เมื่อโลกร้อนขึ้น สัตว์ในอาร์กติกจะอยู่อย่างไร?
ภาวะโลกร้อนไม่ได้เป็นเพียงแค่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่กำลังกลายเป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศทั่วโลกอย่างแท้จริง ทั้งภัยแล้งที่บ่อยขึ้น พายุที่รุนแรงขึ้น คลื่นความร้อน การละลายของธารน้ำแข็ง มหาสมุทรที่อุ่นขึ้น และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตนับไม่ถ้วน รวมถึงมนุษย์เอง
ภูมิภาคอาร์กติกกำลังเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่ใดบนโลก โดยอุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าของค่าเฉลี่ยโลก ผลกระทบไม่เพียงแค่ระดับท้องถิ่น แต่ส่งแรงสะเทือนไปทั่วโลก เช่น การละลายของน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 33 ซม. ภายในศตวรรษนี้ และการหายไปของน้ำแข็งทะเลที่เคยช่วยสะท้อนความร้อนออกจากโลก
นกอพยพและพื้นที่ชุ่มน้ำที่ต้องปกป้อง
ทุกฤดูร้อน นกนับล้านจะบินมาอาศัยในอาร์กติกเพื่อผสมพันธุ์ กินแมลง และใช้ชีวิตอย่างอิสระ แต่ตอนนี้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ฤดูกาลเริ่มไม่แน่นอน อาหารลดลง ที่อยู่อาศัยแปรปรวน Tavvavouma คือพื้นที่ชุ่มน้ำกว่า 550 ตารางกิโลเมตรในสวีเดนตอนเหนือ เป็นถิ่นอาศัยหลักของนกนานาชนิด ที่นี่ถูกปั้นแต่งโดยน้ำแข็งถาวร (permafrost) ซึ่งกำลังละลายจากโลกร้อน ทำให้อนาคตของที่นี่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน โดยโครงการของ WWF ร่วมกับ BirdLife Sweden และชุมชนชนพื้นเมือง Sámi ได้ช่วยติดตามประชากรนกและเส้นทางอพยพ เพื่อให้เราสามารถปกป้องแหล่งพักพิงของพวกมันได้ในทุกฤดูกาล
กวางเรนเดียร์
กวางเรนเดียร์ (หรือคาริบูในอเมริกาเหนือ) อยู่ร่วมกับระบบนิเวศทุนดรามานานกว่า 600,000 ปี และยังเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมชาว Sámi ที่เลี้ยงกวางเป็นแหล่งอาหารและรายได้ ในเขตฟินแลนด์ตอนเหนือ (Sápmi) อุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 2.3°C ส่งผลให้หิมะและน้ำแข็งเปลี่ยนสภาพ กวางเรนเดียร์ไม่สามารถขุดหาไลเคนใต้หิมะได้ เพราะหิมะเปียกกลายเป็นน้ำแข็งแข็งแน่น ทำให้อาหารถูกปิดตาย ในบางปี กวางเรนเดียร์หลายพันตัวต้องอดตาย ขณะที่บางชุมชนต้องหันไปให้อาหารเสริม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าจะทำได้ต่อเนื่อง WWF ได้คัดค้านโครงการพัฒนาที่คุกคามเส้นทางอพยพและแหล่งหากินของกวาง พร้อมทั้งสนับสนุนแนวทางที่ยั่งยืนร่วมกับชุมชน
หมีขั้วโลก
แม้จะเป็นนักล่าที่ใหญ่ที่สุดบนบก แต่ หมีขั้วโลก กลับกลายเป็นหนึ่งในสัตว์ที่เปราะบางที่สุดต่อภาวะโลกร้อน เพราะพวกมันพึ่งพาน้ำแข็งทะเลในการล่า หาอาหาร และผสมพันธุ์ ในหมู่เกาะ สวาลบาร์ด ของนอร์เวย์ หมีขั้วโลกประมาณ 300 ตัวยังคงอาศัยอยู่ แต่ต้องปรับตัวด้วยการหันไปล่าเหยื่อบนบกมากขึ้น เช่น นก ไข่ และแม้กระทั่งกวางเรนเดียร์ ขณะที่หมีอีกกลุ่มหนึ่งที่มาเยือนช่วงฤดูร้อน จะค่อย ๆ เคลื่อนไปทางเหนือตามการหายไปของน้ำแข็งทะเล ขณะที่ WWF เฝ้าติดตามประชากรหมีขั้วโลกอย่างใกล้ชิด พร้อมดำเนินโครงการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัย และลดความขัดแย้งระหว่างหมีและมนุษย์ เมื่อทะเลน้ำแข็งละลาย เปิดทางให้ภัยคุกคามใหม่
