอิงศูนย์วิจัยกสิกรไทย) ดังนี้
ปี 2564 ปิดกิจการ 19,237 ราย
ปี 2565 ปิดกิจการ 21,765 ราย
ปี 2566 ปิดกิจการ 23,280 ราย
ปี 2567 ปิดกิจการ 23,551 ราย
สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันของ SMEs โดย 26% ของธุรกิจรายเล็กและรายย่อยขาดทุนต่อเนื่องในช่วง 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2566) มีจำนวนสูงถึง 106,595 ราย
ส่วนกลุ่มที่มีทั้งกำไรและขาดทุนสลับกันไป มีจำนวน 143,097 ราย และกลุ่มที่ทำกำไรตลอด 3 ปี มีจำนวน 164,019 ราย
ธุรกิจ SMEs ที่ยังคงยากลำบากในการแข่งขัน และเสี่ยงขาดทุน/ปิดกิจการต่อ แบ่งออกเป็น 2 ภาคหลัก ได้แก่
ภาคการค้าและบริการ
ก่อสร้าง
ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
ขนส่งสินค้า/คน
ร้านค้าปลีกอินเทอร์เน็ต
ร้านค้าปลีกทั่วไป
ภาคการผลิต
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก
ผลิตภัณฑ์พลาสติก
อิเล็กทรอนิกส์
เครื่องจักรและส่วนประกอบ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในอนาคต ธุรกิจ SMEs มีแนวโน้มขาดทุนหรือปิดกิจการต่อเนื่องในแทบทุกอุตสาหกรรม
โดย ภาคการผลิต ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้ารอบใหม่ และต้องเผชิญการแข่งขันกับสินค้านำเข้า
ส่วน ภาคการค้าและบริการ รับแรงกดดันจากกำลังซื้อในประเทศลดลง การแข่งขันกับธุรกิจรายใหญ่ และการลดลงของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