โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ธนาคารโลกลด GDP ไทย ปีนี้โต 1.8% ปีหน้า 1.7% ผลกระทบจากสงครามการค้า

Amarin TV

เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ธนาคารโลกประเมินการเติบโตของ GDP ไทย จากที่เคยมีอัตราการเติบโตในปี 2024 อยู่ที่ 2.5% ในปีนี้คาดว่าจะชะลอเหลืออัตราการเติบโตอยู่ที่ 1.8% เท่านั้น

ธนาคารโลกประเมินการเติบโตของ GDP ไทย จากที่เคยมีอัตราการเติบโตในปี 2024 อยู่ที่ 2.5% ในปีนี้คาดว่าจะชะลอเหลืออัตราการเติบโตอยู่ที่ 1.8% เท่านั้น และคาดว่าจะชะลอตัวลงไปอีกอยู่ที่ 1.7% ในปี 2026 ก่อนที่จะกลับมาเติบโตอีกครั้งในปี 2027 ที่ 2.3%

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสธนาคารโลกประจำประเทศไทย เกียรติพงศ์ อริยปรัชญ มองว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัวลงในปีนี้ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ

1.เศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างรวดเร็ว

ความผันผวนของการเมืองโลก และสงครามการค้า ส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมาก โดยธนาคารโลกชี้ว่า ปี 2025 อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะลดลงอยู่ที่ 2.3% จากปี 2024 ที่ 2.8% แต่คาดว่า GDP โลก จะเพิ่มขึ้นในปี 2026 สู่ 2.4% นอกจากนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจในจีนและสหรัฐฯ ยังส่งผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกด้วยเช่นกัน ส่วนสาเหตุที่เศรษฐกิจจีนและกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกมีการหดตัวในช่วงที่ผ่านมา เพราะมีการพึ่งพาการนำเข้า-ส่งออกมาก

2.GDP ไทยหดตัวเพราะการค้าอ่อนแอ-การท่องเที่ยวฟื้นตัวปานกลาง

สำหรับประเทศไทย เราพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศสูงย่อมได้รับผลกระทบ โดยไตรมาสแรกของปี 2025 นั้น พบว่าไทยมีการเจริญเติบโตของ GDP ค่อนข้างดี ซึ่งได้อานิสงค์มาจากภาคการส่งออกแต่นั่นก็เป็นสถานการณ์ที่เพิ่มขึ้นชั่วคราว ความปั่นป่วนของนโยบายการค้าโลก สงครามการาค้ากำลังจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่เหลือของปี และนอกจากการส่งออกจะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าแล้ว การบริโภค และการลงทุนภายในประเทสของไทยยังชะลอตัวลงด้วย ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อนแล้ว

นโยบายการค้าส่งผลโดยตรงต่อเศราฐกิจไทย 2 ทาง คือ

(1) กระทบการส่งออก เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกมากกว่า 60% และมีตลาดหลักอยู่ที่สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น แม้ว่าการส่งออกไทยจะเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่เดือนเมษายนปีก่อน แต่สัดส่วนการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากมาจากสินค้าที่นำเข้ามาจากจีน และใช้ไทยเป็นจุดกระจายส่งออกไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยเองกลับลดลง

(2) กระทบการลงทุน- การท่องเที่ยว ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้นักลงทุนมีแนวโน้มจะชะลอการลงทุนไว้ก่อน ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาประเทศไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะความกังวลเรื่องความปลอดภัย จึงหันไปหาจุดหมายใหม่ อย่างญี่ปุ่น หรือมาเลเซีย การลดลงของนักท่องเที่ยวจีนทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาแที่ยวไทยในภาพรวมลดลง อย่างไรก็ตามธนาคารโลกคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้นในปีหน้า

3.ช่องว่างทางการคลังของไทยลดลง

ช่องว่างทางการคลังของไทยหดตัวแคบลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยมีระดับหนี้สาธารณะราว 64% ของ GDP ในปีนี้ เทียบกับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ไทยมีระดับหนี้สาธารณะต่ำกว่า 40% เนื่องจากหลังการระบาดโควิด ไทยจำเป็นต้องเพิ่มเพดานหนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้เงินสดและกลไกการใช้จ่ายจากรัฐวิสาหกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลกเน้นย้ำว่า ช่องว่างทางการคลังยังอยู่ในระดับที่จัดการได้

อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นเพียงผลกระทบหรือความท้าทายเท่านั้น แต่ยังหมายถึงโอกาสเช่นกัน นั่นก็คือ เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งประเทศไทยได้เปรียบบ้างเพราะมีความพร้อมด้านการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนมือถือ มีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในระดับที่ดี รวมถึงการใช้จ่ายเงินด้วยระบบพร้อมเพย์ ซึ่งเป็นรากฐานการเข้าถึงบริการการเงินทางดิจิทัลที่เข้มแข็ง

ความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัล ช่วยเศรษฐกิจไทย

ปรับการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้มีความสมดุล

ธนาคารโลกกล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลไทยได้พิจารณางบประมาณซึ่งเดิมทีเคยถูกนำมาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต แต่มีการปรับไปใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการท่องเที่ยวแทน ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 150,000–157,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 2.87% ของ GDP ซึ่งคุณเกียรติพงศ์มองว่า เป็นก้าวเดินที่ดี เนื่องจากการลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยกระตุ้น GDP ให้เติบโตขึ้น การเลือกใช้จ่ายอย่างสมดุลและชาญฉลาดจะเป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์จากธนาคารโลกว่า หนี้สาธารณะของไทยจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 74–75% ราวปี 2030 ก่อนจะลดลงมาอีกครั้ง

ลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล

หากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมีความสำคัญ ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการการลงทุนในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศในด้านดิจิทัลเป็นไปในทิศทางบวก นักลงทุนมีความสนใจเข้ามาลงทุนในไทย ทั้ง data center, AI และอื่น ๆ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ

ตัวอย่างหนึ่งที่คุณเกียรติพงศ์ให้ความเห็นคือ “หุ่นยนต์” ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา การใช้หุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมของไทยเพิ่มสูงขึ้น และยังมีข้อมูลที่ชี้ว่า ภาคส่วนที่นำหุ่นยนต์มาใช้มีการเติบโตของการจ้างงานเช่นกัน แต่เป็นการจ้างงานในระดับที่ต้องใช้ทักษะมากขึ้น เป็นแรงงานที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนดิจิทัล

หาโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่ม

แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัว แต่หากมีการลงทุนจากภาคเอกชนและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยสามารถขยับได้สูงถึง 2.2% (ปัจจุบันคาดการณ์ไว้ที่ 1.8%) หรือ 1.8% ในปี 2026 จากเดิมคาดไว้ที่ 1.7%

ต้องสร้างความเท่าเทียม

ความเท่าเทียมทางดิจิทัลเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสำหรับทุกคนเป็นสิ่งที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมต้องให้ความสำคัญ

คุณวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า เป้าหมายหนึ่งของกระทรวงคือการเพิ่มการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างเท่าเทียม ปัจจุบัน กลุ่มเปราะบาง เช่น คนชรา ผู้พิการ ผู้มีรายได้น้อย คนในพื้นที่ห่างไกล หรือแม้แต่ชาวต่างชาติที่อาศัยในไทยอย่างผิดกฎหมาย ล้วนแล้วแต่มีสิทธิ์เข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเท่าเทียม

“กลุ่มที่ท้าทายที่สุดคือกลุ่มสุดท้าย ผู้ที่เข้าประเทศไทยมาอย่างผิดกฎหมาย แต่เราจะมองข้ามพวกเขาไม่ได้ เพราะพวกเขาคือส่วนหนึ่งของภาพรวมอยู่ดี หากเราต้องการให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้นในยุคดิจิทัล เราจำเป็นต้องคิดว่าจะรับมือเรื่องนี้อย่างไร การสร้างความสมดุลระหว่างกฎหมายและการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง”

สำหรับรายงาน Thailand Economic Monitor: Digital Pathways to Growth[a] ซึ่งเป็นรายงานจากธนาคารโลกประจำประเทศไทยที่จัดทำขึ้นปีละ 2 ฉบับ มีเป้าหมายเพื่อการติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ คาดการณ์แนวโน้มในอนาคต และมุ่งสำรวจโอกาสในการเพิ่มความสามารถทางเศรษฐกิจ โดยครั้งนี้มีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ รายงานฉบับนี้เป็นฉบับที่ 21 แล้ว

เมลินดา กู้ด ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทยและเมียนมา กล่าวถึงเทคโนโลยีดิจิทัลในฐานะเครื่องมือยกระดับเศรษฐกิจไทยท่ามกลางความท้าทายต่าง ๆ

“สถานการณ์เศรษฐกิจไทยวางอยู่บนบริบทของภูมิภาคและโลกที่กว้าง ตอนนี้เรามารวมตัวกันในสถานการณ์ที่มีความท้าทายหลายประการต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งการค้าโลก ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ และโลกเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

“คำถามสำคัญก็คือ ประเทศไทยจะใช้ประโยชน์จากการมีที่ตั้งอยู่ใจกลางทวีปเอเชียได้อย่างไร เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ชนะในโลกยุคใหม่ หนึ่งวิธีที่ทำได้คือ การเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ”

ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารโลกประจำประเทศไทย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Amarin TV

เร่งพิสูจน์ร่างคนจีน พลัดตกชั้น6 ดับ คล้ายฐานแก๊งคอลเซ็นเตอร์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เกิดขึ้นจริงแล้ว 7.5 จาก 11 คำทำนายหายนะ มังงะญี่ปุ่น The Future I Saw

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

คนงานเฝ้าสวนหายตัวไป 11 วัน พบกลายเป็นศพ ถูกช้างเหยียบเละ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สลด! พ่อแม่เผลอหลับ ลูกวัย 2 ขวบ เดินตามสุนัขตกสระน้ำดับในวันเกิด

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

กูรูมองไทยมีหนาว สหรัฐปิดดีลเวียดนาม สูตรภาษี 40-20-10-0 | คุยกับบัญชา | 4 ก.ค. 68

BTimes
วิดีโอ

พิชัย เผย ยังเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ ไม่เป็นผล จะนำฟีคแบ็ก มาทำข้อเสนอใหม่

BRIGHTTV.CO.TH

SCGCลั่นรง.LSPเดินเครื่องผลิตอีกครั้งปลายส.ค.-ก.ย.นี้

Manager Online

"พิชัย" รับเจรจาปิดดิวภาษีสหรัฐฯยังไม่สำเร็จ ยังยึดมั่นหลัก Win-Win

สยามรัฐ

"พิชัย" เผย เจรจาภาษีสหรัฐฯ ฟีดแบคดี แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องทำข้อเสนอเพิ่ม ยืนยันข้อตกลงต้อง Win-Win

Khaosod

“บัตรเดบิต ออมสิน อุ่นใจ” กับเงื่อนไขที่ไม่เหมือนเดิม

Thairath Money

เที่ยวไทยคนละครึ่ง พ่นพิษ ใบหยกสกายหยุดสำรองจองห้องพักชั่วคราว

ฐานเศรษฐกิจ

ค่าเงินบาทปิดตลาดวันที่ 4ก.ค.ที่ระดับ 32.35 บาทต่อดอลลาร์

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ไทยลุ้นระทึกจะโดนภาษีเท่าไหร่? หลังสหรัฐฯประกาศคุยจบเวียดนามโดน 20%

Amarin TV

สำรวจราคาข้าวแกง ผ่านรัฐบาล 4 ยุค จากจานละ 31 บาทเป็น 64 บาท

Amarin TV

28 ปี วิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 สู่ วิกฤตหนี้ครัวเรือนท่วมคนไทย

Amarin TV
ดูเพิ่ม
Loading...