โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

MIND: จะเจ็บหรือไม่…ขึ้นอยู่กับว่าเราเชื่อว่าเจ็บหรือเปล่า เผยเหตุผลทำไมบางคนดูทนเจ็บได้มากกว่าคนอื่น ที่ไม่ใช่เพราะอดทนเก่ง แต่เพราะสมองแต่ละคนประเมินความเจ็บปวดต่างกัน

BrandThink

เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สงสัยกันไหมว่าทำไมบางคนถึงทนกับอาการบาดเจ็บรุนแรงได้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เช่น นักกีฬาที่ลงสนามแล้วกระดูกหัก แต่ยังเล่นต่อไปได้ แต่บางคนอาจจะแค่โดนอะไรบาดเพียงนิด ก็ร้องเหมือนโดนตัดนิ้ว

เราอาจคิดว่าทำไมดูเวอร์จัง มันไม่น่าเจ็บขนาดนั้นนะ แต่จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้เราใช้วิทยาศาสตร์และจิตวิทยาอธิบายได้ คือ มนุษย์แต่ละคนมีการรับรู้ความเจ็บปวดที่ต่างกัน โดยมาจาก 5 ปัจจัยนี้

(1) สมองและอวัยวะรับรู้
สมองของคนเราไม่ได้แค่รับรู้ว่าบาดแผลนี้สร้างความเจ็บปวด แต่มันควบคู่กับการประเมินความเสี่ยงด้วย เช่นคนที่โดนมีดเสียบท้องมา กลับเดินเข้าห้องฉุกเฉินแบบหน้าตาเฉย แต่กลับรู้สึกเจ็บปวดกับบาดแผลเล็กๆ บนหัวเข่ามากกว่า เพราะสมองประเมินแล้วว่าแผลบริเวณหัวเข่าเสี่ยงต่อการเดินมากกว่าแผลที่ท้อง

(2) เพศและกรรมพันธุ์
ผู้หญิงและผู้ชายมีฮอร์โมนและระบบประสาทแตกต่างกัน บางคนจึงรู้สึกเจ็บปวดง่ายกว่า หรือทนได้มากกว่าตามธรรมชาติ เช่น บางเรื่องผู้หญิงอาจจะทนเจ็บได้มากกว่า ถ้าเป็นการเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณและฮอร์โมนเพศหญิง

(3) สภาพจิตใจ
คนที่วิตกกังวลมากๆ จะรู้สึกเจ็บปวดมากกว่า ถ้าเราคาดหวังว่ามันต้องเจ็บแน่ๆ มันจะยิ่งเจ็บกว่าเดิม เช่น ถ้าเราเข้าใจว่าอาการปวดท้องนี้เป็นเพราะอาหารไม่ย่อย (ทั้งที่จริงถุงรังไข่แตก) สมองก็จะส่งความรู้สึกเจ็บปวดน้อยลง เพราะมันคิดว่าไม่มีอันตรายอะไร แต่เมื่อไหร่ที่เรารู้ว่ามีเลือดเต็มช่องท้อง ความเจ็บปวดก็จะพุ่งทะลุปรอททันที

(4) แรงจูงใจ
หากกำลังทำอะไรที่มีเป้าหมายใหญ่ อาจทำให้รู้สึกถึงความเจ็บปวดน้อยลง เช่น บาดเจ็บในช่วงเวลาสำคัญ อย่างในเวลาที่นักกีฬากำลังอยู่ในระหว่างการแข่งขันชิงแชมป์เหรียญทอง หรือตอนที่เราอยู่ในสถานการณ์คับขัน กำลังช่วยชีวิตใครสักคนอยู่ ถ้าตอนนั้นเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นมาสมองจะหลั่งสารเอนดอร์ฟินและโอปิออยด์ในร่างกาย เพื่อกลบความเจ็บปวดชั่วคราว เพราะสมองสั่งการว่า งานนี้มันสำคัญกว่าอาการบาดเจ็บ เราก็จะยังมีแรงไปต่อ เพื่อทำภารกิจสำคัญนี้ให้ลุล่วงไปได้

(5) การเลี้ยงดูและสภาพสังคมที่หล่อหลอม
บางคนอาจได้รับการเลี้ยงดูมาแบบประคบประหงม ไม่ได้มีประสบการณ์ที่ต้องเจ็บตัวบ่อยๆ หรือบางคนอาจจะถูกสอนมาว่า “แค่นี้เอง ต้องอดทน” ก็อาจจะถูกหล่อหลอมให้เป็นคนที่กดความเจ็บปวดเอาไว้ ขณะที่บางคนถูกเลี้ยงดูมาแบบให้ระบายออกมาได้เต็มที่ ก็จะเป็นการหล่อหลอมพฤติกรรมการตอบสนองต่อความเจ็บปวดของเราตั้งแต่เด็ก

สรุปก็คือ สมองคนเราประเมินความเจ็บปวดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ จิตใจ และสภาพแวดล้อม ดังนั้นความเจ็บปวดจึงไม่สามารถวัดได้เป๊ะๆ เหมือนวัดอุณหภูมิ แต่ทุกคนต่างมีมาตรวัดความเจ็บปวดเป็นของตัวเอง ดังนั้นถ้าเราได้ยินใครบ่นว่าเจ็บปวดกับบาดแผลที่ดูเล็กน้อย ก็อย่าเพิ่งไปตัดสินว่าเขาโอเวอร์ ไม่มีใคร ‘ทนเก่ง’ หรือ ‘ทนไม่เก่ง’ กว่าใคร เราแค่มีความแตกต่างกันจากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมานั่นเอง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BrandThink

BIZ: “นี่คืออาหารเสริมที่เพิ่มกล้ามเนื้อได้ดีที่สุด” แม่ลูกอ่อนในสหรัฐฯ ‘ขายน้ำนม’ ให้นักเพาะกาย สร้างรายได้ถึง 800 ดอลลาร์/วัน! ด้านนักโภชนาการชี้ เสี่ยงโรคติดต่อที่มาจากเลือด

10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

MOODY: เราอดทนกันไปทำไม? ชวนดู 7 มุมมองเชิงบวก ที่อาจตอบคุณว่า ‘ความอดทนคุ้มค่ากว่าที่คิด’

15 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

เกร็ดควรรู้...แล้วจะดู The Fantastic Four: First Steps สนุกขึ้น

กรุงเทพธุรกิจ

ทิฟฟานี่โชว์ พัทยา ปลื้มการแสดงชุดใหม่ “Crystallize a Dream” กระแสแรงเกินคาด

สยามรัฐวาไรตี้

ปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวง อว. ผนึกกำลัง IAEAเปิดเวที "โรงเรียนโรงงานพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์มาตรฐานปลอดภัยขนาดเล็ก (SMR School)"

MATICHON ONLINE

การกินกระเทียมเพื่อลดไขมันแบบเห็นผล

Manager Online

บทเพลง รอยสัก ความรัก และ Dept ย้อนดูความทรงจำผ่านบทเพลง ก่อนฝังเป็นรอยสัก

ONCE

“ไพน์เฮิร์สท” ของดีเมืองปทุมฯ ครบทั้งกอล์ฟและไลฟ์สไตล์!

สยามรัฐวาไรตี้

ค่าใช้จ่ายศูนย์รับเลี้ยงเด็กอ่อน ต้องรู้อะไรบ้างก่อนวางแผนฝากลูก

new18

มูลนิธิรามาธิบดีฯ จับมือ 5 ศิลปินดัง ส่งต่อ “ความสุขไม่มีที่สิ้นสุด”

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...