โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

‘วิทัย รัตนากร’ ผู้ผลิกบทบาทธนาคารออมสิน กับความสำเร็จ5ปีในการสร้าง Social Impact ช่วยคนไทย 13 ล้านชีวิตได้ไปต่อ

ไทยโพสต์

อัพเดต 15 กรกฎาคม 2568 เวลา 1.33 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เดินหน้าอย่างต่อเนื่องมาแล้วถึง 5 ปี ในการขับเคลื่อน ธนาคารออมสิน ในการเป็น ธนาคารเพื่อสังคม ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาภายใต้การนำของ วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ได้ยืนยันภารกิจหลักในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ บรรเทาความยากจน มุ่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด ESG เป็นกรอบการดำเนินธุรกิจ ปักธงสร้าง Social Impac ที่เป็นรูปธรรมผ่านกระบวนการดำเนินงาน ESG in Action บนเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ไปสู่เป้าหมายในการช่วยแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ซึ่งทั้งหมดสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ ออมสิน ในการเป็น “ธนาคารเพื่อสังคม ที่เป็นผู้นำด้านการส่งเสริมการออม สร้างความมั่นคงให้กับประชาชน เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” และพันธกิจ ในการ “สนับสนุนแห่งเงินทุนที่เป็นธรรม และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหาความยากจน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน”

วิทัย รัตนากร เปิดเผยความสำเร็จการนำองค์กร และผลการดำเนินงานธนาคารออมสิน ในรอบระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2563 ว่า ได้ริเริ่มปรับจุดยืนทางยุทธศาสตร์ พลิกบทบาทธนาคารมาเป็น “ธนาคารเพื่อสังคม” โดยการทำธุรกิจธนาคารปกติเพื่อนำกำไรเชิงพาณิชย์ มาใช้สนับสนุนการทำภารกิจเชิงสังคม และขับเคลื่อนภารกิจหลัก 4 ด้านของธนาคาร ได้แก่ 1. การสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนในระบบสถาบันการเงิน 2. การแก้ไขปัญหาหนี้สิน 3. บทบาทงานพัฒนาสังคมและชุมชน และ 4. การสนับสนุนนโยบายรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ อันถือเป็นหน้าที่ของสถาบันการเงินของรัฐตามกฎหมาย

โดยผลงานที่ผ่านมา ธนาคารได้สร้าง Social Impact เกิดผลกระทบเชิงบวก สามารถช่วยเหลือคนไทยจำนวนกว่า 13 ล้านคน จากจำนวนบัญชีทั้งสิ้น 18.8 ล้านบัญชี คิดเป็นเม็ดเงิน 1.4 ล้านล้านบาท และหลังจากนี้ธนาคารตั้งเป้าสร้าง Social Impact ให้ได้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านรายต่อปี และแม้ว่าธนาคารจะปรับจุดยืนทางยุทธศาสตร์เป็นธนาคารเพื่อสังคม ช่วยคนฐานรากได้มากขึ้น แต่สถานะทางการเงินยังเติบโตแข็งแกร่ง ไม่เกิดความเสียหายแก่องค์กร โดยธนาคารออมสินยังสามารถนำส่งเงินกำไรให้เป็นงบประมาณกับรัฐบาล ได้มากกว่า 96,000 ล้านบาท ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา นับเป็นรัฐวิสาหกิจที่ส่งเงินให้รัฐสูงสุดหนึ่งในสามลำดับแรก

“ยังคงตั้งเป้าปรับลดกำไรลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อขยายผลการสร้างผลลัพธ์เชิงบวกต่อสังคม (Social Impact) ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถทำภารกิจและโครงการช่วยเหลือประชาชนและสร้างประโยชน์ให้สังคมได้มากขึ้น ผ่านบทบาทพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นบทบาทใหม่ที่จะช่วยขับเคลื่อนขยายผลการสร้าง ทั้งในเชิงลึกและวงกว้างมากขึ้น เป็นการทำให้เกิดความชัดเจนว่าบทบาทการช่วยเหลือสังคม ซึ่งในเรื่องนี้มีความสำคัญเหนือกว่าภารกิจการสร้างอัตรากำไรทางธุรกิจ” วิทัย กล่าว

สำหรับภารกิจที่สร้าง Impact โดดเด่น คือ การสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนในระบบสถาบันการเงิน (Financial Inclusion) โดยแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างทางการเงินและสร้างนวัตกรรมการเงินเพื่อสังคม ช่วยคนไทยกลุ่มฐานรากให้เข้าถึงสินเชื่อในระบบแล้ว เป็นจำนวนกว่า 7.5 ล้านราย หรือ 10.4 ล้านบัญชี คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 1.4 ล้านล้านบาท ผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ที่มีผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้วกว่า 340,000 ราย วงเงินกว่า 6,000 ล้านบาท การริเริ่มโครงการสินเชื่อสร้างเครดิตสร้างโอกาส เพื่อกลุ่ม Unserved/Underserved และการเปิดบริษัท เงินดีดี จำกัด เพื่อขยายโอกาสการปล่อยสินเชื่อแก่กลุ่มฐานรากได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังทำภารกิจที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันสมบูรณ์ในตลาดสินเชื่อจำนวนทะเบียนมอเตอร์ไซค์ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างดอกเบี้ยในตลาดนี้ ช่วยให้ลูกค้ากลุ่มฐานรากได้เข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำด้วยต้นทุนที่เป็นธรรม ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดจำนำทะเบียนลดลงเหลือ 16-18% โดยมาตรการดังที่กล่าวมาเป็นเพียงบางส่วนของภารกิจสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

ด้านการแก้ไขปัญหาหนี้สิน นับตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน ธนาคารสามารถช่วยเหลือบรรเทาภาระหนี้ และป้องกันไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียประวัติทางการเงิน จำนวนลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 6.4 ล้านราย เป็นจำนวน 8.5 ล้านบัญชี ผ่านโครงการแก้หนี้เชิงรุก อาทิ การปลดหนี้ลูกหนี้รายย่อยสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบในช่วงโควิด รวมแล้วกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรการ Re-finance เพื่อสังคม และการชะลอการดำเนินคดีตามกฎหมายกับลูกหนี้สถานะ NPLs ผ่านมาตรการ 4 ไม่ การพักหนี้ ลด/ไม่คิดดอกเบี้ย

การขับเคลื่อนมาตรการคุณสู้ เราช่วย ได้มากถึง 190,000 ราย หรือ 300,000 บัญชี คิดเป็น 33% ของผู้มีสิทธิ์ที่ลงทะเบียนทั้งระบบ ตลอดจนการตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์อารีย์ จำกัด หรือ Ari-AMC เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ด้อยคุณภาพ ทั้งหมดนี้เพื่อฟื้นเสถียรภาพทางการเงิน และคืนความสามารถในการดำรงชีวิตให้ประชาชน โดยประคับประคองไม่ให้ลูกหนี้เสียวินัยการเงินด้วย

ภารกิจสำคัญอีกด้านที่ประสบความสำเร็จชัดเจน คือ ด้านการพัฒนายกระดับศักยภาพชุมชนและสังคม ที่มีผู้ได้รับประโยชน์แล้วกว่า 1.07 ล้านราย ผ่านโครงการพัฒนาต่าง ๆ อาทิ โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบองค์รวม (Holistic Area-Based Development) โครงการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน รวมถึงเดินหน้าภารกิจส่งเสริมทักษะความรู้ทางการเงินและการออม ผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการออมต่อเนื่องและการออมระยะยาวสำหรับกลุ่มเป้าหมายหลากหลาย และการใช้เครื่องมือให้ความรู้ใหม่ ๆ เช่น แอปพลิเคชันโค้ชออม เป็นต้น

อีกหนึ่งความสำเร็จที่สำคัญ คือ การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาวของธนาคารออมสิน เพื่อเป้าหมายความสำเร็จในการขยายผลสร้าง Social Impact ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยธนาคารได้ริเริ่มการบริหารจัดการรูปแบบกลุ่มธุรกิจ จัดตั้ง 4 บริษัทย่อยทำธุรกิจ 4 ด้าน ได้แก่ 1. บริษัท เงินดีดี จำกัด ขยายผลการเข้าถึงสินเชื่อของรายย่อย/กลุ่มฐานราก 2. บริษัท มีที่ มีเงิน จำกัด ขยายการเข้าถึงสินเชื่อ SMEs 3. บริษัท บริหารสินทรัพย์อารีย์ จำกัด เพื่อแก้ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ และ 4. บริษัท จีเอสบี ไอที แมเนจเมนท์ จำกัด เพื่อยกระดับศักยภาพ Digital & AI สนับสนุนภารกิจธนาคารออมสิน

อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน ธนาคารออมสินเป็นรัฐวิสาหกิจกลุ่ม 6 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง รับผิดชอบขับเคลื่อนทุกบทบาทภารกิจของธนาคารเพื่อสังคมทั้ง 4 บทบาท โดยที่ผลการดำเนินงานด้านการเงินของธนาคารมีความมั่นคงแข็งแกร่ง มีสินทรัพย์ สินเชื่อ และเงินฝากเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ในระดับสูง ที่ระดับ 18.83 และมีเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั่วไป (General Provision) ที่เติบโตจาก 4 พันล้านบาท ในปี 2562 สูงขึ้นเป็น 7.3 หมื่นล้านบาทในปัจจุบัน โดยเงินสำรองรวมสูงแตะระดับ 1.3 แสนล้านบาท สะท้อนความมั่นคงแข็งแกร่งของธนาคาร ขณะที่ยังคงสามารถนำส่งกำไรกลับเป็นรายได้เข้าแผ่นดิน (เงินนำส่งคลัง) ได้สูงเป็นลำดับที่ 3 หรือกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท ในปี 2567

วิทัยกล่าวยืนยันว่า การเดินหน้าภารกิจตามจุดยืนธนาคารเพื่อสังคม และยังคงตั้งเป้าหมายในการขยายผลในการสร้าง Social Impact ในระยะข้างหน้า ซึ่งเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม!!

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

‘กานต์ – Lil king the Gost’ ตัวแทน ‘เสก โลโซ’ ปันน้ำใจ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แม่ทัพภาคที่ 2 ขอบคุณประชาชนไปเที่ยวปราสาทช่วงวันหยุดยาว ทหารมีกำลังใจเต็มเปี่ยม

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

อดีตแม่ยก ปชป.-ลุงสุทิน อัดโฆษกเพื่อไทยหน้าหงาย ยันรัฐบาลชวนไม่เคยปรึกษาทักษิณ

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘อนุทิน’ ลั่นไม่ใช่ขี้ข้า ‘คนขายชาติ-คนโกง’ ชี้แก้ปัญหาชายแดนต้องเปลี่ยนรัฐบาล

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

LINE TODAY POLL เปิดผลโหวตเด็ด คนไทยคุมใช้จ่าย-ห่วงฝุ่นพิษ-อิน T-POP

Manager Online

ลุ้น! "รมว.คลัง" ชงครม. (15 ก.ค.) เสนอชื่อ "วิทัย รัตนากร" ผอ.แบงก์ออมสิน นั่งเก้าอี้ผู้ว่าธปท.คนใหม่

สยามรัฐ

'แพทองธาร' รมว.วัฒนธรรม หารือ ภาคเอกชน-เลขาธิการ BOI เดินหน้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยต่อเนื่อง

VoiceTV

เซ็นจ้างแล้ว 135 ล้าน ทบทวนศึกษา “สายสีแดง” วงเวียนใหญ่-มหาชัย จบปีหน้า

เดลินิวส์

ททท.ปรับสมดุลโครงสร้างตลาดท่องเที่ยวปี 69 เจาะกลุ่มคุณภาพคาดสร้างรายได้โตเพิ่ม 7%

สยามรัฐ

GULF ซื้อหุ้น AISBB เพิ่มดันถือ 50% จ่อเปลี่ยนชื่อใหม่ ปักหมุดผู้นำคลาวด์-ดิจิทัลครบวงจร

PostToday

'กลุ่มดุสิตธานี'เปิดตัวแบรนด์ใหม่'ดุสิต โฮเทล' รุกตลาดอัปเปอร์อัปสเกลคาดภายใน 2 ปีเซ็นสัญญาเพิ่มอีก 8 แห่ง

สยามรัฐ

เจาะสงครามกินด่วน! ตี๋น้อยฮิต ลูกค้าวันละ 1.2 แสนคน MK เทหมดหน้าตัก ส่ง 'โบนัสสุกี้' ท้าสู้

MATICHON ONLINE

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...