โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

สบส. MOU สภากาชาดไทย ร่วมปฏิบัติการลดอุบัติการณ์การเกิดเบาหวาน

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

9 กรกฎาคม 2568 ดร.นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) พร้อมด้วย นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ ประธานอนุกรรมการฯ ขับเคลื่อนการรณรงค์ลดอุบัติการณ์เบาหวานในผู้มีน้ำหนักเกินและผู้ที่เคยติดโควิด สภากาชาดไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การบูรณาการการขับเคลื่อนการรณรงค์ลดอุบัติการณ์เบาหวานในผู้มีน้ำหนักเกินและผู้ที่เคยติดโควิด กับการขับเคลื่อนกิจกรรม อสม. ชวนคนไทยนับคาร์บและการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) "NCDs ดีได้ด้วยกลไก อสม." ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สยามสแควร์

ดร.นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ในประเทศไทยและทั่วโลกว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน กรม สบส. จึงร่วมกับสภากาชาดไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในวันนี้ขึ้นโดยทั้ง 2 ฝ่าย มีเป้าหมายร่วมกันในการลดการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและผู้ที่เคยติดโรคโควิด โดยบูรณาการกิจกรรมออกกำลังกายป้องกันภาวะดื้ออินซูลินด้วยแอปพลิเคชันเมต้ารีเวิร์ส กับ กิจกรรม อสม.ชวนคนไทยนับคาร์บและการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

กรม สบส. จะสนับสนุนให้ อสม. ร่วมลงพื้นที่ชุมชน ชักชวนประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน 23 หรือเคยติดโรคโควิดร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย และบันทึกผลการออกกำลังกายในแอปพลิชันสมาร์ท อสม. และเมต้ารีเวิร์ส อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์เป็นเวลาอย่างน้อย 12 สัปดาห์ ควบคู่กับกิจกรรม อสม. ชวนคนไทยนับคาร์บ และการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนบูรณาการจัดกิจกรรมออกกำลังกายป้องกันภาวะดื้ออินซูลินในคนไทยอย่างยั่งยืน

ด้าน ดร.นายแพทย์อดิสรณ์ วรรธนะศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) เป็นภาวะที่เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดี อาจด้วยกรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอดมาในครอบครัว หรือปัจจัยเสี่ยงจากความอ้วน การมีไขมันสะสมที่หน้าท้อง การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งทำให้ระดับความดื้อต่ออินซูลินเพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

การป้องกันมิให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินนั้น สามารถทำได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม อาทิ การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอเฉลี่ยอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือการรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ซัมซุง อวดโฉม Galaxy Z Flip7 สมาร์ทโฟนจอพับ FlexWindow แบบไร้ขอบ

52 นาทีที่แล้ว

ซัมซุง เปิด Galaxy Z Fold7 สมาร์ทโฟนจอพับบางเบาสุดในประวัติศาสตร์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"ทักษิณ" อ่านการเมือง ยังไม่ถึงทางตัน มั่นใจ "อุ๊งอิ๊งค์" รอดคดีคลิปเสียง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ทักษิณ” วางเป้ากู้เศรษฐกิจ บี้ตั้ง AMC แก้หนี้ประชาชน ดันศก.ใต้ดิน

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ

23 cases of new COVID sub-variant recorded in since April

Thai PBS World

จับตาโควิดสายพันธุ์ XFG แพร่เร็ว หลบภูมิคุ้มได้ดี

TNN ช่อง16

จับตาโควิดสายพันธุ์ XFG แพร่เร็ว หลบภูมิคุ้มได้ดี

TNN ช่อง16

สมศักดิ์ ประกาศ 5 แนวทาง ผลักดันไทยสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล

ฐานเศรษฐกิจ

วิจัยชี้ "ออกกำลังกาย" ช่วยผู้ป่วย "มะเร็งลำไส้ใหญ่" ไม่กลับเป็นซ้ำถึง 90%

TNN ช่อง16

อย. ผนึกกำลัง ปคบ. ทลายโรงงานผลิตน้ำหวานผสมกระท่อมรายใหญ่ มูลค่ากว่า 2 แสนบาท

TNN ช่อง16

ฮิวแมนิก้า ชูแนวคิดผสาน 'คน' กับ 'เทคโนโลยี' ปรับ HR สู่ทีมกลยุทธ์

กรุงเทพธุรกิจ

เฝ้าระวัง "ไข้หวัดนกกัมพูชา" สายพันธุ์รุนแรง ย้ำ! ไทยเสี่ยงระดับต่ำ

PPTV HD 36

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...