โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

‘วัฒนธรรม’ ทางรอดปัญหาชายแดน โพลชี้ชัด! ลดตึงเครียด สร้างสันติภาพที่แท้จริง

เดลินิวส์

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
ผลโพล

เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 68 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ในยุคที่ภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติไม่ได้จำกัดเพียงการรุกรานทางกายภาพ แต่แฝงอยู่ในความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์ ความไม่เข้าใจระหว่างรัฐกับประชาชน และการปะทะกันของผลประโยชน์ “วัฒนธรรม” ได้กลับมาเป็นหัวใจของการคลี่คลายปัญหาชายแดน

ผลโพลนี้คือเสียงของประชาชน 1,098 คนจากทุกภาคส่วนของประเทศ ที่ร่วมสะท้อนมุมมองต่อปัญหาชายแดน ทั้งภาคใต้และชายแดนไทย–กัมพูชา ระหว่างวันที่ 1–5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ภายใต้คำถามว่า “วัฒนธรรมจะนำทางสันติภาพได้จริงหรือไม่?”

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อความไม่มั่นคงชายแดนไทย พบว่า ปัญหาเกิดจากความขัดแย้งจากกลุ่มผลประโยชน์ ร้อยละ 84.7 นักการเมืองสนใจผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าสวัสดิภาพ ความปลอดภัยและวัฒนธรรมร่วมของคนท้องถิ่น ร้อยละ 81.9 ความไม่เข้าใจกันระหว่างรัฐและระหว่างประชาชน ร้อยละ 78.5 คนมีอำนาจมองข้ามประโยชน์ของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกันในพื้นที่ ร้อยละ 77.3 และสาเหตุขัดแย้งคือการสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง อคติทางสังคมที่มีต่อกัน ร้อยละ 68.2

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่ชี้ชัดว่า “คน” ไม่ใช่ “พื้นที่” คือต้นเหตุของความไม่มั่นคง ความโลภ การเมืองไร้ธรรมาภิบาล และการละเลยวัฒนธรรมท้องถิ่นคือเชื้อเพลิงที่สำคัญของความไม่มั่นคง ความเข้าใจผิดระหว่างรัฐกับประชาชนและอคติที่ยังฝังลึกทำให้วัฒนธรรมกลายเป็นกำแพง ทั้งที่ควรเป็นสะพานแห่งความเข้าใจ

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อการใช้วัฒนธรรมแก้ปัญหาชายแดนไทย พบว่า เชื่อมั่นการใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นช่วยลดความตึงเครียดในพื้นที่ชายแดนได้มาก ถึง มากที่สุด ร้อยละ 48.3 เชื่อมั่นปานกลางร้อยละ 37.2 และเชื่อมั่นน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 14.5

นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการซูเปอร์โพล ชี้ให้เห็นว่า เกือบครึ่งหนึ่งของประชาชนเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ในพลังของวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมท้องถิ่นที่พวกเขารู้สึกเป็นเจ้าของ ขณะที่อีกร้อยละ 14.5 ยังไม่เชื่อมั่น ซึ่งอาจสะท้อนว่า รัฐยังไม่แสดงบทบาทด้านวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบ ทำให้ประชาชนบางส่วนไม่เคยเห็นว่าวัฒนธรรมสามารถเป็นเครื่องมือของความมั่นคงได้จริง

ที่น่าสนใจคือ การใช้วัฒนธรรมแก้ไขปัญหาในมิติเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองชายแดน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.2 ระบุ สร้างเมืองวัฒนธรรมร่วมและเขตเศรษฐกิจพิเศษวัฒนธรรมท้องถิ่นกระตุ้นท่องเที่ยวและการค้าชายแดน ร้อยละ 77.3 ระบุ ใช้สื่อสารวัฒนธรรม เช่น วิถีชีวิต ละครพื้นบ้าน เพลงท้องถิ่น สารคดีวัฒนธรรมร่วม สร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ลดอคติทางสังคม ร้อยละ 69.2 ระบุ สร้างชุมชนตัวตนวัฒนธรรมเข้มแข็งต่อต้านยาเสพติดและอาชญากรรม ร้อยละ 68.9 ระบุ เสริมบทบาทผู้นำชุมชนวัฒนธรรม ทูตวัฒนธรรม สร้างความวางใจต่อรัฐและความสัมพันธ์ของประชาชนในสังคมข้ามพรมแดน และร้อยละ 55.2 จัดเวทีสาธารณะวัฒนธรรม พูดคุยการเมือง การดูแลประชาชนเชิงสร้างสรรค์ ตามลำดับ

“จากผลโพลนี้ ประชาชนเชื่อว่า “เศรษฐกิจชายแดนจะเดินได้ ถ้าวัฒนธรรมเดินนำหน้า” แนวคิดเรื่องเมืองวัฒนธรรมและเขตเศรษฐกิจบนรากวัฒนธรรมคือทางรอดที่มีพลังมากกว่าสร้างด่านหรือตลาดเพียงลำพัง การสื่อสารผ่านละคร เพลง วิถีชีวิตพื้นถิ่น มีพลังละลายอคติมากกว่าสุนทรพจน์หรือโฆษณาทางการเมือง” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว

นายนพดล กรรณิกา ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวด้วยว่า วัฒนธรรมคือพลังสันติ ไม่ใช่เพียงภาพประดับที่สวยหรู เพราะ 3 มุมมองที่ได้จากผลโพลนี้ คือ
1.ตัวแปรความมั่นคงไม่ได้อยู่ที่ปืน แต่อยู่ที่ใจคน เพราะ ตัวเลขมากกว่า 70% ทุกรายการชี้ชัดว่าความขัดแย้งมาจากความไม่เข้าใจกัน ขาดความไว้วางใจ และการละเลยคุณค่าของวัฒนธรรม
2.ประชาชนเชื่อมั่นในพลังของวัฒนธรรม เพราะ วัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ใช่ของเก่า แต่คือพลังสร้างเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ และความร่วมมือ
3.วัฒนธรรมเชื่อมเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพราะ ทั้งเมืองวัฒนธรรม สื่อสารคดี วิถีชีวิต และการพูดคุยการเมืองล้วนอยู่บนรากวัฒนธรรมเดียวกัน

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

1.ประกาศ “ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางวัฒนธรรม” เป็นวาระแห่งชาติ โดยให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นแม่งานร่วมกับฝ่ายมั่นคง และกระทรวงมหาดไทย
2.สร้างเขตเศรษฐกิจ–วัฒนธรรม–เยียวยา (Cultural–Economic–Healing Zone) โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนที่เคยเกิดความขัดแย้งทั้งที่ชายแดนใต้ของไทย ไทย-กัมพูชา ไทย-เมียนมา และไทย-ลาว
3.จัดตั้ง “เครือข่ายผู้นำทูตวัฒนธรรมชายแดน” ให้เยาวชน ศิลปิน ผู้นำศาสนา ทำงานคู่กับรัฐในการสื่อสารเชิงสันติภาพ
4.บูรณาการการศึกษา วัฒนธรรม และสื่อดั้งเดิม-ยุคใหม่ ให้คนรุ่นใหม่เรียนรู้ภูมิวัฒนธรรมของตนและผู้อื่นผ่านการสร้างสรรค์สื่อดั้งเดิม-ดิจิทัล

กล่าวโดยสรุป เมื่อปัญหาชายแดนไม่ใช่ปัญหาของ “ดินแดน” เพียงอย่างเดียว แต่คือปัญหาของ “ความรู้สึกของคนในพื้นที่” วัฒนธรรมจึงไม่ใช่เพียงของเก่าที่น่าทึ่งและกิจกรรมอ่อนโยน แต่คือยุทธศาสตร์แข็งแรงของการสร้างความมั่นคงในระยะยาว โพลฉบับนี้ไม่ใช่แค่สถิติ แต่คือเสียงเรียกร้องของประชาชน ที่อยากเห็นรัฐเปลี่ยนจาก “การควบคุม” เป็น “การเข้าใจ” และจาก “คำสั่ง” เป็น “ความร่วมมือ” เมื่อรัฐทั้งสองประเทศฟังเสียงประชาชนด้วยหัวใจ วัฒนธรรมจะตอบแทนด้วยสันติภาพได้แท้จริง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

ระทึก!รถบรรทุก 6 ล้อบรรทุกถังก๊าซพุ่งชนตอม่อด่านเก็บเงิน ถังก๊าซกระเด็นเกลื่อน หวิดระเบิด

29 นาทีที่แล้ว

“ตั้ม วิชญะ” เคลียร์ดรามาภรรยาปะทะสาว LGBTQ+ กลางผับ! ชี้เหตุเกิดจากอารมณ์ร้อน

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

หนุ่มหึงโหดจับได้แฟนมีโลกหลายใบ แค้นจัดใช้เชือกรัดคอดับสลดคาโรงแรม

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘ภูมิธรรม’ สั่งการ ‘ธีรรัตน์’ เร่งแก้ระบบ New e-LAAS อุดช่องโหว่การทำงานข้าราชการท้องถิ่น

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความยอดนิยม

7 อรหันต์มือสอบคดีฮั้ว สว. จ่อสรุปสำนวนเสนอ กกต. พิจารณาก่อนส่งไม้ต่อฟ้องศาล

เดลินิวส์

สึกไปอีกหนึ่ง! อดีต ‘พระ ส.’ มีชื่อเป็นพ่อของลูก ‘สีกา ก.’

เดลินิวส์

10 ปีถวายแรงกาย สุดท้ายวัดเฉดหัวไร้ค่า! หนุ่มวัยกลางคนชีวิตพังเพราะศรัทธา

เดลินิวส์
ดูเพิ่ม