โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ถอดบทเรียน ‘นิรโทษกรรม’ ฟิลิปปินส์ เมื่อความผิดถูกลบล้าง เผด็จการไม่ได้รับโทษ

THE STANDARD

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
ถอดบทเรียน ‘นิรโทษกรรม’ ฟิลิปปินส์ เมื่อความผิดถูกลบล้าง เผด็จการไม่ได้รับโทษ

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา มีการพิจารณาร่างกฎหมาย ‘นิรโทษกรรมทางการเมือง’ 5 ร่างด้วยกันในวาระรับหลักการ (วาระที่ 1)

แต่สุดท้ายมีเพียง 3 ร่าง จากพรรครวมไทยสร้างชาติ, พรรคครูไทยเพื่อประชาชน และพรรคภูมิใจไทย เท่านั้น ที่ผ่านวาระรับหลักการ ขณะที่อีก 2 ร่าง จากพรรคก้าวไกล (ปัจจุบันพรรคประชาชน) และร่างกฎหมายจากภาคประชาชน ถูกตีตกไป

ขณะที่ร่างกฎหมายจากทั้ง 3 พรรคที่ผ่านวาระแรกนั้น ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า จะมีการนิรโทษกรรมให้แก่อดีตผู้นำ ผู้มีอำนาจที่เคยกระทำผิดด้วยหรือไม่ จึงเกิดคำถามตามมาว่า การนิรโทษกรรมควรมีขอบเขตในการลบล้างความผิดแก่ใครบ้าง

ปรากฏการณ์นี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสังคมไทย หากแต่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ฟิลิปปินส์ ก็เคยเผชิญมาก่อน

ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 หลังจากเผด็จการ ‘เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส’ ถูกโค่นอำนาจโดยพลังของประชาชน รัฐบาลใหม่ของฟิลิปปินส์ได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมหลายฉบับ เพื่อปลดปล่อยนักโทษการเมือง และหวังให้ประเทศเดินหน้าสู่ความสันติสุข

แต่ในหลายสิบปีต่อมา ตระกูลมาร์กอส ได้กลับคืนสู่วงอำนาจทางการเมืองอีกครั้ง ลูกชายของเขาได้รับเลือกให้นั่งเก้าอี้ ‘ประธานาธิบดี’ เหมือนที่พ่อของเขาเคยอยู่ในอำนาจนี้ และนี่คือบทเรียนที่ควรศึกษาจากตัวอย่างประวัติศาสตร์ในเวลาอันใกล้ที่ผ่านมานี้

จุดเริ่มต้นเส้นทางอำนาจของ ‘เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส’

‘เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส’ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 10 ของฟิลิปปินส์ โดยได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งในปี 1965 และอยู่ในอำนาจยาวนานจนถึงปี 1986 ตลอดเวลากว่า 20 ปีบนเวทีการเมือง มาร์กอสเคยได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงแรกจากการผลักดันให้ประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจ

‘มาร์กอส’ เติบโตในครอบครัวนักการเมือง บิดาของเขาเคยเป็นสมาชิกรัฐสภา และปลูกฝังแนวคิดเรื่องความพยายาม การแข่งขัน และการเอาชนะในทุกวิถีทาง เขาเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยม มีข่าวลือว่าได้รับเหรียญทองจากมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ และสอบผ่านเนติบัณฑิตด้วยคะแนนสูงถึง 98.01% ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดในประเทศในขณะนั้น

ช่วงสงครามแปซิฟิก ‘มาร์กอส’ สมัครเข้าเป็นทหาร และได้รับยศร้อยโท พร้อมกับจัดตั้งหน่วยเสรีชนเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น เขาอ้างว่าตนได้รับเหรียญแสดงถึงความกล้าหาญมากถึง 27 เหรียญ ต่อมาหลังสงคราม เขาได้เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการพลเรือนในกองทัพสหรัฐฯ ที่ประจำอยู่ในฟิลิปปินส์

