โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ทรัมป์ยกระดับ‘สงคราม’ขู่ขึ้นภาษีพันธมิตรสนิทไปทั่ว แต่นโยบายการค้ายิ่งสับสนวุ่นวาย-หลายปท.หา‘ทางเลือกอื่น’

Manager Online

เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • MGR Online

ช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาทรัมป์ยกระดับสงครามการค้า ด้วยการขู่ขึ้นภาษีศุลกากรกับพวกพันธมิตรใกล้ชิดอย่างแคนาดา เม็กซิโก และอียู ตลอดจนจะใช้มาตรการเดียวกันนี้เล่นงานบราซิล โทษฐานมุ่งดำเนินคดีเอาผิดกับอดีตประธานาธิบดีซึ่งเป็นเพื่อนเกลอของตัวเขา ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ยิ่งตอกย้ำนโยบายการค้าที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ของผู้นำสหรัฐฯผู้นี้ ซึ่งกำลังทำให้ประเทศต่างๆ วุ่นวายใจ เพราะคาดเดายากว่า จะต้องเจออะไรต่อไป

ในวันเสาร์ (12 ก.ค.) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีศุลกากรกับสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรป (อียู) และเม็กซิโก สองคู่ค้าระดับใหญ่ที่สุดของอเมริกาในอัตรา 30%

เวนดี้ คัตเลอร์ อดีตผู้เจรจาการค้าสหรัฐฯ ชี้ว่า ความเคลื่อนไหวล่าสุดตอกย้ำนโยบายการค้าที่คาดเดาไม่ได้ ไม่ต่อเนื่อง มุ่งแต่จะทำตามความคิดตัวเองของทรัมป์ ซึ่งทำให้คู่ค้าคาดเดายากว่า จะต้องเผชิญกับอะไรกันแน่

ย้อนกลับไปเมื่อวันพฤหัสฯ (10 ก.ค.) ทรัมป์ก็ประกาศปุบปับขึ้นภาษีศุลกากรกับสินค้านำเข้าจากแคนาดา คู่ค้าใหญ่อันดับ 2 และพันธมิตรยาวนานของอเมริกาในอัตรา 35% มีผลวันที่ 1 ส.ค. แม้นายกรัฐมนตรีมาร์ก คาร์นีย์ ยอมลดภาษีบริการดิจิทัลที่ทรัมป์ระบุว่า ไม่เป็นธรรมต่อบิ๊กเทคของอเมริกาไปเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. แล้วก็ตาม

วันเดียวกันนั้น ทรัมป์กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์กับฝ่ายข่าวของเครือข่ายโทรทัศน์เอ็นบีซี ว่า ยังมีแผนขึ้นภาษีศุลกากรพื้นฐานเอากับพวกชาติคู่ค้าส่วนใหญ่ จากที่เวลานี้เก็บในอัตรา 10% ไปเป็น 20% เพื่อหารายได้มาอุดหนุนกฎหมายงบประมาณและลดหย่อนภาษีฉบับที่เขาให้ฉายาว่า “One Big Beautiful Bill” ซึ่งเขาเพ งลงนามบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 ที่ผ่านมา

ก่อนหน้านั้นไปอีก 1 วัน คือเมื่อวันพุธ (9) ผู้นำสหรัฐฯ ยังขู่รีดภาษีศุลกากรจากสินค้าเข้าบราซิลในอัตรา 50% โดยสาเหตุหลักคือเขาไม่ชอบใจวิธีปฏิบัติของรัฐบาลแดนแซมบ้าต่ออดีตประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนาโร ที่ขณะนี้ถูกดำเนินคดีข้อหาพยายามล้มล้างผลการเลือกตั้งปี 2022 ที่ตนเองแพ้ให้แก่ลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ประธานาธิบดีบราซิลคนปัจจุบัน

ในจดหมายที่ส่งถึงลูลา ทรัมป์อ้างข้างๆ คูๆ ว่า บราซิลใช้อุปสรรคการค้ากระทั่งเกินดุลการค้าอย่างไม่ยั่งยืนต่ออเมริกา ทั้งที่ความจริงนั้นอเมริกาส่งออกสินค้าไปยังบราซิลมากกว่าที่นำเข้าถึง 18 ปีติดต่อกัน และเกินดุลบราซิล 29,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา

เอสวาร์ ปราสาด ศาสตราจารย์นโยบายการค้าของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ตีความว่า ทรัมป์กำลังใช้ภาษีศุลกากรเป็นเครื่องมือเพื่อให้มีอิทธิพลเหนือชาติอื่นไม่เพียงด้านการค้าและเศรษฐกิจ แต่รวมถึงกิจการด้านการเมืองและกฎหมายท้องถิ่นด้วย

ทรัมป์ยังคงแสดงความเชื่อมั่นอย่างมากในอำนาจทางเศรษฐกิจของภาษีศุลกากร แม้ถึงตอนนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ภาษีเหล่านั้นไม่สามารถบีบบังคับให้ประเทศต่างๆ รีบบรรลุข้อตกลงทางการค้าก็ตาม

ทั้งนี้ ในวันที่ 2 เม.ย. ซึ่งทรัมป์เรียกว่าเป็น “วันปลดแอก” ของอเมริกา เขาประกาศจัดเก็บภาษีศุลกากรพื้นฐานอัตรา 10% เอากับสินค้าเข้าของแทบทุกชาติคู่ค้า แล้วยังมีภาษีศุลกากรตอบโต้ซึ่งมุ่งเก็บจากหลายสิบประเทศที่เกินดุลการค้าอเมริกา โดยมีอัตราลดหลั่นกันไปตั้งแต่ 10-50% ทว่าหลังจากตลาดการเงินทั่วโลกแสดงอาการปั่นป่วนหนัก โดยเฉพาะตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ทรัมป์ก็รีบสั่งระงับภาษีศุลกากรตอบโต้ออกไป 90 วัน โดยอบกว่าเพื่อให้ประเทศต่างๆ มีเวลาเจรจาต่อรองกับสหรัฐฯ

คณะบริหารของทรัมป์คุยว่าจะ “บรรลุข้อตกลง 90 ฉบับใน 90 วัน” แต่ปรากฏว่าก่อนที่เส้นตายการผ่อนผันจะสิ้นสุดลงเมื่อวันอังคาร (8) ที่ผ่านมา กลับทำได้จริงแค่ 2 ฉบับ คือข้อตกลงกับอังกฤษและเวียดนาม แถมยังอยู่ในลักษณะของกรอบข้อตกลงที่ยังไม่สมบูรณ์แบบด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ดี ทรัมป์ก็ไม่ได้ใช้อัตราภาษีที่ได้ระบุไว้เดิมใน “วันปลดแอก” กับพวกประเทศที่ยังเจรจากันไม่สำเร็จ หรือยังไม่ทันได้พบปะกัน โดยหันมาใช้วิธีส่งจดหมายถึงชาติคู่ค้า 23 ราย ระบุว่าจะเรียกเก็บภาษีศุลกากรจากพวกเขาเท่าไร ซึ่งมีตั้งแต่ 20% จากฟิลิปปินส์ จนถึง 50% จากบราซิล เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ทั้งนี้ถ้าประเทศเหล่านี้ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับอเมริกาก่อนวันดังกล่าว

แชด บราวน์ นักวิชาการอาวุโสของสถาบันปีเตอร์สันเพื่อเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ บอกว่า ไม่รู้สึกแปลกใจที่ทรัมป์ต้องการเวลาเพิ่มเพื่อกดดันคู่ค้าให้ยอมเปิดตลาดรับสินค้าอเมริกันมากขึ้น และกระทั่งเวลา 3 สัปดาห์ที่เลื่อนออกมานี้ ก็น่าจะยังไม่เพียงพออยู่นั่นเอง

บราวน์เสริมว่า ประเทศคู่ค้าต่างก็มีความท้าทายภายในประเทศของพวกเขาเองเกี่ยวกับสิ่งที่สามารถยอมได้หรือยอมไม่ได้ ตัวอย่างเช่นมาเลเซียที่ประกาศ “เส้นแดงที่จะไม่ยอมข้ามเด็ดขาด” ซึ่งรวมถึงข้อเรียกร้องของอเมริกาเกี่ยวกับการทำข้อตกลงของภาครัฐ ใบรับรองเรื่องอาหารฮาลาล มาตรฐานการแพทย์ และภาษีดิจิทัล

และแม้มาเลเซียให้สัญญาซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 30 ลำ ตลอดจนการประนีประนอมเกี่ยวกับเซมิคอนดักเตอร์และเทคโนโลยี แต่ซาฟรุล อาซิส รัฐมนตรีพาณิชย์ ยืนกรานว่า จะตกลงเฉพาะข้อตกลงที่เป็นธรรมเท่านั้น

ด้าน แมทธิว กู้ดแมน ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อการศึกษาภูมิเศรษฐศาสตร์ ของสภาว่าด้วยความสัมพันธ์ต่างประเทศ ที่เป็นหน่วยงานคลังสมองชื่อดัง ชี้ว่า เศรษฐกิจมูลค่า 30 ล้านล้านดอลลาร์และผู้บริโภคที่ใช้จ่ายอย่างเสรีของอเมริกา ทำให้ทรัมป์อยู่ในสถานะที่ได้เปรียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศที่พึ่งพิงการค้าอย่างมาก

อย่างไรก็ดี กู้ดแมน ซึ่งเป็นอดีตผู้อำนวยการเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศของสภาความมั่นคงแห่งชาติของอเมริกา สำทับว่า แม้ไม่อาจตัดขาดอเมริกาได้ แต่หลายประเทศไม่พอใจมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อต้านข้อเรียกร้องส่วนใหญ่ซึ่งเห็นว่ามากเกินไปของอเมริกา รวมทั้งเริ่มมองหาทางเลือกอื่น เช่น แคนาดากำลังเจรจาข้อตกลงการค้ากับประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่อาเซียนเองก็กำลังหันเหเข้าใกล้ชิดจีนใกล้ชิดมากขึ้น

