โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

น่าห่วงเด็กไทย เสี่ยงภัยไซเบอร์พุ่ง ถูกคุกคามโดนกลั่นแกล้งออนไลน์

สยามรัฐ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เด็ก-เยาวชนทั่วโลก 70% เผชิญความเสี่ยงทางไซเบอร์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เด็กไทยหนักสุด 41% ถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์สูงกว่าชาติอื่น สสส. สานพลัง สสดย.-สช. เดินหน้าสร้างสังคมสื่อสุขภาวะ จัดงาน “MIDL Awards 2025” ต่อเนื่องปี 2 ประกาศยกย่องสุดยอดผู้นำ- องค์กรต้นแบบ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้-การรู้เท่าทันสื่อ หวังให้เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนระบบสื่อสุขภาวะ ลดปัญหาความรุนแรง-การกลั่นแกล้ง-อาชญากรรมทางเทคโนโลยี

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และองค์กรภาคีเครือข่าย จัดงานประกาศรางวัลดีเด่นด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการรู้เท่าทันสื่อ ปี 2568 หรือ “MIDL Awards 2025” ภายใต้โครงการสานพลังนโยบายสู่ปฏิบัติการเท่าทันสื่อ สนับสนุนโดย สสส. เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ในการร่วมขับเคลื่อนสังคมให้เกิดการใช้สื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างสรรค์

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีระบบนิเวศสื่อเพื่อสุขภาวะ โดยสนับสนุนด้านการจัดการความรู้ สานพลังภาคีเครือข่ายพัฒนากลไกเฝ้าระวังสื่อภาคประชาชน และการพัฒนานโยบายที่ทันต่อภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันแม้เด็กและเยาวชนจะอ่านออก เขียนได้ แต่ถ้าขาดทักษะรู้เท่าทันสื่อโลกออนไลน์ ไม่สามารถแยกแยะข้อมูลจริงและข้อมูลหลอกลวงที่ถูกปรับแต่งมา เพื่อหลอกล่ออารมณ์ ชักนำความคิด เด็กจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงภัยคุกคามและการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ สอดคล้องกับรายงานผลการสำรวจดัชนีชี้วัดความปลอดภัยบนสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก (COSI) ปี 2566 โดยสถาบันดีคิว (DQ Institute) พบเด็กและเยาวชนอายุ 8-18 ปี ทั่วโลกหรือกว่า 70% ต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางไซเบอร์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่น่าสนใจ พบว่า เด็กไทย 41% ถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นๆ ซึ่งอยู่ที่ 39% เท่านั้น

“สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดงาน MIDL Awards 2025 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อประกาศรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติทั้งประเภทบุคคลต้นแบบ และองค์กรต้นแบบ ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และการรู้เท่าทันสื่อ และที่สำคัญคือการสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาคีในการร่วมกันขับเคลื่อนสังคมให้เกิดการใช้สื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เกิดความตระหนักนำไปสู่การกำหนดนโยบาย วางแผน และออกแบบกิจกรรมในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการรู้เท่าทันสื่อให้แก่เด็กและเยาวชน ทั้งนี้ สุขภาวะทางการสื่อสารจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องสานพลังของทุกภาคส่วนที่เป็นพลังพลเมืองตื่นรู้ หรือ Active Citizen เพื่อร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อไปพร้อมกัน” รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว

ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) กล่าวว่า สสดย. ร่วมกับ สสส. มุ่งสร้างค่านิยมและแรงบันดาลใจให้แก่สังคม เกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อสร้างสุขภาวะดีทุกมิติ เปิดโอกาสให้บุคคลและองค์กรทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการสร้างระบบนิเวศสื่อสุขภาวะที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งผู้ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติประเภทบุคคลต้นแบบ 5 คน จากผู้สมัคร 53 คน และประเภทองค์กรภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ที่ขับเคลื่อนด้านการสร้างสรรค์การสื่อสารสุขภาวะต้นแบบ 8 แห่ง จากภาคี 28 แห่ง ถือเป็นกำลังสำคัญที่จะเป็นนักสื่อสารสุขภาวะและองค์กรสุขภาวะที่เข้มแข็ง สามารถสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังสื่อได้อย่างกว้างขวาง พร้อมเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ และองค์กรในหลายระดับ ให้ตื่นตัวและร่วมสร้างสรรค์การสื่อสารที่ดีสู่สังคม เพื่อลดปัญหาความรุนแรง การกลั่นแกล้ง ความขัดแย้ง และอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ภัยเร่งด่วนของสังคมไทยที่กำลังเผชิญคือ ภัยออนไลน์ และการถูกคุกคามเพื่อแสวงหาประโยชน์ จากการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการติดเกม ติดพนันออนไลน์ บุหรี่ไฟฟ้าที่โฆษณาในสื่อออนไลน์ ทำให้เด็กเข้าใจผิดและส่งผลกระทบสุขภาพกลายมิติ รวมถึงการนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว และสังคมโดยรวม จากผลการสำรวจสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ปี 2567 โดยกรมประชาสัมพันธ์ สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยเรามีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่ดีมาก ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและเร็ว และสามารถสร้างหรือใช้ประโยชน์จากสื่อได้มากมาย แต่กลุ่มวัยที่สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบจากสื่อที่ไม่ปลอดภัย และผลกระทบต่อระบบสุขภาพ นั่นคือ กลุ่มเด็ก วัยรุ่น และผู้สูงวัย

“การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และรู้เท่าทันสื่อ ให้ประสบผลสำเร็จได้ในการแก้ไขปัญหานั้นคือ 1.การสร้างความรอบรู้ เท่าทันข้อมูลและความสามารถด้านดิจิทัล หรือ Digital Literacy รวมถึงการสร้างเนื้อหาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมสื่อสารเชิงบวก 2.การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเสนอแนะนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม โดย สช. ได้มีการผลักดันมติที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของสื่อต่อเด็กและเยาวชน ผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พร้อมสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน 3. การเสริมพลังความร่วมมือ สร้างความตระหนักรู้และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เท่าทันสื่อ ไปพร้อมๆ กับการบังคับใช้กฎหมายที่ที่มีประสิทธิภาพ ร่วมมือกับแพลตฟอร์มต่างๆ” นายสุทธิพงษ์ กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

ศูนย์ปฎิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติแจงกรณีกัมพูชากล่าวหาทหารไทยเป็นผู้ฝังทุ่นระเบิดเป็นข้อมูลเท็จ

13 นาทีที่แล้ว

เคทีซีผนึก Wall Street English หนุนคนไม่หยุดพัฒนา ยกระดับภาษาอังกฤษ

15 นาทีที่แล้ว

SAFE ร่วมงานประชุม ESHRE ครั้งที่ 41 ประเทศฝรั่งเศส ยกระดับมาตรฐาน

21 นาทีที่แล้ว

ชลบุรีประชุมขับเคลื่อนโครงการ"มหาดไทย แรงงาน สานพลังเครือข่าย ร่วมใจต้านอัคคีภัย"

21 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

วิดีโอ

“ปณิธาน” เสนอรับอำนาจศาลโลกแบบมีเงื่อนไข | คมชัดลึก | NationTV 22

NATIONTV

"บิ๊กต่าย"สั่งตำรวจทั่วประเทศกวาดล้างผู้ค้ายาเสพติดในชุมชนคาดโทษหนักหัวหน้าสถานีและผู้บังคับการพื้นที่ปล่อยปละละเลย

สยามรัฐ

หุ้นไทยปิดบวก 1.55 จุด

สำนักข่าวไทย Online

วิกฤตคลื่นความร้อนทางทะเล นักวิทย์ชี้ “สิ่งมีชีวิตเสี่ยงสูญพันธุ์”

TNN ช่อง16

ปภ.เตือนด่วน เสี่ยงดินโคลนถล่ม 6 อำเภอ กาญจนบุรี หลังฝนตกหนักไม่หยุด เตรียมสิ่งของจำเป็น 21-24 ก.ค.นี้

Thaiger

‘อุตุฯ’ย้ำแม้ ‘วิภา’ อ่อนกำลังเป็นโซนร้อน พิษยังมี21-24 ก.ค.เจอฝนตกหนัก-น้ำป่าหลาก!

เดลินิวส์
วิดีโอ

หนุ่มเก็บเงินทั้งชีวิต ซื้อรถหรูในฝัน แต่ไม่ถึงอาทิตย์เจอปัญหา! เข้าศูนย์ซ่อมยังไร้คำตอบ

WeR NEWS

‘วิรังรอง’ ห่วงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ชี้รัฐอย่าปล่อยประชาชนเผชิญหน้ากันเอง

เดลินิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...