ห่วง!!ร่างแผนแม่บทฯลดโลกร้อนอาจนำไปสู่ “ฟอกเขียว”
Thai Climate Justice for All (TCJA) หน่วยงานทำงานด้านความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศได้จัดทำ จดหมายเปิดผนึก เรื่อง ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ….ส่งถึงอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2568 กังวลต่อแนวคิดเนื้อหาและกระบวนการจัดทำร่างฯดังกล่าว ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทางประเทศต่อหนึ่งในวิกฤติใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ จากการพิจารณาเนื้อหาอย่างรอบด้าน จึงได้นำขอเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อให้แผนแม่บทฉบับนี้สามารถตอบโจทย์ต่อสถานการณ์จริงของโลกและประเทศไทยอย่างเป็นธรรม ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ดังนี้
1. ปัญหาเชิงโครงสร้าง โลกทัศน์ ความไม่เป็นธรรม และการขาดการมีส่วนร่วม
แนวคิดเรื่อง “การมีส่วนร่วม” ที่ปรากฏในแผนฯ ยังจำกัดเพียงการกระจายผลประโยชน์ โดยไม่ได้กล่าวถึง ภาระความรับผิดชอบที่แตกต่าง (Common But Differentiated Responsibilities) ระหว่างผู้ก่อวิกฤติ (เช่น อุตสาหกรรมพลังงานรายใหญ่) กับผู้ได้รับผลกระทบ (เช่น ชาวบ้าน ชุมชนเปราะบาง คนยากจน)
สิทธิชนพื้นเมือง สิทธิชุมชน และสิทธิประชาชนในสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ได้ถูกยกเป็นหัวใจของแผน ทั้งที่เป็นหลักสากลของความตกลงปารีสและข้อตกลงคุนหมิง-มอนทรีออลด้านความหลากลายทางชีวภาพ และหลักรัฐธรรมนูญไทย
กระบวนการจัดทำแผนแม้อ้างใช้เครื่องมือ PESTEL แต่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น ผู้หญิง เยาวชน ชนเผ่าพื้นเมือง ชุมชนในระบบนิเวศต่าง ๆ เกษตรกรรายย่อย คนยากจน ซึ่งพวกเขาแม้จะได้รับผลกระทบสูง แต่ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการปกป้อง ฟื้นฟูนิเวศเพื่อสร้างสมดุลระบบนิเวศและภูมิอากาศ
2. การวิเคราะห์สถานการณ์: ไม่สอดคล้องต่อข้อเท็จจริง ละเลยรากปัญหา
การกล่าวว่าประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 0.91% ของโลก เป็นการลดทอนบทบาทความรับผิดชอบของไทยในเชิงต่อหัวประชากรและการปล่อยต่อ GDPประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นถึง 53% ในช่วงปี 2000–2022 โดยภาคพลังงานเพิ่มขึ้นถึง 65% แต่แผนกลับไม่วางเป้าหมายเลิกฟอสซิลอย่างจริงจังให้สอดคล้องกับข้อเสนอ IPCC ที่เสนอให้ลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 43 % ภายในปี 2030
การวิเคราะห์การปล่อยในภาคเกษตรและของเสียยัง ไม่ชี้ชัดถึงต้นตอปัญหาเชิงระบบ เช่น ระบบอุตสาหกรรมอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ การขยายเมือง และการจัดการขยะภาคอุตสาหกรรม
- ร่างแผนฯ ไม่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมสภาพภูมิอากาศร่างแผนไม่ได้อ้างอิง หลักการสำคัญของความตกลงปารีส มาตรา 6.8 ว่าด้วย การลดการปล่อยนอกกลไกตลาด และ หลักสิทธิในสภาพภูมิอากาศ
แผน NDC และ LT-LEDS ของไทยยังอิงกับเป้าหมายที่คลุมเครือและมีเงื่อนไข โดยไม่มีรายละเอียดของการเปลี่ยนผ่านพลังงานและระบบอาหารที่เป็นธรรมและยั่งยืน
แผนการปรับตัวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (NAP) ยังไม่แยกแยะกลุ่มเปราะบางตามหลัก “climate justice” และยังไม่ตอบโจทย์ การส่งเสริมศักยภาพการปรับตัวของชุมชน บนฐานสิทธิและวัฒนธรรมท้องถิ่น
4. กลไกการเงินและตลาดคาร์บอน: เครื่องมือที่ไม่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและนำไปสู่การฟอกเขียว การออกแบบกลไกการเงิน มุ่งเน้นเอื้อภาคเอกชนผ่านกลไกตลาดคาร์บอน เช่น คาร์บอนเครดิต โดยไม่มีระบบป้องกันการฟอกเขียวและสร้างความรับผิดชอบ และยังไม่เปิดโอกาสให้ชุมชนหรือกลุ่มเปราะบางเข้าถึงกองทุนและการสนับสนุนด้านต่างๆได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
โครงการที่เข้าถึงกองทุนสีเขียวระดับโลก (GCF) กลับ กระจุกอยู่ในหน่วยงานรัฐหรือองค์กรระหว่างประเทศ ไม่ใช่ชุมชน ประชาชน คนยากจนที่กำลังเผชิญกับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ควรเป็นเครื่องมือประชาธิปไตยกลับ รวมศูนย์อำนาจ ส่งเสริมตลาดคาร์บอนที่เสี่ยงฟอกเขียว และละเลยสิทธิชุมชน และไม่ได้ร่างโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
5. ข้อเสนอเชิงนโยบายและปรับปรุงร่างแผนแม่บท
5.1 จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นร่างแผนแม่บทฯ เสียใหม่ เพราะการจัดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผน
แม่บทฯ ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2568 และร่างพรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ…..เป็นกระบวนการที่ไม่ชอบธรรม เพราะทั้งกรอบเวลาและเนื้อหาการรับฟังที่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
5.2 เปลี่ยนกรอบคิดหลักจาก “การเติบโตอย่างยั่งยืน” สู่ “การลดการเติบโตบางภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นหลักและกระทบต่อระบบนิเวศและชุมชน โดยเปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจ สังคมให้สอดคล้องกับความสามารถของระบบนิเวศและวิถีชุมชน” จาก “คาร์บอนต่ำ” สู่ “สิทธิในสภาพภูมิอากาศที่ดี ความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ เปลี่ยนผ่านสังคมให้เกื้อกูลกับระบบนิเวศธรรมชาติ”
5.3 ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ เศรษฐกิจ สังคมเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมและยั่งยืนกระจายอำนาจการตัดสินใจให้ชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคมมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรอย่างเท่าเทียม และมีสิทธิในการจัดการสภาพภูมิอากาศในวิถีนิเวศวัฒนธรรมยกเลิกโครงการที่ส่งเสริมเชื้อเพลิงฟอสซิล และสนับสนุน พลังงานหมุนเวียนที่ประชาชนเป็นเจ้าของ แทนพลังงานขนาดใหญ่เปลี่ยนผ่านการเกษตรพาณิชย์ อุตสาหกรรมอาหารบนฐานโปรตีนสัตว์ ไปสู่เกษตรนิเวศ และระบบอาหารบนฐานโปรตีนจากพืชท้องถิ่น
5.4 สร้าง Climate Justice Education
บรรจุการเรียนรู้เรื่องวิกฤติภูมิอากาศผ่านมุมมองความเป็นธรรมลงสู่ระบบการศึกษาทุกระดับให้ชุมชนท้องถิ่น เยาวชน และกลุ่มเปราะบางมีบทบาทนำในการพัฒนาเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้
5.4 ยอมรับสิทธิชุมชนและชนพื้นเมืองในการจัดการทรัพยากรเคารพสิทธิในการใช้ที่ดิน ป่าไม้ ทะเล และแม่น้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพของชนเผ่าพื้นเมือง และชุมชนท้องถิ่น