โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

‘พริษฐ์’ สวนหมัด ‘จตุพร’ บอกฝ่ายค้านไม่เคยออมมือ

ไทยโพสต์

อัพเดต 2 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 02 ก.ค. เวลา 04.28 น.

'พริษฐ์' ย้อน 'จตุพร' ไม่เคยออมมือในฐานะฝ่ายค้าน แต่ยึดหลักใช้กลไกศาล รธน. ตรวจสอบการทุจริตเท่านั้น มองปม 'แพทองธาร' รั้งเก้าอี้ 'รมว. วธ.' ต่อไป หากตั้งกระทู้ต้องมาตอบเอง มอบหมายใครไม่ได้แล้ว

02 ก.ค. 2568 - นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ที่มีพรรคภูมิใจไทยเข้ามาร่วมประชุมด้วยครั้งแรกในวันนี้ จะมีการหารือเรื่องวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีการเปิดสมัยประชุมในวันที่ 3 ก.ค.นี้ ซึ่งจะได้เห็นกระทู้ถามสดของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ที่จะสอบถามในประเด็นสำคัญของประเทศ ที่เกิดในช่วงปิดสมัยประชุม และกำลังรอคำตอบจากฝ่ายบริหารอยู่

สำหรับระเบียบวาระการประชุมสภาในสัปดาห์หน้าที่สังคมกำลังจับตาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร หรือ Entertainment Complex และภายใต้เหตุการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้นมากมาย เมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา มีสิ่งหนึ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น คือคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่ได้มีมติที่จะขอถอนร่างกฎหมายดังกล่าวออกจากวาระการประชุม ก็จะทำให้ร่างกฎหมายนี้ อยู่ในวาระการประชุมแรกของสัปดาห์หน้า

ดังนั้น จุดยืนส่วนตัว และของพรรคประชาชน ก็ยังคงเหมือนเดิม คือไม่เห็นด้วยกับนโยบาย และร่างกฎหมายของรัฐบาลในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะด้วยผลการศึกษายังไม่ชัดเจน รวมถึงผลกระทบทางสังคม เช่น ปัญหาการปิดการพนัน และความเสี่ยงเรื่องการฟอกเงิน ก็ยังไม่มีมาตรการที่รัดกุมเพียงพอ ซึ่งหากรัฐบาลรับฟังความเห็นอย่างจริงใจ ก็คงจะถอนร่างนี้ออก แต่ถ้าไม่ถอน ในมุมนึง ก็เหมือนบททดสอบความไว้วางใจ ระหว่างรัฐบาลและประชาชนเหมือนกัน

"ร่างกฎหมายนี้ เป็นของ ครม. ตามธรรมเนียมของระบบรัฐสภา หากกฎหมายนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบ หรือถูกคว่ำ ก็สะท้อนว่า รัฐบาลไม่สามารถคุมเสียงของซีกรัฐบาลได้แล้ว แม้ว่าจะเป็นนโยบายที่รัฐบาลอ้างว่า เป็นเรือธงของตนเอง โดยหลักการแล้ว เราก็คาดหวังความรับผิดรับชอบทางการเมืองของรัฐบาล" นายพริษฐ์กล่าว

สำหรับท่าทีของพรรคร่วมฝ่ายค้านที่มีพรรคภูมิใจไทยมาเติมเสียงด้วยแล้วนั้น นายพริษฐ์ ระบุว่า ก็ต้องรอดูความชัดเจนว่า รัฐบาลจะถอยหรือไม่ แต่จากที่ฟังการให้สัมภาษณ์ของพรรคร่วมฝ่ายค้านแล้ว ก็เชื่อมั่นว่าจะมีจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยเหมือนกัน ส่วนการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจตามมาตรา 151 นั้น ยืนยันว่า รัฐบาลซึ่งเป็นที่คาดหวังของประชาชน มีทางออกเดียว คือเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใหม่

นายพริษฐ์ กล่าวว่า ทางเลือกแรกคือ รักษาการนายกรัฐมนตรี สามารถประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคืนอำนาจให้กับประชาชนในการเลือกตั้ง หรือหากรักษาการนายกรัฐมนตรี ไม่ยุบสภา ทางพรรคประชาชน ก็จะหารือกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อใช้กลไกรัฐสภา เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว ซึ่งหนึ่งในนั้น คือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยหลังจากเปิดสมัยประชุมในวันที่ 3 ก.ค.นี้ ผู้นำฝ่ายค้านก็จะนัดหารือร่วมกับหัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้าน ว่าเราจะใช้กลไกต่างๆ หรือไม่

นายพริษฐ์ ยังย้ำจุดยืนเดิมว่า พรรคประชาชนจะไม่ร่วมรัฐบาลกับใครในสมัยนี้ และท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองแบบนี้ ต้องเป็นรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง

ส่วนกรณีที่แม้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร จะถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีแล้ว แต่ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมนั้น นายพริษฐ์ มองว่า ในเชิงกฎหมาย ก็มีข้อถกเถียงกันอยู่ แต่ก็ต้องรอดูความชัดเจนอีกครั้ง ซึ่งก็น่าสนใจว่า หากเราตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เกี่ยวกับการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา ยังไม่เห็นผลเท่าที่ควร ก็แปลว่า นางสาวแพทองธาร จะต้องมาตอบกระทู้สดในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมใช่หรือไม่ เนื่องจากมอบหมายใครไม่ได้แล้ว เพราะไม่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการแล้ว

นายพริษฐ์ ยืนยันอีกว่า พรรคประชาชนทำหน้าที่ฝ่ายค้านอยู่ในจุดเดิมมาโดยตลอด ตรวจสอบอย่างเข้มข้นทุกบุคคล ทุกกระทรวง ขณะที่บางพรรคที่ตอนแรกมาประชุมวิปฝ่ายค้านด้วย มีท่าทีขึงขังในการตรวจสอบบางเรื่อง แต่ตอนนี้ก็ไปร่วมรัฐบาล มีเลขาธิการพรรคที่ปกป้องรัฐบาล อาจจะมากกว่าโฆษกรัฐบาลด้วยซ้ำ แต่พรรคประชาชนทำหน้าที่ฝ่ายค้าน และใช้กลไกทุกอย่างในสภา ซึ่งอาวุธบางอย่างก็ต้องระมัดระวังในการใช้

สำหรับกรณีที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มรวมพลังแผ่นดิน วิจารณ์พรรคประชาชน ไม่ใช้กลไกศาลรัฐธรรมนูญ ยื่นตรวจสอบนายกรัฐมนตรี นายพริษฐ์ กล่าวว่า พรรคประชาชนมีจุดยืนชัดเจนว่า จะไม่ใช้กลไกใดบ้างในการตรวจสอบ และเราไม่ได้ปฏิเสธทุกกลไกการตรวจสอบ โดยศาล หรือองค์กรอิสระ ถ้าเป็นนโยบายเกี่ยวกับการทุจริต ที่สามารถนิยามได้ชัดเจน เราเห็นว่าผู้กระทำการทุจริต ก็ควรได้รับผิดรับชอบตามกฎหมาย

เช่น การยื่นศาลรัฐธรรมนูญกรณี นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ก็ไม่ได้เป็นการยื่นในเรื่องจริยธรรม แต่เป็นเรื่องการโยกย้ายงบประมาณโดยไม่โปร่งใส หรือกรณี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อนในการถือหุ้น

"ผมยืนยันชัดเจนมาโดยตลอดว่า ไม่ได้ออมมือให้กับใคร ใช้เกณฑ์เดียวกันในการตรวจสอบผู้มีอำนาจทุกฝ่าย ต้องถามกลับไปด้วยซ้ำว่า หากคิดว่าการอภิปรายเรื่องตั๋ว P/N ของนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน วันนั้นมีน้ำหนักมาก ซึ่งเมื่อนายวิโรจน์อภิปรายเสร็จ มีพรรคอะไรบ้างที่ยังยกมือให้ความไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ด้วยความเคารพ เพราะเห็นนายจตุพรพาดพิงพรรคเรา แล้วไปชื่นชมอีกพรรคการเมืองหนึ่ง แต่อย่าลืมว่าพรรคการเมืองนั้น เมื่อฟังอภิปรายเสร็จ ก็ยังไปยกมือให้นายกรัฐมนตรีต่อ" นายพริษฐ์กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

‘ศิริโชค’ ระทึก! รถ PHEV จอดนิ่งไฟลุกกลางดึก ไหม้วอดทั้งคัน

35 นาทีที่แล้ว

เด้ง 5 เสือบางเขน! เซ่นบ่อนสะพานใหม่

47 นาทีที่แล้ว

‘เอี่ยม’ ข้องใจ ‘พรรคส้ม-ภูมิใจไทย’ ไหนบอกยืนหลังตรง แต่ลับลวงพรางกันเอง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ททท. จับมือ THACCA พา CELEBRITIES – KOL จากหลายมุมโลกมาถึงเมืองไทยแล้ว ร่วมฉลองโครงการ ‘Be My Guest’ พาเสน่ห์ไทย โกอินเตอร์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม