โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ศาลในเครื่องแบบ ภาพสะท้อนคดี ‘น้องเมย’

THE STANDARD

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
ศาลในเครื่องแบบ ภาพสะท้อนคดี ‘น้องเมย’

การจากไปของ ภคพงศ์ ตัญกาญจน์ หรือ ‘น้องเมย’ นักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 จากเหตุการณ์ธำรงวินัยโดยรุ่นพี่ทหาร 2 นาย ยังคงเป็นบาดแผลและคำถามใหญ่ในสังคมไทยถึงความยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบทบาทของศาลทหาร ที่ถูกตั้งข้อสังเกตจากสังคม ถึงผลลัพธ์ของคำพิพากษา

หลังการต่อสู้ยาวนานกว่า 8 ปี นับแต่เกิดเรื่องและดำเนินมาจนถึงชั้นฎีกาของศาลทหาร ล่าสุดมีคำพิพากษาในชั้นฎีกาให้จำคุกจำเลย 4 เดือน 16 วัน ปรับ 15,000 บาท และให้รอลงอาญา 2 ปี

คำพิพากษาดังกล่าวสร้างความเจ็บปวด ประหนึ่งการซ้ำเติมให้กับครอบครัวผู้สูญเสีย

ขณะเดียวกันยังจุดกระแสคำถามจากสาธารณชนอีกครั้งว่า ประชาชนจะสามารถคาดหวังความยุติธรรมได้หรือไม่อย่างไร เมื่อผู้เสียชีวิตไม่มีโอกาสได้แก้ต่าง แต่ผู้กระทำผิดกลับมีโอกาสได้ใช้ชีวิตในเครื่องแบบต่อไป

โครงสร้างศาลทหาร ภายใต้เครื่องแบบ

ศาลทหารมีระบบการพิจารณาคดีที่แตกต่างจากศาลยุติธรรมทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในประเด็นองค์คณะตุลาการ ซึ่งส่วนใหญ่ขาดพื้นฐานความรู้ทางกฎหมาย เพราะบางส่วนไม่ต้องจบด้านนิติศาสตร์ หรือจบเนติบัณฑิตไทย แต่อย่างใด

ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร องค์ประกอบของคณะตุลาการในแต่ละชั้นศาลมีดังนี้

ศาลทหารชั้นต้นตุลาการ 3 นาย ประกอบด้วย นายทหารสัญญาบัตร 2 นาย และตุลาการพระธรรมนูญ 1 นาย

ศาลทหารกลางตุลาการ 5 นาย ประกอบด้วย นายทหารชั้นนายพล 1-2 นาย, นายทหารชั้นนายพัน นายนาวา หรือนายนาวาอากาศขึ้นไป 1-2 นาย และตุลาการพระธรรมนูญ 2 นาย

ศาลทหารสูงสุดตุลาการ 5 นาย ประกอบด้วย นายทหารชั้นนายพล 2 นาย และตุลาการพระธรรมนูญ 3 นาย

จากองค์ประกอบดังกล่าว มีเพียง ‘ตุลาการพระธรรมนูญ’ เท่านั้นที่สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์ ส่วนที่เหลือคือนายทหารทั่วไปที่อาจไม่มีความรู้ด้านกฎหมายเพียงพอ

ขณะที่นายทหารที่มิใช่ ‘ตุลาการพระธรรมนูญ’ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานทางกฎหมายโดยตรง และอาจไม่ได้รับการฝึกอบรมทางกฎหมายแบบเดียวกับผู้พิพากษาศาลยุติธรรม

จุดนี้เป็น ข้อวิจารณ์หลักจากนักกฎหมายและนักสิทธิมนุษยชน ว่า ศาลทหารอาจ ขาดความเป็นอิสระ และ ความเที่ยงธรรม โดยเฉพาะในกรณีที่พลเรือนถูกนำขึ้นพิจารณาคดีในศาลทหาร (เช่น ในช่วงประกาศกฎอัยการศึกหรือภาวะฉุกเฉิน) แถมยังมีระบบบังคับบัญชากำกับอยู่ด้วย