บิดาของเขาซึ่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์ในช่วงสงคราม กลายเป็นแรงผลักดันให้เขาก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมือง ‘มาร์กอส’ เริ่มต้นด้วยการลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดอีโลโคสนอร์เต บ้านเกิดของเขา และได้รับเลือกตั้งถึงสองสมัยในปี 1953 และ 1957

ต่อมาในปี 1959 เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งเป็นเส้นทางสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีตามกฎหมายของฟิลิปปินส์ ขณะหาเสียง ‘มาร์กอส’ ได้เข้าร่วมกับพรรคชาตินิยม (Nacionalista) และสามารถชนะการเลือกตั้งในวันที่ 9 พฤศจิกายน 1965 โดยเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 30 ธันวาคมปีเดียวกัน

การดำรงตำแหน่งในสมัยแรก ‘มาร์กอส’ ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างล้นหลาม จากการพัฒนาเศรษฐกิจและความพยายามลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย อย่างไรก็ตาม เมื่อเขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมัยที่ 2 และได้รับชัยชนะในปี 1969 ก็เริ่มมีข้อกล่าวหาเรื่องการซื้อเสียง โดยมีรายงานว่าใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการเลือกตั้งครั้งนั้น

ภายหลังปี 1969 ประเทศฟิลิปปินส์เผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ อัตราการว่างงานสูง รวมถึงการคอร์รัปชันของข้าราชการ และปัญหาอาชญากรรมที่แพร่หลาย ทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากภาคประชาชน โดยเฉพาะในหมู่นักศึกษาและแรงงาน ซึ่งออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

การประท้วงรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะจากกลุ่มนักศึกษาฝ่ายซ้ายจัด ทำให้ ‘มาร์กอส’ ออกประกาศกฎอัยการศึกในเดือนกันยายน ปี 1972 ซึ่งกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เขาเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นเผด็จการอย่างเต็มรูปแบบในเวลาต่อมา

ที่มา: Wikimedia Commons

แก้ไขรัฐธรรมนูญ รวบอำนาจให้ตัวเอง

หลังประกาศกฎอัยการศึก ‘มาร์กอส’ ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 1973 เพื่อเปิดทางให้ตัวเองสามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไปได้ไม่จำกัด เพราะรัฐธรรมนูญฉบับเดิมปี 1935 กำหนดให้ดำรงตำแหน่งได้แค่ 2 สมัย

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปลี่ยนระบบการเมืองของฟิลิปปินส์ จากระบอบประธานาธิบดี เป็นระบอบรัฐสภา ซึ่งตามหลักการแล้ว อำนาจสูงสุดควรอยู่ที่นายกรัฐมนตรี แต่ ‘มาร์กอส’ กลับไม่ยอมลงจากตำแหน่ง และยังคงรวบอำนาจไว้ที่ตัวเองฝ่ายเดียว

ต่อมาในปี 1976 ก็มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง เพื่อให้อำนาจประธานาธิบดีสามารถออกกฎหมายได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา และยังสามารถแต่งตั้งสมาชิกรัฐสภาบางส่วนได้เอง ส่งผลให้เขากลายเป็นผู้นำเผด็จการที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ

ในช่วงกฎอัยการศึก ‘มาร์กอส’ ไล่ปราบปรามฝ่ายตรงข้าม รวมถึงสั่งปิดปากสื่อ ห้ามวิจารณ์รัฐบาล และยุบพรรคฝ่ายค้านจนเหลือเพียงพรรคเดียวในสภา คือพรรค Kilusang Bagong Lipunan (KBL) ซึ่งเป็นพรรคของเขา

อย่างไรก็ตาม ภายใต้แรงกดดันจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ที่วิจารณ์เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการขาดกลไกตรวจสอบถ่วงดุล ‘มาร์กอส’ จึงแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งในปี 1981 เพื่อแสดงท่าทีต่อประชาคมโลกว่าเขายอมลดอำนาจลง พร้อมประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกในเดือนมกราคมปีเดียวกัน

‘มาร์กอส’ ยังพยายามสร้างภาพว่าประเทศกลับคืนสู่ประชาธิปไตย ด้วยการจัดให้มีการลงประชามติผ่านการประชุมระดับหมู่บ้าน แต่ก็ถูกวิจารณ์ว่ามีการควบคุมผลลัพธ์ให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาลมากกว่าความเห็นที่แท้จริงของประชาชน

ที่มา: britannica

ลอบสังหาร ‘เบนนิกโญ อากีโน จูเนียร์’ จุดเริ่มต้นของการทวงคืนประชาธิปไตย

‘เบนนิกโญ อากีโน จูเนียร์’ หรือ ‘นินอย’ วุฒิสมาชิกฝ่ายค้านจากพรรค Liberal Party (LP) เป็นบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของ ‘มาร์กอส’ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเด็นการใช้อำนาจโดยมิชอบและการคอร์รัปชัน

หลังจากการประกาศกฎอัยการศึกในปี 1972 ‘นินอย’ ถูกจับกุมในข้อหาก่อความไม่สงบต่อรัฐ และควบคุมตัวนานเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งในปี 1977 ศาลทหารได้ตัดสินให้ลงโทษประหารโดยการยิงเป้า แต่การถูกกดดันจากนานาชาติ ทำให้ ‘มาร์กอส’ ผ่อนผันการประหารชีวิตของเขา

ปี 1980 เขาได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรักษาโรคหัวใจในสหรัฐอเมริกา และใช้เวลานั้นรณรงค์ต่อต้านระบอบเผด็จการของมาร์กอส โดยพยายามปลุกกระแสจากภาคประชาชนรวมถึงคริสตจักรที่มีผลต่อประชาชนชาวฟิลิปปินส์ในขณะนั้น

กระทั่งวันที่ 21 สิงหาคม 1983 ‘นินอย’ ตัดสินใจเดินทางกลับฟิลิปปินส์ แต่ถูกลอบสังหารทันทีที่ออกจากเครื่องบิน โดยชายในเครื่องแบบทหารที่มาควบคุมตัวเขา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจและเสถียรภาพการเมืองที่กำลังย่ำแย่ จึงทำให้ประชาชนยิ่งเสื่อมศรัทธาในตัว ‘มาร์กอส’ อย่างรุนแรง

แม้ในปี 1985 ศาลจะชี้ว่าการลอบสังหารเป็นฝีมือของทหารชั้นผู้น้อย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจระดับสูง แต่ประชาชนกลับไม่เชื่อคำตัดสิน และเริ่มเรียกร้องความยุติธรรมอย่างกว้างขวาง กระแสต่อต้าน ‘มาร์กอส’ ทวีความรุนแรงขึ้น โดยมี ‘คอราซอน อากีโน’ ภรรยาของ ‘นินอย’ ขึ้นมาเป็นแกนนำ

‘มาร์กอส’ ตัดสินใจจัดการเลือกตั้งในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 1986 เพื่อหาความชอบธรรมให้ตนเอง ขณะที่ฝ่ายค้านเสนอชื่อ ‘คอราซอน อากีโน’ เป็นผู้สมัครในนามแนวร่วมพรรคฝ่ายค้าน United Nationalist Democratic Organization (UNIDO) ซึ่งรวมพรรคต่างๆ รวมถึงพรรค Liberal Party (LP) ด้วย โดยได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มนักศึกษา กลุ่มแรงงาน ฝ่ายซ้าย และศาสนจักร

แม้ผลการเลือกตั้งจะออกมาว่า ‘มาร์กอส’ เป็นผู้ชนะ แต่กลับมีข้อกังขาว่าเป็นการโกงเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนลุกฮือออกมาต่อต้านอย่างกว้างขวาง แม้แต่รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเคยสนับสนุน ‘มาร์กอส’ ก็เริ่มไม่สนับสนุนตัวเขาเพราะเกรงว่าจะกระทบต่อภาพลักษณ์ในระดับนานาชาติ

เหตุการณ์นี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติประชาชน (People Power Revolution) ครั้งสำคัญ ที่นำไปสู่การสิ้นสุดอำนาจของเฟอร์ดินานด์ มาร์กอสในที่สุด

