โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

"นักวิชาการ มธ." ชี้ภาษี 25-28% ยังสู้ได้ "ไทย"ไม่ต้อง 0% ตาม "เวียดนาม" แนะเพิ่มปริมาณสั่งซื้อสินค้าสหรัฐฯ แทน

สยามรัฐ

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วันที่ 9 ก.ค.2568 รศ. ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนา (ICDS) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า การที่สหรัฐอเมริกาประกาศแจ้งอัตราภาษีนำเข้าที่จะเรียกเก็บจากไทยซึ่งอยู่ที่ 36% สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน มากกว่าเวียดนาม และมาเลเซีย นั้น มีความเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ ยังไม่ได้รับข้อเสนอเพิ่มเติมที่ไทยเพิ่งส่งไปเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2568 ที่ผ่านมา ส่วนตัวเชื่อว่าหากสหรัฐฯ เห็นข้อเสนอดังกล่าว อาจพิจารณาปรับลดภาษีนำเข้าลงมา เพราะข้อเสนอเหล่านั้นให้สิทธิประโยชน์แก่สหรัฐฯ มากกว่าครั้งแรกค่อนข้างมาก เช่น การเสนอเก็บภาษี 0% ในสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ กว่าพันรายการรวมถึงสินค้าเกษตร และมีการให้กรอบเวลาลดการเกินดุลการค้าที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์และประเมินข้อมูลการค้าและการลงทุนเชิงลึก และสภาวะความไม่แน่นอนของนโยบายและเศรษฐกิจของสหรัฐฯแล้ว ส่วนตัวคิดว่าอัตราภาษีที่จะทำให้ไทยยังคงรักษาระดับการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม และมาเลเซียได้ จะอยู่ที่ 25-28% ซึ่งถือเป็นจุดที่เหมาะสมและยอมรับได้

รศ. ดร.จุฑาทิพย์ กล่าวว่า จนกว่าจะถึงวันที่ 1 ส.ค. 2568 ซึ่งเป็นวันที่การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ยังพอมีระยะเวลาในการเจรจาต่อรอง โดยหากสหรัฐฯ ได้พิจารณาข้อเสนอที่ส่งไปเพิ่มเติมแล้ว แต่ยังคงอัตราภาษีนำเข้าไว้ตามเดิม หรือลดลงแต่ยังมากกว่า 25% – 28% ส่วนตัวเห็นว่า ไทยคงต้องยื่นข้อเสนอเพิ่มมากขึ้น ทว่าไม่ควรใช้วิธีการปรับลดกำแพงภาษีนำเข้าของไทยให้สหรัฐฯ เหลือเพียง 0% ทุกรายการสินค้า แบบที่เวียดนามทำ

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบการลดภาษีเหลือ 0% ทุกรายการระหว่างไทยกับเวียดนาม จะพบว่าเวียดนามจะได้รับผกระทบน้อยกว่าไทย เนื่องจากเวียดนามมีประสบการณ์เปิดการค้าเสรีให้สหภาพยุโรป (EU) และประเทศอื่นๆ มาแล้ว โดยเฉพาะในส่วนของสินค้าเกษตร ขณะที่ไทยยังมีการใช้นโยบายภาษีและมิใช่ภาษีค่อนข้างเข้มข้น จึงเกรงว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและเกษตรกรไทยที่จะปรับตัวไม่ทัน จึงเสนอว่าไทยควรใช้วิธีการเสนอเพิ่มจำนวนปริมาณสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นการทดแทนให้มากขึ้น เช่น การเพิ่มปริมาณนำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์ ก๊าซธรรมชาติ หรือการจัดซื้อเครื่องบิน เป็นต้น

นอกจากนี้ ไม่ว่าผลการพิจารณาปรับลดภาษีของสหรัฐฯ จะเป็นไปอย่างที่ต้องการหรือไม่ รัฐบาลไทยก็ควรจะต้องเริ่มต้นวางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณ เพื่อเยียวยาคนไทยผู้ได้รับผลกระทบจากการลดภาษีให้กับสหรัฐฯ เช่นผู้ประกอบการธุรกิจ หรือเกษตรกร และรัฐบาลจะต้องเร่งหาตลาดส่งออกให้มีความหลากหลาย (diversity) มากขึ้น ไม่พึ่งพาสหรัฐฯ มากจนเกินไปแบบที่ผ่านมา เพื่อป้องกันความไม่แน่นอนทางนโยบายซึ่งอาจจะเกิดการกลับไปกลับมาได้อีกเสมอ

“ตลาดอาเซียน แม้จะมีสินค้าคล้ายกันหลายอย่าง ทว่าแต่ละที่ก็มีความ Specialize เป็นของตัวเอง ที่ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันได้ หรือจะเป็นประเทศญี่ปุ่นที่ควรจะเพิ่มอัตราการส่งออกไปมากขึ้นหลังจากที่ลดน้อยลงไปมากก่อนหน้านี้ สำคัญที่สุดคือการเร่งทำข้อตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ร่วมกับ EU ซึ่งจะทำให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าไปได้มากขึ้น ประการสุดท้ายคือควรใช้โอกาสนี้ในการปฏิรูปประเทศ ทั้งเรื่องโครงสร้างการผลิตและการส่งออก โครงสร้างภาษีและไม่ใช่ภาษีอย่างจริงจัง รวมไปถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสินค้าของผู้ประกอบการไทย” รศ. ดร.จุฑาทิพย์ กล่าว

