โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

4 ระยะภาวะสมองเสื่อม อาการเสี่ยงระบบประสาทถดถอย ใกล้สูญเสียความทรงจำ

PPTV HD 36

อัพเดต 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาวะสมองเสื่อมคือการเสื่อมถอยของสมองและระบบประสาท ทำให้สูญเสียความจำ การคิด การตัดสินใจ พบบ่อยในผู้สูงอายุ ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ โรคประจำตัว พฤติกรรม และพันธุกรรม

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) คือ ภาวะที่การทำงานของสมองและระบบประสาทถดถอยเสื่อมลง เกิดจากจำนวนเซลล์สมองทำงานลดลงและการสูญเสียเซลล์สมองในหลายส่วน ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความทรงจำ โดยส่วนใหญ่มักเริ่มจากความจำระยะสั้น ตามมาด้วยความบกพร่องทางความจำระยะยาว ความคิด การตัดสินใจ การวางแผน การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ การเข้าสังคม ซึ่งไม่ใช่แค่หลงลืมตามวัย แต่นำไปสู่การสูญเสียความจำรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต

เจาะลึก “โปรตีนสมองผิดปกติ” ต้นตอสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

ปัญหาการนอนไม่มีคุณภาพ สะสมขยะ เสี่ยงสมองเสื่อม อัลไซเมอร์

พบได้บ่อยในผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป แต่ในผู้ที่มีโรคพันธุกรรมบางอย่าง เช่น ดาวน์ซินโดรม (Down’s Syndrome) หรือมีโรคทางสมองที่ทำให้เสียการทำงาน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคติดเชื้อในระบบประสาท ภาวะบาดเจ็บทางสมองจากอุบัติเหตุ อาจทำให้มีภาวะสมองเสื่อมตั้งแต่อายุยังน้อยได้เช่นกัน

สมองเสื่อมเกิดจากอะไร

  • การเสื่อมของระบบประสาท (Neurodegeneration) พบมากในคนอายุมากกว่า 65 ปี โดยโรคที่พบบ่อยในกลุ่มนี้คือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) โรคอื่น ๆ ที่พบได้ในกลุ่มนี้ เช่น สมองเสื่อมในกลุ่มอาการพาร์กินสัน โรคสมองส่วนหน้าเสื่อม (Frontotemporal Dementia)
  • โรคหลอดเลือดสมอง พบในผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัวที่ทำให้หลอดเลือดมีปัญหา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ฯลฯ
  • โรคทางศัลยกรรมระบบประสาท เช่น ภาวะเลือดคั่งในสมองหรือเยื่อหุ้มสมอง โรคมะเร็งหรือเนื้องอกในสมอง ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง (Normal Pressure Hydrocephalus)
  • การติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมองอักเสบ
  • ภาวะขาดวิตามินบี 12 โดยพบในผู้ที่การดูดซึมบกพร่อง เช่น โรคหรือยาบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถดูดซึมวิตามินได้ เคยมีการผ่าตัดกระเพาะอาหารมาก่อน หรือพบในผู้ที่ได้รับวิตามินจากอาหารไม่เพียงพอ เช่น การรับประทานมังสวิรัติ
  • ภาวะที่มีการทำงานผิดปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ภาวะตับวาย โรคไตเรื้อรัง
  • การได้รับสารพิษ ยาบางชนิด หรือสารเสพติด
  • โรคทางจิตเวชบางอย่าง เช่น ภาวะซึมเศร้า (Depression) โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)
  • การบาดเจ็บของสมองอย่างรุนแรง เช่น ภาวะขาดออกซิเจน ภาวะชักต่อเนื่อง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นระยะเวลานาน ภาวะบาดเจ็บทางสมองจากอุบัติเหตุ

สังเกตอาการสมองเสื่อม

  • สูญเสียความจำระยะสั้น
  • สับสนเวลาและสถานที่
  • ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ สมาธิไม่ดี ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด โมโหง่าย ก้าวร้าว
  • มีปัญหามากขึ้นในการสื่อสาร เช่น ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างที่เคยเป็น เรียกสิ่งของไม่ถูก พูดตะกุกตะกักหรือติดอ่าง
  • ซึม ไม่กระตือรือร้น นิ่งเฉย
  • สูญเสียการช่วยเหลือตัวเองในด้านต่าง ๆ เช่น การอาบน้ำ การรับประทานอาหาร การขับถ่าย หรือ ไม่สามารถทำงานหรือกิจกรรมที่ตนเองเคยทำได้มาก่อน เช่น การขับรถ การวางแผนงาน การจัดยาทานเอง การตัดสินใจสิ่งต่าง ๆด้วยตัวเอง

สมองเสื่อมมีกี่ระยะ

  • ระยะที่ 1 ภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น สูญเสียความสามารถในการทำสิ่งที่ซับซ้อน แต่ระยะนี้ผู้ป่วยยังสามารถดูแลตนเองขั้นพื้นฐานได้ เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว ทานข้าว เข้าห้องน้ำ อาจมีปัญหาด้านอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้า หงุดหงิดง่ายร่วมด้วยได้
  • ระยะที่ 2 ภาวะสมองเสื่อมระยะกลาง เริ่มมีการสูญเสียการดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานบ้างเล็กน้อย มีปัญหาด้านความเข้าใจ บกพร่องทางการเรียนรู้ เริ่มสูญเสียความสามารถในการตัดสินใจบางอย่าง อาจมีอาการทางจิตได้ในบางครั้ง เช่น การหลงผิด ภาวะหูแว่วหรือเห็นภาพหลอน ฯลฯ
  • ระยะที่ 3 ภาวะสมองเสื่อมระยะรุนแรง สูญเสียความสามารถทางสมองเกือบทั้งหมด ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ขั้นพื้นฐานด้วยตัวเองไม่ได้ กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ จำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ระยะที่ 4 ภาวะสมองเสื่อมระยะติดเตียงหรือระยะสุดท้าย ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งการเคลื่อนไหว การรับประทานอาหาร การสื่อสาร อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวะขาดสารอาหาร ภาวะติดเชื้อในระบบต่าง ๆ มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ

ปัจจัยเสี่ยงสมองเสื่อม

  • อายุที่มากขึ้น
  • พันธุกรรมบางอย่าง
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เพิ่มความเสี่ยงด้านหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคตับหรือไตเรื้อรัง
  • รับประทานยาบางอย่างที่มีผลต่อการทำงานของสมอง เช่น ยาที่มีฤทธิ์ต้านโคลิเนอจิก (Anticholinergic Drugs) ยาเสพติด
  • การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก (มากกว่า 21 ยูนิตต่อสัปดาห์; 1 unit = 8 กรัม แอลกอฮอล์)
  • การสูบบุหรี่
  • ภาวะบาดเจ็บทางสมองรุนแรง
  • การได้รับมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะ PM 2.5
  • ภาวะหูตึงหรือการมองเห็นที่ไม่ดี
  • ภาวะซึมเศร้า
  • การไม่มีกิจกรรมทางกาย (Physical Inactivity) เช่น การไม่ค่อยขยับ ไม่ออกกำลังกาย ฯลฯ
  • การเก็บตัวหรือไม่มีการพบปะผู้คนหรือเข้าสังคม เช่น สถานการณ์โควิด-19 ที่ต้องกักตัว ฯลฯ

ภาวะสมองเสื่อมส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงสม่ำเสมอ แก้ไขและควบคุมปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง จะสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของสมองและอาการของโรคได้ เช่น ควบคุมเบาหวาน ความดัน ไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แก้ไขภาวะหูตึงหรือการมองเห็นที่ผิดปกติ หลีกเลี่ยงยาหรือสารต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสมอง ฝึกบริหารสมอง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พบปะผู้คน เข้าสังคมไม่เก็บตัวอยู่กับบ้านจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสารเสพติด หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บทางสมอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก PPTV HD 36

ครป. ร้องสภาฯ ผ่านกฎหมายนิรโทษกรรม 4 ฉบับ คืนยุติธรรมนักโทษคดีการเมือง

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ตำรวจสเปนเผยสาเหตุ โชต้า เป็นคนขับ คาดใช้ความเร็วเกินกำหนด

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"ฮุน เซน" โพสต์ท้า ดูกันว่าศาลไทยจะกล้าเปิดการสืบสวน "ทักษิณ" หรือไม่

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"รั้วปราสาทตาเมือนธม" ไม่ได้หายจากการรบ แต่ถูกรื้อหลังเจรจา!

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

รู้จักกับ (Embryo freezing) การแช่แข็งตัวอ่อน เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ ความหวังของคนอยากมีลูก

TNN ช่อง16

‘สานสุขไทอีสาน’ขับเคลื่อนกลไก 'สุขภาวะเชิงพื้นที่'ยกระดับการมีส่วนร่วม

กรุงเทพธุรกิจ

"สมศักดิ์" ชูนวดไทยมรดกล้ำทางวัฒนธรรม ดันท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ฐานเศรษฐกิจ

ไทยยกระดับความเสี่ยง 'ไข้หวัดนก H5N1' หลังกัมพูชาแนวโน้มระบาดเพิ่มขึ้น

กรุงเทพธุรกิจ

ไรเดอร์ อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ คว้า ISO 27001 มุ่งผู้นำ Insurtech

กรุงเทพธุรกิจ

อย่าหลงเชื่อกินบอแรกซ์ เสี่ยงตับพัง ไตวาย ตายด่วน !!

Amarin TV

ข่าวและบทความยอดนิยม

“ทรัมป์” ส่งจดหมายแจ้งเก็บภาษีศุลกากรไทย 36% เท่าเดิม

PPTV HD 36

เปิดสภาพปราสาทพระวิหารล่าสุด! ครบ 17 ปีขึ้นทะเบียนมรดกโลกสุดทรุดโทรม

PPTV HD 36

นาโปลี ยื่นข้อเสนอซื้อ "นูนเญซ" เสริมแนวรุก

PPTV HD 36
ดูเพิ่ม
Loading...