ที่มา: positivelyfilipino

กลับคืนสู่ประชาธิปไตยโดย ‘คอราซอน อากีโน’

การปฏิวัติประชาชน (People Power Revolution) เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 22–25 กุมภาพันธ์ 1986 เพื่อล้มล้างอำนาจของ ‘มาร์กอส’ โดยมีประชาชนหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา ปัญญาชน แรงงาน และกลุ่มศาสนา โดยเฉพาะคริสตจักรคาทอลิก ออกมารวมตัวกันประท้วง

การประท้วงครั้งใหญ่นี้ยิ่งทำให้ ‘มาร์กอส’ สูญเสียความนิยมมากขึ้น เขาสั่งให้ทหารเข้าสลายการชุมนุม แต่กลุ่มทหาร Reform the Armed Forces Movement (RAM) ซึ่งนำโดย ฟิเดล รามอส (Fidel Ramos) รองเสนาธิการกองทัพ และ ฮวน ปอนเซ เอนริเล (Juan Ponce Enrile) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในเวลานั้น กลับแปรพักตร์ไปร่วมกับผู้ประท้วง และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้ยิงประชาชน ส่งผลให้ ‘มาร์กอส’ ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์และต้องสิ้นสุดอำนาจอย่างรวดเร็ว

คืนวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 1986 ‘มาร์กอส’ หลบหนีออกจากประเทศไปยังสหรัฐฯ และใช้ชีวิตอยู่ที่ฮาวายจนถึงวาระสุดท้าย เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 กันยายน 1989 โดยไม่เคยต้องรับโทษทางกฎหมาย

หลังการโค่นล้มอำนาจ ‘มาร์กอส’ กลุ่มผู้ประท้วงบางส่วนได้เข้าไปในพระราชวังมาลากัง ซึ่งเป็นบ้านพักของประธานาธิบดี และพบกับทรัพย์สินอันมั่งคั่งของตระกูลมาร์กอสที่สะสมมาตลอดกว่า 20 ปีที่ครองอำนาจ

‘คอราซอน อากีโน’ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้รับการยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยอย่างสันติ แต่เนื่องจากเธอไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน ทำให้การบริหารประเทศไม่ราบรื่นนัก และยังต้องเผชิญกับความพยายามก่อรัฐประหารหลายครั้ง

ไม่กี่วันหลังเข้ารับตำแหน่ง ‘คอราซอน อากีโน’ มีคำสั่งปล่อยนักโทษทางการเมืองจำนวน 39 คน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1986 รวมถึงนักเคลื่อนไหว นักกฎหมาย และผู้ที่ถูกคุมขังในเรือนจำลับของ ‘มาร์กอส’ ต่อมาในวันที่ 1 มีนาคม 1986 มีการปล่อยนักโทษทางการเมืองเพิ่มเติม รวมแล้วประมาณ 441 คน ซึ่งรวมถึงแกนนำพรรคคอมมิวนิสต์

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1987 รัฐบาลได้ออกประกาศฉบับที่ 80 นิรโทษกรรมสำหรับผู้กระทำผิดด้วยแรงจูงใจทางการเมือง เช่น การปลุกปั่น การก่อกบฏ หรือการล้มล้างรัฐบาล แต่ไม่รวมผู้ที่กระทำผิดโดยมีแรงจูงใจส่วนตัว เช่น การก่ออาชญากรรมทั่วไป

อย่างไรก็ดี รัฐบาลไม่ได้ออกนิรโทษกรรมแบบครอบคลุมทั้งหมด เนื่องจากกังวลว่าหากปล่อยนักโทษโดยไม่ผ่านการคัดกรอง อาจรวมถึงผู้ก่อการร้ายหรือผู้ที่กระทำผิดร้ายแรงเข้าไปด้วย อีกทั้งยังมีรายงานว่า ‘คอราซอน อากีโน’ เลือกจับมือกับกองทัพเพื่อรักษาเสถียรภาพของประเทศ ทำให้ไม่สามารถล้างอิทธิพลเผด็จการเก่าได้ทั้งหมด

