สตรีและสตางค์คู่อื้อฉาวของพระสงฆ์มาเนิ่นนาน
แต่ชาวพุทธไทยยังโชคดี ที่เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจเข้าไปเก็บกวาดในวัดได้ รวมถึงชาวบ้านรอบวัด ก็คอยเป็นหูเป็นตาให้อีกส่วนหนึ่ง
แต่พัฒนาการทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีส่วนเอื้อให้ท่านทำผิดวินัยง่ายขึ้น เช่นโทรศัพท์มือถือ และรถยนต์ติดฟีล์มทึบแสงเป็นต้น
แม้กระทั่งกุฏิ ก็ตกแต่ง มีฟีล์มทึบแสงติดกระจก
พรัอมผ้าม่าน เป็นบรรยากาศเฉพาะตัวดีนัก
ส่วนตัวการที่ก่อเรื่องไม่ใช่พระภิกษุบวชใหม่ หรือขาดการศึกษา หากแต่เป็นพระราชาคณะ ทั้งมหานิกายและธรรมยุต มีตำแหน่งปกครอง เป็นุึงเจ้าอาวาส เข้าคณะภาค มีการศึกษาสูงทั้งทางโลกทางธรรม
ผู้ที่อยู่ในวงการบอกว่า ถ้าพระท่าน มีหิริโอตัปปะ มีสติ ไม่ประมาท ยังเคารพพระธรรมและวินัย คงไม่เกิดเรื่องอื้อฉาวบ่อย ๆ แน่นอน
และว่าพระที่ก่อเรื่องทำเหมือนไม่มีศาสดาอยู่แล้ว ทั้งๆ ที่ พระศาสดายังอยู่ คือพระธรรมวินัย ที่เป็นพระศาสดา
ดังที่ตรัสแก่พระอานนท์ว่า
การที่พระอานท์และสาวกอาจคิดเหมือนๆ กันว่า ถ้าสิ้นพระพุทธองค์ ใครจะเป็นพระศาสดาแทน
"อานนท์ บางทีพวกเธอ ซึ่งมีความคิด เช่นนี้ว่า ปาพจน์(คือ พระ ศาสนา) เมื่อพระศาสดาล่วงไปแล้ว พระศาสดาของเราไมมี
ข้อนี้พวกเธอไม่พึงคิดเช่นนั้น
ธรรมะและวินัย อันใดที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมะและวินัยอันนั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยการล่วงไปให้เรา
อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก อธิบายในหนังสือบรรยายพระไตรปิฎกว่า
ธรรมะคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
วินัยคือสิ่งที่พระองค์บัญญัติ
ที่เรียกว่าธรรมะมี 2 ระดับ คือสัจธรรมสูงสุด
ที่มนุษย์พึงได้พึงถึงไดัแก่นิพพาน และแนวทางที่ปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดนั้น
(มรรค 8 เป็นต้น)
ส่วนสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ หรือตั้งแนวใหม่เพื่อความเรียบร้อยของสังคมสงฆ์ เป็นพุทธอาณา เรียกว่าพระวินัย
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวโีรส ผู้วางรากฐานการศึกษาสงฆ์ นิพนธ์ ในหนังสือวินัยมุขเล่ม 1 ว่า เมื่อพระยังมีจำนวนน้อย การปกครองก็ไม่ยุ่งยาก เมื่อจำนวนมาก และกระจายกันอยู่ การปกครองก็ยากขึ้น
เพื่อใหัเกิดความเรียบรัอยในหมู่คณะ
เหมือนสกุลต่างๆ ที่มีระเบียบแห่งสกุลนั้นๆ
พระพุทธเจ้าคือสังฆบิดร จึงทรงวางกฏระเบียบไว้ ปฏิบัติ 2 ประการคือตั้งพุทธบัญัติเพื่อป้องกันความเสียหาย และวางโทษแก่ผู้ทำความเสียหายหนักบ้าง เบาบ้างแล้วแต่กรณีเรียกว่าบัญญัติ
และทรงตั้งขนบธรรมเนียมในการประพฤติปฏิบัติเพื่อความงามแห่งหมู่คณะ เรียกว่าอภิสมาจาร
ทั้ง 2 อย่างรวมเรียกว่าพระวินัย
อันพระวินัยนี้เปรียบเหมือนด้ายร้อยดอกไม้ไม่ให้กระจัดกระจาย
ทั้งนี้เพราะผู้บวชมาจากสกุลต่างๆ มีพื้นเพต่างกัน มีจิตใจต่างกัน ถ้าไม่มีวินัยปกครอง จะประพฤติเลวทรามได้
การที่ผู้บวชมาจากฐานะต่างกัน เหมือนดอกไม้ต่างสี และรูปพรรณย่อมแตกต่างกัน เมื่อช่างดอกไม้จัดดอกไม้วางในพานให้เป็นระเบียบ ดอกไม้ต่างสีต่างรูปพรรณ ก็ดูงาม
พระสงฆ์ก็เช่นกันต้องมีวินัยจัดระเบียบ จึงดูงาม
ส่วนเรื่องสตรีที่เป็นรากเง่าปัญหานั้น พระพุทธเจ้าเคยตรัสแก่พระอานนท์ว่า ไม่เห็นดีที่สุด ถ้าเห็นก็ไม่ควรพูดด้วย หากพูดด้วยต้องมีสติ
ในพระวินัย มีข้อหัามเกี่ยวข้องกับสตรีหลายสิดขาบท ผู้ละเมิดจะถูกปรับอาบัติตั้งแต่สูงสุด จนถึงต่ำสุด
เช่นเสพ้ทถุนจะขาดจากความเป็นพระ
ถ้าไปจับต้องลูบคลำสตรีด้วยความกำหนัด ถูกปรับอาบัติหนักรองลงมาคืออาบัติสังฆาทิเสส
และอื่นๆที่เป็นอาบัติเบาอีกหลายสิกขาบท (ให้ศึกษาจากนวโกวาท)
ส่วนสตางค์ หรือปัจัยนั้น มีปรับอาบัติสูงสุดถ้าลักโขมยทรัพย์แม้มีราคาเพียงบาทเดียวก็ขาดจากความเป็นภิกษุ ท่านจึงกล่าวว่า ความเป็นพระนั้นมีราคาเพียงหนึ่งบาท เท่านั้น
นอกจากนั้นยังห้ามจับ ห้ามเก็บปัจจัย(เงินทอง) แม้กระทั่งสั่งให้เขาเก็บไว้ให้ก็เป็นอาบัติ
ปัจจุบันชาวพุทธบางกลุ่มเรียกร้องไม่ให้ญาติโยมถวายปัจจัยแก่พระสงฆ์
แต่สังคมปัจจุบัน หากไม่มีเงินก็อยู่ยาก เช่นบางวัดที่จังหวัดนนทบุรีไม่มีเงินจึงถูกตัดน้ำตัดไฟ เพราะติดค้างหลายเดือน พระในวัดจึงจุดเทียนส่องสว่าง
ในขณะที่สมภารบางวัด ก็มีเงินมากเป็นสิบๆ ล้าน (ไม่นับทองแท่งน้ำหนัก 200 กว่าบาท) ให้ลูกศิษย์เบิกจากธนาคารนำมาเก็บในห้องนอนของตน ยังหายไร้ร่องรอยตำรวจสอบกันอุตลุด ว่าเงินได้มาอย่างไร และหายได้อย่างไร
นี่แหละสตรี และสตางค์ ศัตรูพระสงฆ์ ของแท้