คดีดังในศาลทหาร บทเรียนแห่งความผิดหวัง

คดีของน้องเมยไม่ใช่กรณีแรกที่สังคมตั้งคำถามถึงการทำหน้าที่ของศาลทหาร แต่ยังมีอีกหลายคดีที่ผลคำพิพากษาได้สร้างความผิดหวังให้กับสาธารณชน

คดีพลทหารวิเชียร เผือกสม (ปี 2554) เสียชีวิตจากการถูกเจ้าหน้าที่ทหาร 9 นาย รุมซ้อมทรมานที่ค่ายทหารปิเหล็ง จังหวัดนราธิวาส คดีนี้ใช้เวลานานถึง 12 ปี กว่าจะมีคำพิพากษา

คดีหมวดแบงค์ (ปี 2559) ทำร้ายอดีตภรรยาจนร่างกายบาดเจ็บสาหัส ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนาน 3 เดือน ศาลทหารพิพากษาว่าไม่มีเจตนาฆ่า แต่เป็นการทำร้ายร่างกายโดยบันดาลโทสะ ให้จำคุกเพียง 1 ปี 6 เดือน ปรับ 12,500 บาท และรอลงอาญา 2 ปี

คดีพลทหารเมธิน (ปี 2565) ถูกกล่าวหาว่าพาดพิงสถาบันฯ ในคดี ม.112 และถูกธำรงวินัยร่วมเดือน ก่อนที่ศาลทหารจะพิพากษาจำคุก 5 ปี

ความแตกต่างของศาลที่บาดใจ

กรณีการเสียชีวิตของพลทหารวรปรัชญ์ พัดมาสกุล ที่ค่ายนวมินทร์ จังหวัดชลบุรี ซึ่งถูกซ้อมโดยครูฝึกและรุ่นพี่ ถูกพิจารณาโดย ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ผลคือจำเลยทั้ง 13 คน ถูกพิพากษาว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 โดยจำเลยที่ 1 ถูกจำคุก 20 ปี, จำเลยที่ 2 จำคุก 15 ปี, และจำเลยที่ 3-13 จำคุก 10 ปี

เมื่อเปรียบเทียบคำพิพากษาของศาลทหารกับศาลอาญาคดีทุจริตฯ คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ประชาชนจะตั้งคำถามถึงความเที่ยงธรรมและความโปร่งใสในกระบวนการยุติธรรมของศาลทหาร ว่าบทลงโทษในแต่ละคดีมีความถูกต้องและเหมาะสมกับความรุนแรงของอาชญากรรมจริงหรือไม่

เสียงจากสังคม ความผิดหวังและการเรียกร้องปฏิรูปศาลทหาร

พล.ต.นพ. เหรียญทอง แน่นหนา ผอ.รพ.มงกุฎวัฒนะ แสดงความรู้สึกสลดใจต่อกรณีของน้องเมย และเคยคาดหวังว่าความยุติธรรมจะมีอยู่จริงในสังคม โดยเฉพาะสังคมทหารที่มีระบบเกียรติศักดิ์และความเด็ดขาด แต่เมื่อคำพิพากษาของศาลทหารออกมา กลับทำให้รู้สึกผิดหวัง และได้ให้กำลังใจพ่อแม่ของน้องเมยที่ทำหน้าที่เรียกร้องความยุติธรรมให้กับลูกที่จากไปอย่างไม่ได้รับความเป็นธรรม

ด้านวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ จากพรรคประชาชน ชี้ว่าการทำร้ายกันในค่ายทหารหลายกรณีไม่ใช่การธำรงวินัยอย่างที่เคยถูกกล่าวอ้าง แต่เกิดจากนายทหารบางนายที่ไม่ยอมสยบยอมต่อกระบวนการทุจริตหรือการประพฤติมิชอบของทหารระดับผู้บังคับบัญชา เมื่อฝืนระบบก็จะถูกกลั่นแกล้งจนถึงแก่ชีวิตหรือบาดเจ็บ ซึ่งเข้าข่ายการกระทำความผิดฐานทารุณกรรมและซ้อมทรมาน