ขณะเดียวกัน บางประเทศอาจแค่หวังอยู่รอดให้ได้นานกว่าทรัมป์ที่กระตือรือร้นชัดเจนในการประกาศชัยชนะหลังลงนาม “กรอบ” ข้อตกลง เช่น กรอบข้อตกลงกับจีนที่ยังเหลือประเด็นที่ยากที่สุดที่ต้องเจรจากันต่อไป

พวกรัฐบาลต่างประเทศยังอาจจะเพียงแค่หวังประคองตัวให้อยู่รอดไปจนกว่าทรัมป์จะพ้นตำแหน่ง โดยที่ตัวทรัมป์เองก็ทำท่าว่ามีความชื่นชอบที่จะได้ประกาศชัยชนะภายหลังการลงนามใน “กรอบ” ของข้อตกลง อย่างเช่นที่ทำไว้กับจีน โดยที่จริงๆ ยังปล่อยเว้นพวกประเด็นปัญหายากลำบากที่สุดสำหรับการเจรจาต่อไปในอนาคต

กระทั่ง วิลเลียม ไรน์ช อดีตเจ้าหน้าที่การค้าสหรัฐฯซึ่งเวลาทำงานอยู่กับศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา (CSIS) ยังเสนอแนะว่า สิ่งสำคัญสำหรับทรัมป์คือชัยชนะที่สามารถอวดต่อธารกำนัลได้ มากกว่าเรื่องที่ว่าชัยชนะดังกล่าวนี้คืออะไร ดังนั้น วิธีรับมือของประเทศต่างๆ จึงอาจจะอยู่ที่การยอมให้ทรัมป์สามารถอ้างได้ว่าชนะ โดยที่ตนเองเสียหายน้อยที่สุด

(ที่มา: เอพี)

website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Manager Online

Jeff Satur โกอินเตอร์! คอนเสิร์ตแรกกระหึ่มเม็กซิโก แฟน ๆ 3 พันคนอัดเต็มความจุ

15 นาทีที่แล้ว

อุ๊บ!..ใครๆ ก็อยากเห็น "อิ๊งค์" ลาออก และทำไมยังคิดถึง"ลุงตู่"!? ** “ทักษิณ” เดินหน้ารักษาอำนาจ ไม่สน ถูกร้องครอบงำพรรค ครอบงำรัฐบาล

24 นาทีที่แล้ว

กล้าพูด!'เตียบัญ'อยู่เป็นโต้กล่าวหาฝ่ายไทย บอกไม่มีแล้ว'สแกมเมอร์'ในกัมพูชา

35 นาทีที่แล้ว

"เชลซี" เก็บชัยเหนือ "เปแอสเช" 3-0 คว้าแชมป์สโมสรโลก รับเงินเหนาะๆ 93 ล้านปอนด์

35 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ชนินทร์ยืนยันรถไฟฟ้า 20 บาท ครอบคลุมทุกระบบ เพิ่มการเข้าถึงขนส่งสาธารณะ

THE STANDARD

14 กค. วันรู้จักฉลาม รณรงค์อนุรักษ์-ลดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความน่าสะพรึงกลัว

MATICHON ONLINE

เตือน 7 จังหวัดฝนตกหนัก เตือนระวังน้ำท่วมฉับพลัน

INN News

พระกัมพูชา มอบเงิน 80 บาท ให้ทหารถูกต่อย บอกถูกโจรสยามทำร้าย

Thaiger

เจ้าของเว็บพนัน ซัดทอด จ่ายค่าคุ้มครองรายเดือนให้ “ต้องคู้บอน”

NATIONTV

บอนด์ยีลด์ไทยจ่อ Inverted Yield Curve? สัญญาณเศรษฐกิจซึมยาว หลังยีลด์ 10 ปีต่ำสุดรอบเกือบ 4 ปี

THE STANDARD

กรมอุตุนิยมวิทยา วันนี้ เตือนฝนยังตกหนักช่วง 14-18 ก.ค.นี้

ประชาชาติธุรกิจ
วิดีโอ

"สุขา สุขขี" เนรมิตห้องน้ำเก็บโมลเดลตุ๊กตาสะสม

Thai PBS

ข่าวและบทความยอดนิยม

ทรัมป์เปิดศึกต่อ!สั่งขึ้นภาษีสินค้าอียู-เม็กซิโก30% ยุโรปโวยไม่เป็นธรรม-แต่เสียงแตกเรื่องการตอบโต้

Manager Online

ถอยฉาก! ออสเตรเลียตอบ “วอชิงตัน” ตรงไปตรงมาไม่ต้องการข้องเกี่ยวทางทหารในสงครามไต้หวันระหว่าง "สหรัฐฯ-จีน"

Manager Online

โดนเป็นแถว! “ทรัมป์” ข่มขู่เชือด EU-เม็กซิโก เจอภาษีโหด 30% หลังประกาศจะขึ้นภาษีแคนาดา 35% "คาร์นีย์" รีบชิงหาตลาดใหม่ส่งคนประชุม ASEAN ที่ "กัวลาลัมเปอร์" เล็งบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีกับเอเชีย

Manager Online
ดูเพิ่ม
Loading...