“เงินช่วยเหลือเกษตรกร” ชาวสวนลำไย จ่อชง ครม. ไร่ละ 1,400 บาทไม่เกิน 10 ไร่
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2568 นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) มีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาสวนลำไยคุณภาพตัดแต่งทรงพุ่ม/ช่อผล ฟื้นฟูสวนลำไย เพื่อเพิ่มรายได้ โดยสนับสนุนค่าตัดแต่งทรงพุ่ม กิ่ง - ช่อผล ปัจจัยการผลิต อัตราไร่ละ 1,400 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ต่อครัวเรือน กรอบวงเงิน 1 พันล้านบาท พื้นที่ประมาณ 6 แสนไร่ ขึ้นทะเบียนกรมส่งเสริมการเกษตร ประมาณ 120,000 คน โดยมีเงื่อนไขตามที่โครงการกำหนด
กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเงื่อนไขผู้มีสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนการตัดแต่งทรงพุ่ม ตัดแต่งกิ่ง ช่อดอกไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ต่อราย และค่าปัจจัยการผลิต วัสดุการเกษตร ไร่ละ 400 บาท ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
1. ดำเนินการตัดแต่งต้น ทรงพุ่ม กิ่ง ใบ ดอก เพื่อฟื้นฟูกระบวนการเจริญเติบโต ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
2. เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมในหลักสูตร e Learning "เกษตรกรลำไยมืออาชีพ"
3. และหรือจัดทำบัญชีฟาร์ม ตามแบบฟอร์มที่กรมที่กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนด
4. และหรือเข้าร่วมระบบ Grading และ Traceability ผ่านศูนย์เรียนรู้/กลุ่ม/สถาบันเกษตรกร
ข้อ 5 วิธีการตรวจสอบและรับรองผลการดำเนินการ
1. เกษตรกรยื่นแบบแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการ พร้อมระบุแปลงดำเนินการรายแปลง
2. เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ ตรวจสอบแปลงจริง บันทึกลงระบบรายแปลง Geolocation พร้อมภาพถ่ายก่อน-หลังการดำเนินการ
3. พิจารณาจ่ายเงินสนับสนุน เป็น 2 งวด
- งวดที่ 1: ร้อยละ 70 ของวงเงิน หลังผ่านการตรวจสอบขั้นต้นจากเจ้าหน้าที่ภาคสนาม และ eLearning Post Test ผ่านเกณฑ์
- งวดที่ 2: ร้อยละ 30 หลังการตรวจสอบผลการปฏิบัติ (ตัดแต่งต้น ทรงพุ่ม กิ่ง ใบ ดอก) และการดำเนินกิจกรรมตามเงื่อนไข
4. คณะกรรมการระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบย้อนหลังอย่างน้อยร้อยละ 10 ของผู้รับการสนับสนุน
5. แนวทางตรวจสอบและกำกับติดตามสามารถใช้หลายชั้น ดังนี้:
- 1. A. เงื่อนไขแนบสัญญา + Digital Verifion
1. เกษตรกร ลงนามในข้อตกลงรับเงินแบบมีเงื่อนไข (Conditional Grant Agreement)
2. ระบุ: ขนาดพื้นที่, กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ (เปลี่ยนพันธุ์, ตัดแต่ง, thing ฯ ลฯ)
3. มีการ Geo-tag พื้นที่แปลง ที่จะดำเนินการ
4. ภาพถ่ายก่อน-หลัง, รายงานเจ้าหน้าที่ระดับตำบล และ แผนการปฏิบัฏิบัติงานรายแปลง
- 2. B. สุ่มตรวจแบบมีระบบ
1. ใช้ Sampling inspection 10-15% ของจำนวนแปลง
2. ผสานใช้ แอปเกษตรดิจิทัล หรือ ระบบตรวจติดตามกลาง(Monitoring Dashboard) เพื่อจัดการฐานข้อมูลและแจ้งเตือน
ข้อ 6 การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
หากพบว่าเกษตรกรจงใจให้ข้อมูลเท็จ ไม่ดำเนินการตามแผน หรือฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนด ให้ดำเนินการดังนี้:
- ต้องคืนเงินภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง
- ถูกตัดสิทธิ์จากโครงการในปีถัดไป หากพบเจตนาแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ให้นำเสนอพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมาย
ข้อ 7 หน่วยงานรับผิดชอบและการติดตามประเมินผล
- หน่วยงานหลัก: สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ
- รายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ รายไตรมาส
- สรุปผลการดำเนินงานส่งกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อรายงานผู้บริหารระดับกระทรวง