วิโรจน์ ย้ำว่าศาลทหารเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ลักลั่น และเป็นวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด พร้อมยืนยันว่าควรมีการปฏิรูปกองทัพ แก้ไข พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498, พ.ร.บ. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 โดยแก้ไขให้ทหารที่กระทำทุจริตในทุกกรณี ขึ้นศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

นอกจากนี้ วิโรจน์ยังเสนอให้รัฐบาลลงนามและให้สัตยาบันในพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (OPCAT) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่มุ่งป้องกันการทรมานและการปฏิบัติ การลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี โดยจะทำให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสามารถสุ่มตรวจค่ายทหารได้โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า และสามารถดำเนินมาตรการป้องปรามได้อย่างทันท่วงที

กรณีของน้องเมยจึงเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนของความบิดเบี้ยวในระบบยุติธรรมที่ยังคงดำรงอยู่ในโครงสร้างอำนาจเก่า ซึ่งถึงเวลาแล้วที่ต้องได้รับการแก้ไข เพื่อสร้างความยุติธรรมที่ไม่เลือกปฏิบัติตามเครื่องแบบให้กับทุกคนในสังคม

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

สว. อังคณา ส่งหนังสือลาออกจาก กมธ.พัฒนาการเมือง ทิ้งเก้าอี้ประธาน

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กระทรวงการต่างประเทศเชิญทูตต่างประเทศชี้แจงปมชายแดนไทย-กัมพูชา ย้ำทุ่นระเบิดเป็นของกัมพูชา ละเมิดอธิปไตยไทย

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

วันนี้ทั่วไทยยังเจอฝนฟ้าคะนอง 60-70% ส่วนภาคใต้เจอ 20%

ไทยโพสต์

สลด! ตาวัย 73 ปี ถูกลั่นไกดับคาบ้านพัก คาดคนร้ายเป็นคนใกล้ตัว

มุมข่าว

สภาพอากาศวันนี้ เตือน 4 จังหวัดเหนือ-ตะวันตก เสี่ยงน้ำท่วม

Thai PBS

‘เครื่องปูถนนไร้คนขับ’ ลุยงานสร้างสะพานในอู่ฮั่น

Xinhua

วิกฤติ! น้ำทะลักเข้าท่วมรพ.น่าน เร่งเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักไปพื้นที่ปลอดภัย

เดลินิวส์

พนังกั้นน้ำล้ม! มวลน้ำทะลักเข้า รพ.น่าน เจ้าหน้าที่เร่งเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

มุมข่าว

สื่อนอกเริ่มจับตา!ไทยไล่ทูตกัมพูชา-เรียกทูตกลับ เขมรยังตีมึนอ้างฝ่ายตนเองคือ'เหยื่อ'

Manager Online

โลกร้อนคุกคาม "กล้วย กาแฟ โกโก้" อาหารหลักคนหลายร้อยล้าน

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ถอดบทเรียน ‘นิรโทษกรรม’ ฟิลิปปินส์ เมื่อความผิดถูกลบล้าง เผด็จการไม่ได้รับโทษ

THE STANDARD

ผบ.ตร. ต้องการพบครอบครัว ‘น้องเมย’ เพื่อชี้แจงปมคู่กรณีรับราชการตำรวจ ยืนยันจะให้จเรตำรวจพิจารณาทางวินัยอย่างรอบคอบ

THE STANDARD

“ผิดใจให้เปิดกฎ ผิดกฎให้เปิดใจ” คำพิพากษาคดี ‘เมย ภคพงษ์’ ตอกย้ำวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดในกองทัพ

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...