โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

รูัจัก "ทรามาดอล" ยาแก้ปวดชนิดเฉียบพลัน ที่ราชกิจจาฯ ประกาศให้ เป็นยาควบคุมพิเศษ

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา
รูัจัก

ทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาระงับปวด กลุ่มโอปิออยด์ (Opioids) ข้อบ่งใช้รักษาอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรงชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น อาการปวดจาก บาดแผล กระดูกหัก การบาดเจ็บของเส้นประสาท ไม่ควรใช้ในอาการปวดเล็กน้อย

กลไกการออกฤทธิ์มี 2 กลไก คือ

1. กระตุ้นมิวรีเซปเตอร์ จะมีฤทธิ์ลดความปวด และมีฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดภาวะเคลิ้มสุข (euphoria)

2. ยับยั้งการเก็บกลับของสารสื่อประสาทชนิดโมโนเอมีน (monoamine) คือ นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) และ เซอโรโทนิน (serotonin) ทำให้สารสองชนิดนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นและลดอาการปวดได้

ขนาดยาที่แนะนำ

ขนาดยาเริ่มต้นในผู้ใหญ่ คือ รับประทานครั้งละ 50 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง เวลาปวด

ขนาดยาสูงสุดในผู้ใหญ่ไม่ควรใช้เกิน 400 มิลลิกรัม ต่อวัน

การใช้ยาทรามาดอลเกินขนาด ในปัจจุบันพบมากในกลุ่มวัยรุ่นที่นำยามาใช้ผิดวัตถุประสงค์ในการเสพเพื่อผ่อนคลายและหากใช้ไปนานๆ จะเกิดการเสพติด และทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ได้แก่ อารมณ์แปรปรวน มึนงง เคลิ้ม เฉื่อยชา

การเกิดพิษจากทรามาดอลแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ การตั้งใจรับประทานยาเกินขนาด (เช่น การรับประทานยาเพื่อฆ่าตัวตาย) และเป็นผลจากการเสพเพื่อผ่อนคลาย

อาการเมื่อใช้ยาเกินขนาด ได้แก่ อาการซึม หมดสติ คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ หรือความดันโลหิตสูง ชัก หมดสติแบบลึก

ดังนั้นการรับประทานยาทรามาดอลเกินขนาด และการนำยาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่อันตรายต่อชีวิตได้

ทั้งนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ฉบับที่ 57 ลงนามโดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.2568

โดยระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรฐาน 76(4) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 และมาตรา 78 แห่งพระราชบัญยัติยา พ.ศ. 2510 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการยา ในการประชุม ครั้งที่421-5/2567 เมื่อวันที่ 20 ก.ย.2567 จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็น(99) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยาควบคุมพิเศษ ลงวันที่ 26 พ.ค. พ.ศ.2521

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

สาวแชร์อุทาหรณ์ ใส่ส้นสูง โค้งคอ 17 ครั้ง สุดท้ายเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ (Stroke)

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Digital Bridge Camp เสริมทักษะ AI ให้นักเรียนเป็น “ผู้ใช้” ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีคุณภาพ

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า หมา แมว กทม. เดือนกรกฎาคม 2568 อัปเดตที่นี่

ฐานเศรษฐกิจ

สาวแชร์อุทาหรณ์ ใส่ส้นสูง โค้งคอ 17 ครั้ง สุดท้ายเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ (Stroke)

TNN ช่อง16

ชัยชนะ ลุยแก้ปัญหายาเสพติด นำร่อง มินิธัญญารักษ์ 5 อปท.

ฐานเศรษฐกิจ

เปิดโปรเจกต์ 'Part-Time Job Hunter' ปั้นเด็กมีงานทำตั้งแต่ปี 1

กรุงเทพธุรกิจ

โอกาสทอง! รับสมัครฝึกงานญี่ปุ่น IM Japan ฟรี จบแล้วมีเงินก้อน 6แสนบาท

กรุงเทพธุรกิจ

กลาก เกลื้อน โรคที่โดนตีตราว่าสกปรก ผู้ป่วยอายปิดบังเสี่ยงรักษาผิดวิธี

Amarin TV

ข่าวและบทความยอดนิยม

ตื่นนอนแล้วปวดหัวบ่อยๆ เช็กเลย! อาจมาจากสาเหตุเหล่านี้

TNN ช่อง16

วิจัยเผย "ปวดหัวแบบคลัสเตอร์" ปวดรุนแรงที่สุด ยิ่งกว่าคลอดลูก

TNN ช่อง16

ปวดหัวแบบไหน ถึงเรียกว่า"ปวดไมเกรน"

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...