ในด้านความรับผิดของตระกูลมาร์กอส ช่วงแรก ‘คอราซอน อากีโน’ ไม่อนุญาตให้พวกเขากลับเข้าประเทศ แต่ภายหลังในวันที่ 1 สิงหาคม 1991 ได้อนุญาตให้เดินทางกลับมาเพื่อรับโทษใน 38 ข้อหา เช่น การทุจริต การเลี่ยงภาษี และการยักยอกทรัพย์ โดย Presidential Commission on Good Government (PCGG) เคยประเมินว่าเป็นมูลค่าราว 5-10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตาม ‘มาร์กอส’ เสียชีวิตในปี 1989 ก่อนจะถูกนำตัวขึ้นศาล ในขณะที่ ‘อิเมลดา มาร์กอส’ ภรรยา และ ‘บองบอง มาร์กอส จูเนียร์’ ลูกชาย แม้จะเดินทางกลับมารับทราบข้อกล่าวหา แต่สุดท้ายก็ไม่ถูกจำคุกจริง ทั้งเพราะความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม ขาดพยานหลักฐาน และการหมดอายุความของคดีคอร์รัปชันจำนวนมากที่ตกค้างในศาลมายาวนานกว่า 30 ปี

ที่มา: National Historical Commission of the Philippines

นิรโทษกรรมที่ไม่มีผลต่ออำนาจตระกูลมาร์กอส

ต่อมาในสมัยรัฐบาลของ ‘โรดรีโก ดูแตร์เต’ ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของฟิลิปปินส์ ได้มีการย้ายร่างของ ‘เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส’ ที่เดิมถูกเก็บไว้ที่ฮาวาย กลับมาฝังที่สุสานวีรชนภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดกระแสคัดค้านจากกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมถึงครอบครัวของผู้เสียชีวิตจากยุคเผด็จการ

นอกจากนี้ ‘ดูแตร์เต’ ยังให้การสนับสนุน ‘บองบอง มาร์กอส จูเนียร์’ ในการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งในเขตบ้านเกิดบิดาของเขาอย่างเมืองอิโลโคสนอร์เต และในพื้นที่มินดาเนา พร้อมกับสนับสนุนการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อลบภาพจำเรื่องความโหดร้ายของยุค ‘มาร์กอส’ และกล่าวว่าเป็นยุคทองแห่งความเจริญรุ่งเรือง

การสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย ช่วยให้ ‘บองบอง มาร์กอส จูเนียร์’ เข้าถึงคนรุ่นใหม่จำนวนมากที่ไม่ทันยุคเผด็จการ และส่งผลให้เขาชนะการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 17 ของฟิลิปปินส์ในปี 2022

เมื่อขึ้นสู่อำนาจ ‘บองบอง มาร์กอส จูเนียร์’ ได้ออกประกาศนิรโทษกรรม ฉบับที่ 403-406 ให้กับกลุ่มติดอาวุธและกลุ่มต่อต้านรัฐในช่วงการใช้กฎอัยการศึกยุครัฐบาลของ ‘มาร์กอส’ เช่น กลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (MILF) และ พรรคคอมมิวนิสต์กองทัพประชาชนใหม่ (CPP-NPA-NDF)

แต่อย่างไรก็ตาม การนิรโทษกรรมเหล่านี้ดูเหมือนจะถูกใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้รัฐบาลดูเป็นฝ่ายให้อภัย มากกว่าจะเป็นการยอมรับผิด หรือเยียวยาความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในอดีต

สุดท้ายแล้ว นิรโทษกรรมของฟิลิปปินส์ จึงกลายเป็นเพียงการอภัยโทษให้กับผู้ที่เคยต่อต้านรัฐ โดยที่ไม่เคยจัดการรากของปัญหาอย่างแท้จริง ทั้งอดีตผู้มีอำนาจบางคนกลับคืนสู่การเมืองได้อีกครั้ง และบุตรชายของผู้นำเผด็จการก็ได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศ สะท้อนถึงช่องโหว่ในกระบวนการยุติธรรม ที่ไม่เคยปิดบัญชีอดีตอย่างจริงจัง