การละลายของน้ำแข็งทะเลไม่ได้แค่ทำลายถิ่นที่อยู่ของสัตว์ แต่ยังเปิดเส้นทางเดินเรือใหม่ในอาร์กติก ทำให้จำนวนเรือเพิ่มขึ้นกว่า 1 ใน 3 และระยะทางเดินเรือเพิ่มขึ้นเท่าตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ผลกระทบที่ตามมา ได้แก่
การชนกันระหว่างเรือกับวาฬ
มลภาวะทางเสียงใต้น้ำ ที่รบกวนวาฬชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะ นาร์วาฬ เบลูกา และวาฬหัวคันศร ที่พึ่งพาเสียงในการสื่อสารและหาอาหาร
WWF ได้จัดทำแผนที่เส้นทางอพยพของวาฬและเส้นทางเดินเรือ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และเรียกร้องให้คุ้มครองพื้นที่ทะเลอาร์กติกให้ได้ 30% ภายในปี 2030 ผ่านโครงการ ArcNet ซึ่งระบุพื้นที่อนุรักษ์สำคัญ 83 จุด รวมครอบคลุมพื้นที่กว่า 5.9 ล้านตารางกิโลเมตร
การทำงานร่วมกับชนพื้นเมืองในอาร์กติก และการติดตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศอย่างใกล้ชิด คือกุญแจสำคัญในการช่วยสัตว์ป่าปรับตัวในโลกที่ร้อนขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราทุกคนสามารถทำได้ คือ
“ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เร็วและมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”
เพราะนั่นคือหนทางเดียวที่จะช่วยให้อาร์กติก และสิ่งมีชีวิตที่นี่มีโอกาสรอดในระยะยาว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- วิกฤตคลื่นความร้อนทางทะเล นักวิทย์ชี้ “สิ่งมีชีวิตเสี่ยงสูญพันธุ์”
- อากาศร้อนคุกคามโลกกีฬา เด็กยุคใหม่อาจเล่นได้แค่กีฬาในร่ม
- “ปากีสถาน” สั่งห้าม สร้างโรงแรมรอบทะเลสาบ ปกป้องธรรมชาติก่อนสายเกินไป
- แกนน้ำแข็งอายุ 1.5 ล้านปี จากแอนตาร์กติกา พร้อมไขความลับ ภูมิอากาศโลกในอดีตและอนาคต!
- “ปากีสถาน” น้ำท่วมหนัก เด็กตายเกือบร้อย ภัยธรรมชาติรุนแรงเกินรับไหว
ล่าสุดจาก TNN ช่อง16
คดีน้องเมย ปิดฉากในศาลทหารแต่คำถามความยุติธรรมยังไม่จบ?
1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
รมว.คลัง เผยจ่อยื่นข้อเสนอเจรจาภาษีสหรัฐฯ ครั้งสุดท้าย 23 ก.ค.นี้
1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
“พิชัย” ฝากโจทย์สำคัญผู้ว่าฯ ธปท. คนใหม่ เรื่อง “หนี้” ต้องช่วยกันเร่งแก้ไข
1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
2025 เป็นปีทองของ Bitcoin จริงหรือไม่? ถอดแนวคิด ‘คุณท็อป จิรายุส’
1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
วิดีโอแนะนำ
ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ
จับพ่อค้ายาทำเนียน ซ่อนยาบ้า 99 เม็ด ในร่องก้น
ข่าวช่องวัน 31
ตร.ยืนยันวงจรปิดชัด! ภรรยายิงสามีดับ ปมหึงหวงสะสม ก่อนจบชีวิตตามริมคลอง
สยามนิวส์
“อนุทิน” ยังไม่มีคุยบ้านใหญ่เมืองตรัง ดึงร่วม “ภูมิใจไทย”
สำนักข่าวไทย Online
“อนุทิน” แฮปปี้ทำงานฝ่ายค้าน บอกรู้จัก “ธนาธร” มานานแล้ว
สำนักข่าวไทย Online
กรมชลฯ เฝ้าระวัง “พายุวิภา” บูรณาการเร่งช่วยเหลือประชาชน
สยามรัฐ
กรมชลฯ เฝ้าระวังรับมือพายุ ‘วิภา’ บูรณาการทุกภาคส่วน เร่งช่วยเหลือประชาชน
The Bangkok Insight
Multiple suspects face indictment over March 28th collapse of SAO building
Thai PBS World
วิดีโอ
ตั้ง กก.เชือด! "อธิบดีที่ดิน" เซ่นปม "เขากระโดง" | ทันข่าวเย็น | 22 ก.ค. 68 | NationTV22
NATIONTV