โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สภาพิจารณากฎหมายยกเลิกคำสั่ง คสช. วาระ 2-3 กมธ. ชี้เป็นนิมิตหมายทุกฝ่ายร่วมมือกัน ใช้เวลากว่า 10 ปี มีสภาแล้ว 2 ชุด

THE STANDARD

อัพเดต 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
สภาพิจารณากฎหมายยกเลิกคำสั่ง คสช. วาระ 2-3 กมธ. ชี้เป็นนิมิตหมายทุกฝ่ายร่วมมือกัน ใช้เวลากว่า 10 ปี มีสภาแล้ว 2 ชุด

วันนี้ (23 กรกฎาคม) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 5 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับที่หมดความจำเป็นและไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว

เป็นประวัติศาสตร์ ทุกฝ่ายร่วมมือกันผลักดันการยกเลิกคำสั่ง คสช.

จาตุรนต์ ฉายแสง ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฯ รายงานผลการประชุมว่า ได้พิจารณาและลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ. 5 ฉบับ ได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ขึ้นเพื่อพิจารณาโดยกำหนดญัตติภายใน 15 วันโดยให้ถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นหลัก ได้พิจารณาเสร็จแล้วและคณะกรรมการวิสามัญยกเลิกประกาศหัวหน้า คสช. และ คสช. รวมทั้งสิ้น 77 ฉบับ ได้ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. รวม 55 ฉบับ ประกอบด้วยคำสั่งที่ไม่มีบทบัญญัติรองรับ 48 ฉบับ มีบทบัญญัติรองรับ 7 ฉบับ

สำหรับคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ยังคงมี 22 ฉบับ มีเหตุผลคือ 1.คำสั่งของหัวหน้า คสช. ที่ต้องแก้ไขกฎหมายก่อนยกเลิก หากยกเลิกจะผิดกฎหมาย 9 ฉบับ 2.คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่หน่วยงานร้องขอให้คงไว้ เพื่อแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อน 3 ฉบับ 3.คำสั่ง คสช. เนื่องจากหน่วยงานหรือสมาชิก สส. อยู่ระหว่างการเสนอร่างกฎหมาย 3 ฉบับ 4.คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่หน่วยงานร้องขอให้คงไว้หากยกเลิกจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการของหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชนชน ประชาชน และต่อการดำเนินคดีหรือต่อสู้คดีในชั้นศาลหรือคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ 7 ฉบับ

จาตุรนต์กล่าวว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญได้ดำเนินการร่างกฎหมาย ที่สภาฯ ได้ลงมติรับหลักการ 5 ฉบับ มาพิจารณาร่วมกัน และรับฟังความเห็นจาก สส. หน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อให้ร่างนี้ครอบคลุมข้อเท็จจริงและเหตุผล

จาตุรนต์ระบุด้วยว่า คณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระ 2 และวาระที่ 3 มีความหมายต่อหลักการและระบอบประชาธิปไตย เป็นการตอกย้ำว่า อำนาจในการออกกฏหมายพึงเป็นของประชาชน การออกประกาศคำสั่งสามารถทำได้โดยง่าย แต่ยกเลิกหรือแก้ไขยากลำบาก แต่การทำงานจนสำเร็จลุล่วงได้รับความร่วมมือจากคณะรัฐมนตรี และพรรคการเมืองต่างๆ ในการเสนอกฎหมาย ส่วนการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการ พรรคการเมืองทุกพรรค

ชี้รัฐประหารออกกฎหมายได้รวดเร็ว แต่ยกเลิกใช้เวลาเป็น 10 ปี

ด้าน ปิยบุตร แสงกนกกุล ในฐานะรองประธานกรรมาธิการฯ คนที่ 1 อภิปรายว่า การพิจารณาร่างกฎหมายนี้ เป็นเครื่องหมายหนึ่งของความร่วมมือร่วมใจกันของพรรคการเมืองทุกพรรค ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน เพื่อยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช.

ปิยบุตรกล่าวว่า วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นวันที่คณะบุคคลที่เรียกว่า คสช. ได้ก่อรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มรัฐบาล และตั้งตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ขึ้น เรื่อยมาจนมิถุนายน 2562 เป็นเวลาเกือบ 5 ปี คสช. ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ในการออกบรรดาประกาศคำสั่งจำนวนมาก รวมแล้ว 565 ฉบับ ที่ละเมิดต่อหลักสิทธิเสรีภาพ เรียกนักการเมือง นักเคลื่อนไหว ไปรายงานตัว สมาชิกในสภาแห่งนี้ก็ตกเป็นผู้เดือดร้อนจากคำสั่งเหล่านี้เช่นเดียวกัน ตลอดจนคำสั่งห้ามชุมนุมที่เพื่อนสมาชิก และอีกหลายท่าน ถูกดำเนินคดีจากคำสั่งนี้

ปิยบุตรกล่าวต่อไปว่า นอกจากจำนวนฉบับที่ครอบคลุมไปทุกเรื่องแล้ว เราจะเห็นได้ว่า ช่วงเวลาแห่งการรัฐประหารและใช้มาตรา 44 ไม่ได้กระทบเพียงเรื่องการเมืองแต่รวมไปถึงเรื่องเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมด้วย หลังการเลือกตั้งครั้งแรกภายในรัฐธรรมนูญ 2560 เมื่อปี 2562 สภาฯ ชุดนั้นพยายามผลักดันร่างกฎหมายเพื่อยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. ตนเองมีโอกาสเป็น สส. อยู่ก็ได้เสนอญัตติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบต่างๆ ของคำสั่งและประกาศ คสช. แต่ท้ายที่สุดก็ไม่ผ่าน

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีร่างอีก 2 ฉบับเข้ามาในนามของพรรคอนาคตใหม่ และของประชาชนที่รวมรายชื่อเสนอเข้ามา แต่สภาฯ ชุดที่แล้วไม่ให้ผ่าน มาจนถึงสภาฯ ชุดนี้ เป็นนิมิตหมายที่ดีเพราะร่าง พ.ร.บ. มีทั้งร่างของคณะรัฐมนตรี ของ สส. รัฐบาล และ สส. ฝ่ายค้าน ในชั้นการทำงานของกรรมาธิการก็ได้รับความร่วมมือร่วมใจอย่างดียิ่ง จากทุกฝ่าย ตลอดจนข้าราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังใช้เวลาการประชุมกรรมการชุดนี้เกือบ 1 ปี จึงได้รายงานฉบับนี้ออกมาในวาระที่ 2 และ 3

“ผมทราบดีว่า หากทุกท่านยึดหลักประชาธิปไตยและนิติธรรม เราก็คงเห็นว่า ประกาศและคำสั่ง คสช. ที่มาจากการยึดอำนาจตามมาตรา 44 ไม่ได้ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติที่ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยและนิติธรรมแล้ว ก็สมควรที่จะถูกยกเลิกไปทั้งหมด” ปิยบุตรกล่าว

ปิยบุตรระบุว่า แต่เนื่องจากประกาศเหล่านี้ถูกก่อตั้งและบังคับใช้ขึ้นในระบบกฎหมาย และมีบุคคลผู้สุจริตจำนวนมากได้รับสิทธิประโยชน์ไปแล้ว ทำให้การยกเลิกของพวกเราหลายครั้งต้องมีบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิประโยชน์ที่ผู้สุจริตได้รับไป แม้ว่าที่มาจะไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรมและกระบวนการประชาธิปไตย แต่เนื้อหาของมันก็มีประโยชน์ต่อส่วนรวม หลายเรื่องก็จำเป็นจะต้องรักษาไว้ เป็นที่มาว่าการพิจารณาของกรรมาธิการไม่สามารถยกเลิกได้หมด แต่จะมีบางอย่างต้องใช้ต่อ และบางอย่างยกเลิกไปแล้ว และมีการคุ้มครองผู้สุจริต ก็ควรแปลงสภาพให้เป็นกฎหมายในระบบปกติ

“ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้เวลาพิจารณาปีเศษ เมื่อหัวหน้าคณะรัฐประหารยึดอำนาจเขาใช้เวลาเพียงชั่วครู่ยาม เขาไม่ต้องผ่านกระบวนการถกเถียง อภิปราย ก็สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกประกาศคำสั่งได้อย่างรวดเร็ว แต่ถึงเวลาที่เราจะมายกเลิก เราต้องใช้สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งถึง 2 ชุด และใช้เวลาเกือบ 10 ปี กว่าการยกเลิกประกาศคำสั่งจะสำเร็จ” ปิยบุตรกล่าว

ปิยบุตรทิ้งท้ายว่า ในจุดนี้จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นอุทาหรณ์ว่า สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จะร่วมแรงร่วมใจกันผลักดันยกเลิกประกาศคำสั่ง คสช. ที่ไม่จำเป็น ล้าสมัย และร่วมกันปกป้องประชาธิปไตย ซึ่งเป็นฐานที่มาที่ทำให้ผู้แทนราษฎรทุกท่านได้มารวมตัวกันอยู่ในที่นี้ ไม่ให้มีรัฐประหารเกิดขึ้นอีก ไม่ให้มีการใช้อำนาจพิเศษแบบมาตรา 44 เกิดขึ้นอีก

จากนั้น ที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง ก่อนจะเข้าสู่การลงมติเห็นชอบรายมาตราในวาระ 2 และลงมติทั้งฉบับในวาระ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

สว. อังคณา ส่งหนังสือลาออกจาก กมธ.พัฒนาการเมือง ทิ้งเก้าอี้ประธาน

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ศาลในเครื่องแบบ ภาพสะท้อนคดี ‘น้องเมย’

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กระทรวงการต่างประเทศเชิญทูตต่างประเทศชี้แจงปมชายแดนไทย-กัมพูชา ย้ำทุ่นระเบิดเป็นของกัมพูชา ละเมิดอธิปไตยไทย

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แม่ทัพภาคที่ 2 เผยกำลังพลเหยียบกับระเบิดขาขาดเพิ่ม 1 นาย เตรียมยกระดับตอบโต้กัมพูชา สั่งปิด 4 ด่านชายแดน- 3 ปราสาท ตั้งแต่พรุ่งนี้

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

สุดช็อก!! สายลับจีนขโมย "พิมพ์เขียวมิสไซล์สหรัฐฯ" ส่งกลับปักกิ่ง หลังแฝงตัวทำงานอยู่ 3 เดือน

Manager Online

มวลน้ำยังมาไม่หยุด! ล่าสุดท่วม โรงพยาบาลน่าน แล้ว

Khaosod

ด่วน! ทบ.ออกคำสั่ง! ปิด ปราสาทตาเมือนธม – ปราสาทตาควาย มีผล 24 ก.ค.เป็นต้นไป

TOJO NEWS

ผบ.ตร. พร้อมพบครอบครัว 'น้องเมย' เคลียร์ปมคู่กรณีได้เป็นตำรวจ

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

‘ศรีสะเกษ’ เด้งรับมาตรการตอบโต้เขมร สั่งปิดด่านช่องสะงำ ประณามการกระทำไร้มนุษยธรรม

เดลินิวส์

คำสั่งแม่ทัพภาค 2 ยกระดับปิดด่านชายแดนไทยกัมพูชา ห้ามรถ-คน เข้าออก ค้าขาย

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ศาลสหประชาชาติ ชี้ ความล้มเหลวปกป้องโลกร้อน อาจละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

JS100
วิดีโอ

ไทยภักดีจี้แหลก! ระบบข้าวเน่า–ฝ่ายค้านไร้ค่า–ผู้นำขายชาติต้องจบ!

BRIGHTTV.CO.TH

ข่าวและบทความยอดนิยม

สภาฯ เห็นชอบ ‘พ.ร.บ. กอช. (หวยเกษียณ)’ วาระ 2-3 ส่งวุฒิสภาถก 30 วัน ขายงวดแรกไตรมาส 4

THE STANDARD

กมธ.งบ 69 มติเอกฉันท์ปรับลดงบประมาณสภา 178 ล้าน หวั่นผิดมาตรา 144 หลังศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องรองประธานสภา

THE STANDARD

ย้อนรอยเส้นทางประชาธิปไตย ‘เกาหลีใต้’ จากรัฐประหารเผด็จการ สู่อำนาจในมือประชาชน

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...