ด้าน รศ. ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนา (ICDS) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า นอกจากเหนือผลการเจรจาและมาตรการเยียวยาที่รัฐบาลต้องดำเนินการในทันทีแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือไทยควรใช้จังหวะนี้กลับมาทบทวนและแก้ปมปัญหาภายในประเทศเพื่อยกระดับประสิทธิภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมิติการลงทุนจากต่างชาติในไทย เช่น ปัญหาการตกเป็นเหยื่อนอมินีของชาวต่างชาติ เช่น การให้คนไทยถือหุ้นแทนคนต่างด้าว หรือสนับสนุนการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เข้าข่ายเป็นนอมินี และมีความผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542

รศ. ดร.อาชนัน กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าปัญหาอาจไม่ใช่แค่เรื่องของนอมินี แต่ต้องหันกลับมาดูว่าการประกอบธุรกิจโดยนักลงทุนต่างชาตินั้น ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด เกิดการจ้างงาน หรือการลงทุนเพิ่มขึ้นหรือไม่ ฯลฯ ตัวอย่างเช่นการเข้ามาของผู้ประกอบการจีนในช่วงที่ผ่านมา สิ่งที่ต้องพิจารณาคือลักษณะการลงทุนของผู้ประกอบการจีนบางส่วนในไทยสร้างผลประโยชน์ให้คนไทยมากน้อยเพียงใด เขากำลังใช้ต้นทุนและความได้เปรียบของตนเองจนก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการไทยหรือไม่

รศ. ดร.อาชนัน กล่าวต่อไปด้วยว่า หากพิจารณาเฉพาะในส่วนของปัญหานอมินี ก็ต้องดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความซับซ้อนหรือความไม่ทันสมัยของกฎหมายหรือไม่ เช่น หากต่างชาติอยากจะเข้ามาดำเนินการให้มีความถูกต้อง มันเป็นเรื่องยากและซับซ้อนหรือไม่ หรือมีปัจจัยที่เอื้อให้นักลงทุนรู้สึกอยากทำตามกระบวนการที่ถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ท่ามกลางปัญหาสังคมสูงวัยในไทยทรี่ประเทศขาดแคลนคนวัยแรงงาน การห้ามต่างด้าวประกอบกิจการเด็ดขาดตามบัญชี 1 ใน พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 หรืออนุญาตแบบมีเงื่อนไข ตามบัญชี 2 และอนุญาตโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ต้องมีผู้ถือหุ้นคนไทยมากกว่าต่างด้าว ตามบัญชี 3 กฎหมายดังกล่าวควรจะต้องมีการกลับมาทบทวนและปรับปรุงกันใหม่หรือไม่ หรืออาจจะต้องปลดล็อคในบางธุรกิจให้ต่างชาติทำได้มากขึ้น แต่ต้องควบคุม ตรวจสอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ให้ธุรกิจเหล่านั้นเกิดการลงทุน หรือจ้างงานคนไทย ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม และแก้ปัญหานอมินีได้ในระยะยาว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

‘ทักษิณ’ ยัน การเมืองยังไม่ถึงทางตัน ลั่น ‘ผมยังอยู่’ ไม่ยอมให้บ้านเมืองไปไม่รอด มั่นใจ ข้อกฎหมาย ‘นายกฯอิ๊งค์’ รอด มอง วันนี้ยังไม่จำเป็นจับมือ ‘พรรคส้ม’

16 นาทีที่แล้ว

เปิดมหกรรมผ้าลำพูน เสริมช่องทางการตลาดผ้าลำพูน

22 นาทีที่แล้ว

"พิชัย รมว.คลัง" สั่งเอกชนทำการบ้าน เจาะผลกระทบภาษีสหรัฐ พร้อมมาตรการรองรับ ส่ง 11 ก.ค.นี้

25 นาทีที่แล้ว
วิดีโอ

ทักษิณ ขยับ! - ไฮไลท์ประเด็นร้อน

37 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

‘ทักษิณ’ ร่ายยาวไม่ยอมให้ประเทศถึงทางตัน หาก ‘อิ๊งค์’ ไม่รอดเสนอ ‘ชัยเกษม’ มี สทร.อยู่ทั้งคน

ไทยโพสต์

‘ทักษิณ’ ยัน การเมืองยังไม่ถึงทางตัน ลั่นไม่ยอมให้บ้านเมืองไปไม่รอด มั่นใจ‘นายกฯอิ๊งค์’รอด ไม่จำเป็นจับมือ ‘พรรคส้ม’

สยามรัฐ

ทักษิณ ยันไม่รู้จัก 'ก๊กอาน' เชื่อปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ยังมีกลไกพูดคุยได้

MATICHON ONLINE

‘ทักษิณ’ ซัด ‘อนุทิน’ สวมรอยตีปี๊บเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ เป็นเหตุทำนักท่องเที่ยวจีนไม่มาไทย

เดลินิวส์

‘ทักษิณ’ ซัด ‘อนุทิน’ สวมรอยตีปี๊บคอมเพล็กซ์ แฉบิ๊กแก๊งคอล มีอพาร์ตเมนต์หลังละพันล้านใน กทม.

Khaosod

ทักษิณ’ มอง ‘ทรัมป์’ คุยแบบนักธุรกิจ ชี้ เวลายังไม่หมด หาทางต่อได้

เดลินิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม