โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เสวนาระดับชาติ ชูแนวทางปรับกฎหมาย IP กฎหมายลิขสิทธิ์ รับมือเศรษฐกิจดิจิทัล

สยามรัฐ

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) โดยคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ ได้ผนึกกำลังกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ จัดงานเสวนาวิชาการและการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 ภายใต้หัวข้อ "Empowerment in Business: Unlocking Intellectual Property Law for Success in the Digital Age" เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2568 ณ ห้องประชุม ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ อนุสรณ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเวทีให้นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านกฎหมายและสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง

นอกจากนี้ยังมุ่งส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ วิทยานิพนธ์ และงานค้นคว้าอิสระของคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐานผลงานและสนับสนุนการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยกับสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โดยงานประชุมวิชาการเปิดรับการนำเสนอผลงานในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา, กฎหมายเอกชนและธุรกิจ, กฎหมายมหาชน รวมถึงบทความกฎหมายและสังคมศาสตร์อื่นๆ

อาจารย์ ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ได้กล่าวต้อนรับพร้อมเปิดปฐมบทของงาน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในบริบทของนวัตกรรมและซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในยุคดิจิทัล นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างรวดเร็ว อาทิ แพลตฟอร์มออนไลน์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และบล็อกเชน ก่อให้เกิดความท้าทายในการปรับกฎหมายให้สอดรับกับพลวัตทางธุรกิจสมัยใหม่

อย่างไรก็ตาม การพัฒนากฎหมายยังต้องใช้เวลานาน ทำให้เกิดความท้าทายในการปรับกฎหมายให้สอดรับกับพลวัตทางธุรกิจและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดร.สุทธิพล ย้ำว่า ธุรกิจและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก ดังนั้นการจัดเสวนาวิชาการในครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสสำคัญในการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมระดมสมองเพื่อหาแนวทางในการพัฒนากฎหมายให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง พร้อมผลักดันให้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามีส่วนช่วยส่งเสริมนวัตกรรม การสร้างสรรค์ และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้น

ด้าน นางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษถึงความสำคัญของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในฐานะกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และนวัตกรรมของประเทศในยุคดิจิทัล โดยระบุว่า ทรัพย์สินทางปัญญามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความแตกต่างและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายตลาดให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะเมื่อเทคโนโลยีทำให้การสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความท้าทายใหม่ในการปกป้องสิทธิและป้องกันการละเมิด

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังให้มุมมองว่า ทรัพย์สินทางปัญญาไม่ใช่เรื่องของนักกฎหมายหรือเจ้าของสิทธิ์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของทุกคน และเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจจำเป็นต้องรู้ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน พร้อมทั้งยกตัวอย่างทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ ที่กฎหมายคุ้มครอง เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ความลับทางการค้า และการคุ้มครองพันธุ์พืช โดยแต่ละประเภทมีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญายังระบุถึงความท้าทายในการบังคับใช้กฎหมายและการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ยังคงเผชิญกับความล่าช้าและความซับซ้อน โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญากำลังเร่งแก้ไขและพัฒนากฎหมายสำคัญหลายฉบับ อาทิ การปรับปรุงกฎหมายสิทธิบัตร การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว และความคล่องตัวในการให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้สร้างสรรค์และนักประดิษฐ์

“ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI สร้างทั้งโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางบนแพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิ การละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ซอฟต์แวร์ หรือเกม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนากฎหมายและมาตรการบังคับใช้ให้ทันสมัย และส่งเสริมให้เจ้าของสิทธิได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริง” อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญากล่าว

สำหรับช่วงการเสวนาเป็นการหยิบยกกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ในส่วนของกฎหมายลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีการแก้ไข ปรับปรุง ถึงสามครั้งในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ดำเนินรายการโดยอาจารย์ ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ ซึ่งได้เปิดประเด็นด้วยการตั้งคำถามว่า ในโลกที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กฎหมายลิขสิทธิ์จะสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ๆ ได้อย่างไร? คำถามนี้กลายเป็นแกนกลางของการอภิปรายที่ตามมา โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคส่วนร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองอย่างรอบด้าน ได้แก่ คุณทักษอร สมบูรณ์ทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา, คุณสืบสิริ ทวีผล นายกสมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย และ ดร.วรวงศ์ อัจฉราวงศ์ชัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

คุณทักษอร สมบูรณ์ทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้สะท้อนมุมมองจากภาครัฐ โดยชี้ให้เห็นว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลมีความซับซ้อนและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ข้อมูลสามารถถูกคัดลอกและเผยแพร่ได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที นอกจากนี้ การบังคับใช้กฎหมายในบริบทใหม่นี้จำเป็นต้องอาศัยกลไกที่ทันสมัย เช่น ระบบตรวจจับอัตโนมัติ การใช้เทคโนโลยี AI และความร่วมมือกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม เพื่อให้สามารถปกป้องสิทธิของเจ้าของผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“การบังคับใช้กฎหมาย IP ในยุคดิจิทัลต้องอาศัยกลไกที่ทันสมัยและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่การละเมิดลิขสิทธิ์สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและข้ามพรมแดน” คุณทักษอร ย้ำ

ขณะเดียวกัน คุณสืบสิริ ทวีผล นายกสมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย ได้เสนอมุมมองจากภาคธุรกิจว่า ธุรกิจควรเปลี่ยนมุมมองต่อทรัพย์สินทางปัญญาจาก “ภาระทางกฎหมาย” ให้กลายเป็น “ทรัพย์สินเชิงกลยุทธ์” ซึ่งสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่สามารถใช้ IP ในการสร้างแบรนด์ ขยายตลาด และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสืบสิริ ยังกล่าวอีกว่า “ภาคธุรกิจควรตระหนักว่า IP ไม่ใช่แค่เรื่องกฎหมาย แต่คือกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน”

ในส่วนของอำนาจตุลาการ ดร.วรวงศ์ อัจฉราวงศ์ชัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ได้กล่าวถึงบทบาทของศาลในการตีความกฎหมายให้ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น AI, NFT และ Blockchain ซึ่งยังไม่มีบรรทัดฐานทางกฎหมายที่ชัดเจน โดยระบุว่า ศาลต้องเผชิญกับคดีที่ยังไม่มีบรรทัดฐานทางกฎหมายที่ชัดเจน เช่น การสร้างผลงานโดย AI หรือการนำผลงานของผู้อื่นไปแปลงเป็น NFT โดยไม่ได้รับอนุญาต

ดร.วรวงศ์ ยังเสนอให้มีการเสริมความรู้ผู้พิพากษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถพิจารณาคดีได้อย่างรอบด้านและเป็นธรรม และยังได้เน้นย้ำว่ากฎหมายไม่สามารถถูกกำหนดให้ตายตัวเพื่อรองรับอนาคตได้ ศาลจึงจำเป็นต้องใช้ดุลพินิจเพื่อสร้างความยุติธรรมตามบริบทของแต่ละคดี โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

“กฎหมายไม่สามารถถูกกำหนดตายตัวได้ว่าจะเลือกข้างใดข้างหนึ่ง กฎหมายควรอยู่ตรงกลางและสมดุล ฉะนั้นเราจึงต้องให้เครื่องมือแก่ผู้พิพากษาในการใช้ดุลพินิจเพื่อตอบโจทย์ได้อย่างเหมาะสม” ดร.วรวงศ์ กล่าว

สำหรับ “การพัฒนากฎหมายและความร่วมมือเชิงระบบ” ผู้ร่วมเสวนาทุกท่านเห็นพ้องว่า การยกระดับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยต้องดำเนินควบคู่กับการสร้างความเข้าใจในสังคม และการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ นอกจากนี้ทุกภาคส่วนยังต้องร่วมกันผลักดันและการแก้ไขกฎหมายให้มีความยืดหยุ่นและครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรา 32 ว่าด้วยข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ (Fair Use) ซึ่งหากตีความในลักษณะเปิด จะช่วยให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจได้เหมาะสมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และส่งเสริมให้กฎหมายกลายเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว

ดร.สุทธิพล กล่าวสรุปในช่วงท้ายของการเสวนาว่า งานในครั้งนี้ไม่เพียงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เชิงลึก แต่ยังสะท้อนถึงความจำเป็นในการพัฒนากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ให้เท่าทันกับพลวัตของเทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ

“กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ควรเป็นเพียงเครื่องมือในการคุ้มครองสิทธิ แต่ต้องเป็นพลังในการส่งเสริมนวัตกรรม และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ” ดร.สุทธิพล กล่าวทิ้งท้าย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

"นฤมล" รับ "พรรคกล้าธรรม" ส่งคนลงชิงรองประธานสภาฯ คนที่ 2

24 นาทีที่แล้ว

กสทช. บุกจับวิทยุสื่อสารเถื่อนกว่า 2 หมื่นเครื่อง มูลค่ากว่า 20 ล้าน

26 นาทีที่แล้ว

ชาวเน็ตใส่ใจ! ดราม่าอินฟลูฯดัง “เลิ่กลั่ก” ถูกหวย จริงหรือคอนเทนต์

34 นาทีที่แล้ว

"นอท ลอตเตอรี่พลัส" งัดหลักฐาน จบดราม่า "เลิ่กลั่ก" ถูกรางวัล 11.59 ล้าน

39 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

มทภ.2 ขอบคุณคนไทยมาเที่ยวชม 3 ปราสาท จ.สุรินทร์

สำนักข่าวไทย Online

โอกาสมาแล้ว! กทม. เปิดรับ "ครูผู้ช่วย" 150 อัตรา

สยามรัฐ

"หมูเด้ง" ฮิปโปแคระขวัญใจมหาชน ฉลอง 1 ขวบ สวนสัตว์เขาเขียวจัดใหญ่ เด็กเข้าฟรี 4 วันรวด!

Manager Online

“บิ๊กโจ๊ก” ลุยร้องตุลาการปกครอง เอนเอียง ไม่เป็นธรรม ปมให้ออกราชการ

PPTV HD 36

ตีปีก! ทรัมป์คุยบรรลุข้อตกลงภาษีกับ‘เวียดนาม’ ด้านจีนประกาศต้าน‘ดีลที่จ้องทำลายชาติอื่น’

Manager Online

ผู้บริหารกทม.ร่วมเล่นเกมส์ กระโดดเชือก ‘โกโกวา-ชอลซู’ ลานคนเมือง

เดลินิวส์

ผู้ตรวจฯ กระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่นครปฐม ติดตาม '5 เสือแรงงาน

Manager Online

"กงสุลใหญ่ฟูกูโอกะ" เตือนหลังหมู่เกาะโทคาระ "แผ่นดินไหว" มากกว่า 1 พันครั้ง

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...