ประกันสังคมมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบ 750 ผู้ประกันตนได้สิทธิอะไรบ้าง
ประกันสังคมมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบ 750 บาท สำนักงานประกันสังคม ภายใต้สังกัด กระทรวงแรงงาน ได้อัปเดตล่าสุด สำหรับมนุษย์เงินเดือนและลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33 การจ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนประกันสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป จะต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราสูงสุดที่ 5% ของค่าจ้าง หรือคิดเป็น 750 บาทต่อเดือน
ประกันสังคมมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบ 750 บาท ได้สิทธิอะไรบ้าง?
- เงิน 750 บาท ไปไหน? การแบ่งส่วนเงินสมทบ
เงินสมทบ 750 บาท ที่ผู้ประกันตนจ่ายไปนั้น ไม่ได้หายไปไหนแต่ถูกจัดสรรออกเป็น 3 ส่วนหลัก เพื่อนำไปใช้ในการคุ้มครอง
สิทธิประโยชน์ต่างๆ ดังนี้:
ส่วนที่ 1 : คุ้มครอง 4 กรณีสำคัญ (เจ็บป่วย,
คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต) 225 บาท (1.5% ของค่าจ้างสูงสุด)
เงินส่วนนี้จะถูกนำไปดูแลเรื่องพื้นฐานที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันและเหตุไม่คาดฝัน ซึ่งประกอบด้วย
กรณีเจ็บป่วย/ประสบอันตราย: ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในโดยสามารถเลือกสถานพยาบาลตามสิทธิที่ได้ลงทะเบียนไว้ รวมถึงการตรวจสุขภาพฟรี และบริการทันตกรรมพื้นฐาน
กรณีคลอดบุตร: ผู้ประกันตนจะได้รับเงินค่าคลอดบุตร
- เหมาจ่าย 15,000 บาทต่อครั้ง และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) นอกจากนี้ ยังได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 1,000 บาทต่อคน (บุตรไม่เกิน 3 คน) จนถึงอายุ 6 ขวบ
กรณีทุพพลภาพ: หากผู้ประกันตนประสบอันตราย เงื่อนไขสำคัญในการรับสิทธิประโยชน์หรือเจ็บป่วยจนทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างตลอดชีวิต หากทุพพลภาพรุนแรง รวมถึงค่ารักษาพยาบาลและค่าพาหนะ
กรณีเสียชีวิต: ผู้จัดการศพจะได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท และเงินสงเคราะห์การตาย (หากจ่ายเงินสมทบเกิน 36 เดือน) ส่วนเงินบำเหน็จชราภาพจะคืนให้กับทายาท
ส่วนที่ 2: คุ้มครองกรณีว่างงาน 75 บาท (0.5% ของค่าจ้างสูงสุด)
เงินส่วนนี้จะถูกนำไปดูแลผู้ประกันตนในยามที่ประสบปัญหา โดยมีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การได้รับเงินทดแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด เช่น กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้างที่คำนวณเงินสมทบ เป็นต้น
ส่วนที่ 3: กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ 450 บาท (3% ของค่าจ้างสูงสุด)
เงินส่วนนี้ถือเป็นเงินออมสำหรับอนาคตของผู้ประกันตน ถือเป็นการลงทุนเพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นคงในชีวิต
โดยแบ่งเป็น:
สงเคราะห์บุตร : เดือนละ 1,000 บาทต่อคน(บุตรไม่เกิน 3 คน) จนถึงอายุ 6 ขวบ
ชราภาพ: เป็นเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพที่จะได้รับคืน เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตน (จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต) หากส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน (15 ปี) หรือรับ "บำเหน็จชราภาพ" (จ่ายเป็นเงินก้อน) หากส่งเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน
เงื่อนไขสำคัญในการรับสิทธิประโยชน์
- แม้จะจ่ายเงินสบทบอย่างสม่ำเสมอ แต่การได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของประกันสังคมก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปในแต่ละกรณี เช่น
- เจ็บป่วย/ประสบอันตราย : ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือนภายในระยะเวลา15 เดือน ก่อนวันรับริการทางการแพทย์
คลอดบุตร: ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนว่างงาน และ ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานกับกรมการจัดหางานภายใน 30 วันนับจากวันที่ว่างงาน
ชราภาพ: มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และ ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง โดยระยะเวลาการส่งเงินสมทบเป็นตัวกำหนดว่าจะได้รับบำนาญหรือบำเหน็จ.
ที่มา: