โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

นาโนเทค–สวทช. ต่อยอดสารหน่วงไฟจากเปลือกหอย สู่โครงการ “โรงเรียนปลอดภัย” ลดเสี่ยงอัคคีภัยด้วยนวัตกรรมขยะอาหาร

สยามรัฐ

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สวทช. โดยนาโนเทค ร่วมกับพันธมิตร ต่อยอด “สารหน่วงไฟจากขยะเปลือกหอย” สู่โครงการ “โรงเรียนปลอดภัย ห่างไกลอัคคีภัยด้วยนวัตกรรมจากขยะอาหาร”

วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์เด็กปฐมวัยเมอร์ซี่ กทม. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ร่วมกับโรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค, บริษัท เบเยอร์ จำกัด และกรุงเทพมหานคร เปิดตัวโครงการ “โรงเรียนปลอดภัย ห่างไกลอัคคีภัยด้วยนวัตกรรมจากขยะอาหาร” ส่งต่อนวัตกรรมสารหน่วงไฟแคลเซียมคาร์บอเนตแปรรูปจากขยะเปลือกหอยสู่ “สีหน่วงไฟ” สีทาภายในอาคาร นำร่องลงพื้นที่ทาสีอาคาร ณศูนย์เด็กปฐมวัยเมอร์ซี่ (HDF Mercy Centre) เขตคลองเตย ก่อนขยายสู่พื้นที่ต่างๆ หวังยกระดับความปลอดภัยจากอัคคีภัยแก่ศูนย์เด็กเล็กในพื้นที่ชุมชนต่างๆ

ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. เป็นขุมพลังหลักของประเทศในการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ของรัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศวิจัยและนวัตกรรมให้ตอบโจทย์ และปัญหาที่สำคัญของประเทศ นาโนเทคเองก็มุ่งมั่นใช้ประโยชน์นาโนเทคโนโลยีขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

“ความร่วมมือกันในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย เพิ่มมูลค่าให้กับขยะอินทรีย์อย่างเปลือกหอยร่วมกับภาคเอกชนที่มองเห็นโอกาสในการนำ วทน. ผสานกับจุดแข็งของแต่ละภาคส่วน สร้างนวัตกรรมที่ตอบความต้องการของชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศอย่างยั่งยืน”

ผลงานวิจัยเรื่อง “ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสารหน่วงไฟจากนาโนแคลเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต/แคลเซียมคาร์บอเนต” โดย ดร. ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ ทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน (RNM) กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน (RMNS) โดยทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นั้น เป็นการแปรรูปขยะเปลือกหอย (หอยแมลงภู่, หอยนางรม ฯลฯ) เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตเพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตสารหน่วงไฟ ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดให้ขยะเปลือกหอยเป็นวัสดุขั้นสูง สร้างมูลค่าให้กับขยะทางการเกษตร การเตรียมสารหน่วงไฟจากนาโนแคลเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต/แคลเซียมคาร์บอเนตสามารถเตรียมให้อยู่ในรูปแบบของแข็งลักษณะเป็นผง และของเหลวได้ ตัวอย่างการใช้งานของนาโนแคลเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต/แคลเซียมคาร์บอเนตสามารถทำให้กระจายตัวในน้ำสำหรับฉีดพ่นบนพื้นที่ต้องการให้มีคุณสมบัติหน่วงไฟ หรือผสมกับพอลิเมอร์เพื่อผลิตเป็นชิ้นงานที่มีคุณสมบัติหน่วงไฟ เช่น ผสมสารหน่วงไฟกับพลาสติกขึ้นรูปเป็นเส้นสำหรับการพิมพ์ชิ้นงานด้วยกระบวนการพิมพ์สามมิติ เป็นต้น

สำหรับโครงการ “โรงเรียนปลอดภัย ห่างไกลอัคคีภัยด้วยนวัตกรรมจากขยะอาหาร” เป็นการนำขยะอินทรีย์ของโรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค โดยเฉพาะเปลือกหอยนางรมเหลือทิ้งที่มีปริมาณมากถึง 1 ตันต่อเดือนจากห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ โกจิ คิทเช่น และบาร์ มาร่วมวิจัยและพัฒนากับนาโนเทค สวทช. ในการพัฒนาเป็น "สารหน่วงไฟ" ที่ดสอบแล้วพบว่า มีสมบัติการหน่วงไฟตามมาตรฐาน UL94 V-0 ที่สามารถดับไฟได้เองภายใน 10 วินาที และไม่มีเปลวไฟหยด จากนั้น เกิดการต่อยอดกับพันธมิตรอย่างบริษัท เบเยอร์ จำกัดในการพัฒนา "สีหน่วงไฟ" ที่เหมาะสำหรับการทาภายในอาคาร โดยเฉพาะในชุมชนที่มีกลุ่มเปราะบาง ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ

คุณไซมอน เบลล์ ผู้บริหารโรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค กล่าวว่า โครงการนี้สะท้อนให้เห็นถึงพลังของความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมบริการ ภาควิชาการ ภาคธุรกิจ และชุมชน ที่สามารถเปลี่ยนขยะอินทรีย์ด้อยค่า ใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าและช่วยยกระดับความปลอดภัยในชีวิตจริงได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยจุดเริ่มต้นง่ายๆ อย่างการจัดการขยะประเภทต่างๆ อย่างเป็นระบบ แยกขยะอาหาร ไม่เทรวม เพื่อให้วัสดุที่มีคุณค่ามีที่ไปต่อผ่านฃการวิจัยและพัฒนาโดยนาโนเทค การจัดการขยะให้กลายเป็นทรัพยากรของโรงแรม และการพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์จริงโดยภาคเอกชนอย่างเบเยอร์ ทุกภาคส่วนต่างมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ไม่เพียงช่วยลดปัญหาขยะอาหาร แต่ยังสร้างคุณค่าทางสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ดร.วรวัฒน์ ชัยยศบูรณะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ กล่าวว่า ตามปณิธานของเบเยอร์ เราไม่เคยหยุดเพียงแค่การให้สีสันที่สวยงามหรือความคงทน แต่เรามุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยหัวใจของนวัตกรรม เพื่อส่งมอบสุขภาวะที่ดีและการปกป้องที่มากกว่าสำหรับผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร เราจึงเลือก BegerCool All-Plus Interior ซึ่งนอกจากจะช่วยลดอุณหภูมิและหน่วงไฟได้ในตัวแล้ว การร่วมมือในครั้งนี้ยังเป็นการเสริมเกราะป้องกันอีกขั้น ผ่านนวัตกรรมจากสารเติมแต่งที่ต่อยอดจาก วัสดุเหลือใช้ทางอาหาร (food waste) โดย Marriott และการพัฒนาร่วมกับนักวิจัยจาก นาโนเทค สวทช. ซึ่งโครงการนี้สะท้อนหัวใจของเบเยอร์อย่างชัดเจนว่า “สีที่ดี” ต้องไม่ใช่แค่เรื่องของพื้นผิว แต่ต้องเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สร้างประโยชน์ที่ยั่งยืน และร่วมดูแลสังคมไปพร้อมกัน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

"บัว นลินทิพย์" แจกความสดใสเสิร์ฟทูพีซอวดแซ่บเบาๆ

40 นาทีที่แล้ว

“บิ๊กเล็ก” แจง ไม่มีพาดพิง พล.อ.เตีย เซ็ยฮา ย้ำ ขอให้เชื่อมั่น การทำงานตนเอง ยึดรอบคอบ

43 นาทีที่แล้ว

รวบแล้วผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดบุรีรัมย์หลบหนี

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เช็กเลย! "หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม" ราศีใดมีเกณฑ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะทำให้รวย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

NSL Foods ทุ่ม 800 ล้านบาท สร้างโรงงานใหม่ ดันกำลังผลิตแซนวิช โกยรายได้โต 16%

กรุงเทพธุรกิจ

รถไฟฯ รวมพลังจิตอาสา Big Cleaning Day ที่หยุดรถแม่พวก จ.แพร่ ต้อนรับ “วิ่ง-ป่า-ลาบ 68” เฉลิมพระเกียรติ เดือนมหามงคล

สยามรัฐ

“MAJOR × OMODA & JAECOO” ชวนคอหนัง ออกเดินทางแบบเอ็กซ์คลูซีฟ ลุ้นบินโอซาก้า! สัมผัสประสบการณ์สุดมันส์ในโลกภาพยนตร์

สยามรัฐ

NIA เปิดมหกรรมนวัตกรรมและเครือข่ายสตาร์ตอัป “SITE 2025” หนุนไทยสู่ศูนย์กลางนวัตกรรมโลก “Global Innovation Partnership”

สยามรัฐ

ค่าเงินบาท และตลาดหุ้นไทย (สัปดาห์ที่ 30 มิ.ย. – 4 ก.ค. 68)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ส่งออกเม็ดพลาสติก Polyethylene (PE) ไทย ปี 2025 คาดว่าจะลดลง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ไทยเที่ยวไทยปี 2568 คาดโต 2.2% ชะลอลงจากปีก่อน เทรนด์คนไทยเที่ยวเมืองน่าเที่ยว(เมืองรอง) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

เวียดนามได้ดีลถูกเก็บภาษี reciprocal 20% ลดจากเดิมที่ 46% คาดหนุน GDP เวียดนามปีนี้โต 6.7%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...