ที่มา: eastasiaforum

บทเรียนจากฟิลิปปินส์ ถึงกฎหมายนิรโทษกรรมของไทย

การเปลี่ยนผ่านจากระบอบเผด็จการสู่ประชาธิปไตยในหลายประเทศ มักเผชิญกับคำถามสำคัญคือ “แล้วจะมีบทลงโทษต่อผู้ที่กระทำผิดอย่างไร” ฟิลิปปินส์ก็เป็นตัวอย่างสำคัญที่ไม่มีบทลงโทษอย่างจริงจังต่อผู้กระทำผิด โดยสะท้อนผ่านตระกูลมาร์กอส

การใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม ทำให้ฟิลิปปินส์ตกอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ ที่ผู้นำละเมิดสิทธิมนุษยชนและทุจริตการเลือกตั้ง แม้จะเปลี่ยนผ่านสู่ยุครัฐบาลใหม่ แต่คดีความต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตระกูลมาร์กอสกลับดำเนินการอย่างล่าช้า หมดอายุความ หรือไม่มีคำตัดสินที่จริงจัง จนท้ายที่สุดแล้วก็ไม่มีใครในตระกูลนี้ได้รับบทลงโทษ

แม้จะไม่มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างเป็นทางการ ว่าตระกูลมาร์กอสได้รับการยกเว้นโทษ แต่กระบวนการยุติธรรมที่เพิกเฉย ทำให้กลายเป็นการนิรโทษกรรมแบบไม่เป็นทางการ ที่ทำให้คนในตระกูลมาร์กอสไม่เคยต้องรับผิดทางกฎหมาย และหวนกลับสู่อำนาจทางการเมืองได้อีกครั้ง เช่นกรณี ‘บองบอง มาร์กอส จูเนียร์’ ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ทั้งที่เป็นลูกชายของอดีตผู้นำเผด็จการ

คำถามจึงไม่ใช่แค่ “ทำไมคนในตระกูลนี้ถึงยังมีอำนาจ” แต่คือ “เพราะอะไรประชาชนฟิลิปปินส์ จึงยอมให้ทายาทของอดีตผู้นำเผด็จการกลับมามีบทบาทอีกครั้ง”

คำตอบอาจอยู่ที่ความล้มเหลวของกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เคยเอาผิดอย่างจริงจัง และการใช้สื่อโซเชียลมีเดียลบภาพเดิมแล้วสร้างภาพจำใหม่ให้คนรุ่นหลัง จนลืมความโหดร้ายที่เคยเกิดขึ้นในยุคสมัยนั้น

กรณีนี้สะท้อนบางแง่มุมของประเทศไทยเช่นกัน โดยเฉพาะในปี 2556 ในยุครัฐบาล ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ มีการเสนอร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ซึ่งถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าเป็น นิรโทษกรรมเหมาเข่ง คือ ไม่เพียงแค่ยกเว้นโทษให้ผู้ที่ขัดแย้งทางการเมือง

แต่ยังรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่เคยใช้ความรุนแรงกับประชาชนด้วยเช่นกัน ซึ่งเกิดข้อครหาขึ้นว่าอาจเป็นการเปิดทางให้ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรีและผู้เป็นพี่ชาย กลับประเทศได้โดยไม่ต้องรับโทษ

แม้ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จนถูกพับเก็บไปในที่สุด แต่ก็เผยให้เห็นถึงความพยายามของฝ่ายรัฐบาลในการลบล้างความผิดในอดีต เพื่อผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจ และอาจไม่ต่างจากตระกูลมาร์กอสในฟิลิปปินส์

ในขณะที่ พ.ร.บ. นิรโทษกรรมล่าสุดของไทยในปี 2568 มีพรรคการเมืองถึง 5 พรรคที่เสนอร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม แต่มีเพียง 3 พรรคเท่านั้นที่ผ่านวาระแรก ได้แก่ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคภูมิใจไทย และพรรคครูไทยเพื่อประชาชน

เนื้อหาของร่างจากพรรคเหล่านี้ ไม่ได้ครอบคลุมการนิรโทษกรรมในคดีทุจริต การละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือคดีที่มีผู้เสียชีวิต และไม่ได้ยกเว้นคดีตามมาตรา 112 แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้ความรุนแรงต่อประชาชน จะได้รับการนิรโทษกรรมด้วยหรือไม่

ความคลุมเครือในร่างกฎหมายเหล่านี้ อาจกลายเป็นช่องโหว่ที่เปิดทางให้ผู้กระทำผิดในอดีตกลับมาสู่อำนาจอีกครั้ง โดยไม่ต้องรับผิดชอบสิ่งที่ตนเคยทำ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในฟิลิปปินส์

บทเรียนจากอดีตที่เคยเกิดขึ้น จึงควรจดจำและเป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้ซ้ำรอยขึ้นอีก ไม่ใช่พยายามลบล้างความผิด และใช้ช่องโหว่จากการนิรโทษกรรม เป็นเครื่องมือในการดึงคนเหล่านี้ กลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ราวกับว่าเหตุการณ์ในอดีตไม่เคยเกิดขึ้นเลย

อ้างอิง:

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

สว. อังคณา ส่งหนังสือลาออกจาก กมธ.พัฒนาการเมือง ทิ้งเก้าอี้ประธาน

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ศาลในเครื่องแบบ ภาพสะท้อนคดี ‘น้องเมย’

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กระทรวงการต่างประเทศเชิญทูตต่างประเทศชี้แจงปมชายแดนไทย-กัมพูชา ย้ำทุ่นระเบิดเป็นของกัมพูชา ละเมิดอธิปไตยไทย

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แม่ทัพภาคที่ 2 เผยกำลังพลเหยียบกับระเบิดขาขาดเพิ่ม 1 นาย เตรียมยกระดับตอบโต้กัมพูชา สั่งปิด 4 ด่านชายแดน- 3 ปราสาท ตั้งแต่พรุ่งนี้

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

สุดช็อก!! สายลับจีนขโมย "พิมพ์เขียวมิสไซล์สหรัฐฯ" ส่งกลับปักกิ่ง หลังแฝงตัวทำงานอยู่ 3 เดือน

Manager Online

มวลน้ำยังมาไม่หยุด! ล่าสุดท่วม โรงพยาบาลน่าน แล้ว

Khaosod

ด่วน! ทบ.ออกคำสั่ง! ปิด ปราสาทตาเมือนธม – ปราสาทตาควาย มีผล 24 ก.ค.เป็นต้นไป

TOJO NEWS

ผบ.ตร. พร้อมพบครอบครัว 'น้องเมย' เคลียร์ปมคู่กรณีได้เป็นตำรวจ

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

‘ศรีสะเกษ’ เด้งรับมาตรการตอบโต้เขมร สั่งปิดด่านช่องสะงำ ประณามการกระทำไร้มนุษยธรรม

เดลินิวส์

คำสั่งแม่ทัพภาค 2 ยกระดับปิดด่านชายแดนไทยกัมพูชา ห้ามรถ-คน เข้าออก ค้าขาย

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ศาลสหประชาชาติ ชี้ ความล้มเหลวปกป้องโลกร้อน อาจละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

JS100
วิดีโอ

ไทยภักดีจี้แหลก! ระบบข้าวเน่า–ฝ่ายค้านไร้ค่า–ผู้นำขายชาติต้องจบ!

BRIGHTTV.CO.TH

ข่าวและบทความยอดนิยม

ผู้นำฟิลิปปินส์บินตรงวอชิงตัน จ่อพบทรัมป์วันนี้ หารือดีลลดภาษี

THE STANDARD

เปิดประวัติและวิสัยทัศน์ 2 ตัวเต็งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ ก่อน สว. โหวตอีกครั้ง

THE STANDARD

“ควรปรับปรุง” สัญญาณจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ การปฏิรูปองค์กรอิสระเป็นไปได้หรือไม่

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...