โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

มหาเศรษฐีเทคเลิกพูดเรื่องการเมือง หันมาทุ่มเทกับวิทยาศาสตร์ - เอไอ

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ในปี 2015 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ประธานบริหารเมตา และภรรยาของเขา ดร.พริสซิลลา ชาน เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงลูกสาวแรกเกิด พร้อมประกาศสร้าง Chan Zuckerberg Initiative (CZI) เพื่อเปลี่ยนโลกใบนี้ให้ดีขึ้น

เป้าหมายในตอนนั้นไม่เล็กเลย ทั้งปฏิรูปการศึกษา ยกระดับความเท่าเทียม มีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ และท้ายที่สุดคือการรักษาโรคทุกชนิดในศตวรรษนี้ แต่ในปี 2024 เป้าหมาย 3 ใน 4 ข้อแรก ถูกยกเลิกไปแล้วอย่างเงียบๆ เหลือไว้เพียงข้อสุดท้าย ‘วิทยาศาสตร์’

หลังจากเดินหน้าผลักดันโครงการเพื่อสังคมในหลากหลายด้านมานานกว่า 8 ปีCZI ได้ประกาศเปลี่ยนทิศทางครั้งใหญ่ โดยหันมาโฟกัสด้าน วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพ เพียงด้านเดียว พร้อมประกาศตัวเป็น Science-first Philanthropy อย่างเป็นทางการ

การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสแรงกดดันทางการเมือง และการทบทวนบทบาทองค์กรการกุศลในยุคหลัง Facebook เผชิญข้อวิจารณ์รุนแรงในประเด็นบทบาทของแพลตฟอร์มต่อสังคมสหรัฐ

ลดบทบาทเพื่อสังคม เพิ่มน้ำหนักเพื่อชีววิทยา

สำนักข่าว The New York Times เขียนรายงานฉบับนี้ไว้ว่า ซักเคอร์เบิร์ก เคยให้คำมั่นว่าจะใช้ทรัพย์สินจากธุรกิจเทคโนโลยีเพื่อยกระดับศักยภาพมนุษย์ และส่งเสริมความเท่าเทียม

โดยช่วงแรกองค์กรเน้นสนับสนุนโครงการด้านการศึกษา ความหลากหลาย (Diversity, Equity, Inclusion: DEI) นโยบายท้องถิ่น และโรงเรียนเพื่อเด็กด้อยโอกาสใน Bay Area แต่ในปี 2023 งบประมาณกว่า 69% ขององค์กรถูกจัดสรรเพื่อโครงการด้านวิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้นจากเพียง 29% เมื่อปี 2019 ขณะที่งบด้านการศึกษาเหลือเพียง 12% และโครงการด้านที่อยู่อาศัยถูกยุติทั้งหมด

ดร.ชาน ย้ำว่า องค์กรยังยึดมั่นในพันธกิจ แต่ก็ยอมรับว่า จะลดการใช้คำเหล่านี้ในเชิงสัญลักษณ์ลง ขณะที่ซักเคอร์เบิร์กกล่าวตรงๆ ว่า “เราจะจ้างคนที่เก่งที่สุด ไม่ว่าจะมีแบ็กกราวด์แบบใด”

ภายในองค์กรเองมีการเลิกจ้างหรือโยกย้ายบุคลากรที่รับผิดชอบด้านความหลากหลาย พร้อมทั้งลบข้อความสนับสนุนความหลากหลายออกจากเว็บไซต์ ภายหลังการประชุมภายในที่ผู้บริหารระดับสูงกล่าวถึงการเปลี่ยนจุดยืนต่อแนวทางการสรรหาบุคลากรโดยอิงความสามารถ (merit-based) เป็นหลัก

สิ่งที่เกิดขึ้นกับ CZI คือ การสร้างความผิดหวังอย่างมากให้กับเครือข่ายภาคประชาชนที่เคยได้รับการสนับสนุนและร่วมงานกับองค์กรนี้มาก่อน

“พวกเขาไม่ได้ถอนตัวแบบทันทีทันใด แต่เป็นการถอยออกทีละนิด จนสุดท้ายแทบไม่เหลืออะไรให้สนับสนุน เหมือนกับความตายจากบาดแผลพันแผล (death by a thousand cuts) ที่ค่อยๆ ทำลายองค์กรและความหวังของผู้ที่เคยพึ่งพิง” แคทเธอรีน เบรซี ซีอีโอของ TechEquity ซึ่งเคยได้รับทุนสนับสนุนกว่า 2 ล้านดอลลาร์จาก CZI กล่าว

แหล่งข่าวใกล้ชิด CZI เปิดเผยว่า หนึ่งในแรงจูงใจสำคัญของการเปลี่ยนทิศทางคือ ผลลัพธ์ที่ไม่คุ้มทุนของการลงทุนด้านการเมืองและการศึกษา

ตลอดจนแรงกดดันจากฝั่งอนุรักษ์นิยมในสหรัฐ หลัง CZI บริจาคเงินกว่า 400 ล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานการเลือกตั้งในปี 2020 ซึ่งกลายเป็นประเด็นวิจารณ์ว่าเป็นการใช้เงินซื้ออิทธิพลในชื่อที่สื่อฝ่ายขวาเรียกว่า Zuckerbucks (ข้อครหาว่าซื้ออิทธิพลการเลือกตั้งปี 2020) และเมื่อ Facebook ถูกโยงกับการปลุกปั่นความเกลียดชังในยุคโดนัลด์ ทรัมป์ CZI ก็ถูกลากไปเป็นเป้าโจมตีตามไปด้วย

นับจากนั้นเป็นต้นมา ซักเคอร์เบิร์กและชานค่อยๆ ลดบทบาทด้านสังคมการเมืองอย่างเงียบๆ แล้วหันเข้าสู่สิ่งที่ควบคุมได้ เช่น เอไอ, โมเลกุล และการวิจัยแบบล้ำยุค

โดยเฉพาะ ดร.ชาน ซึ่งเคยมีบทบาทเด่นในการสนับสนุนองค์กรเพื่อความยุติธรรมทางสังคม ก็เริ่มถอนตัวจากบอร์ดบริหารหลายแห่ง รวมถึงการปิดโรงเรียน Primary School ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อเด็กในครอบครัวยากจน

รายงานยังชี้ว่า ภายในปี 2022 โครงการ CZI เริ่มพิจารณาลดค่าใช้จ่ายหลังธุรกิจ Meta ประสบปัญหาราคาหุ้นตกต่ำ เธอเริ่มตั้งคำถามกับค่าใช้จ่ายภายในองค์กร

CZI ยุคใหม่กำลังทุ่มทรัพยากรไปยังจุดตัดระหว่างชีววิทยา และปัญญาประดิษฐ์ โดยมีโครงการหลักคือ Biohub ที่เชิญนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากมหาวิทยาลัยมาร่วมมือเพื่อเป้าหมายระยะยาว เช่น การเข้าใจระบบเซลล์ของมนุษย์แบบครบถ้วน หรือการพัฒนาเครื่องมือเอไอสำหรับการวินิจฉัยโรค

ดร.ชาน ให้สัมภาษณ์ในจดหมายภายในว่า “เราได้เรียนรู้ว่าจุดไหนคือพื้นที่ที่เราสร้างผลลัพธ์ได้ดีที่สุด” และ CZI จะยังคงลงทุนในโครงการด้านการศึกษาและชุมชนในระดับที่ “เหมาะสม” แม้จะไม่ใช่แกนหลักอีกต่อไป

บทสรุป: ถอยเพื่อรุก หรือยอมจำนนทางการเมือง?

ในสายตาของหลายฝ่าย การเปลี่ยนแปลงของ CZI อาจเป็นเพียงกระบวนการโฟกัสเป้าหมายที่มีศักยภาพจริง เช่น วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการวิจัยระดับลึก แต่สำหรับนักเคลื่อนไหว และพันธมิตรเก่า การถอยห่างจากภารกิจที่เคยเป็นรากฐานขององค์กร กลับสร้างความผิดหวัง

กรณีของ CZI สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกใน ‘ยุคทุนนิยมการกุศล’ (Philanthrocapitalism) คือ เมื่อกลุ่มทุนคิดว่าความเหลื่อมล้ำซับซ้อนเกินไป แก้ไม่ได้ง่ายๆ และทำให้เขาถูกเกลียด พวกเขาจึงหันไปลงทุนกับเทคโนโลยีชีวภาพ วิทยาศาสตร์ และเอไอแทน

อ้างอิง: Tech Policy และ The New York Times

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

เห็ดแครงสายพันธุ์ใหม่ ไบโอเทคตอบโจทย์โปรตีนทางเลือก อาหารแพลนต์เบส

55 นาทีที่แล้ว

“ฉันทวิชญ์” รมช.พาณิชย์ ไฟแรง วาง 3 ภารกิจเร่งด่วน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'พล.อ.ณัฐพล' แจง เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน ไม่เคยพูดชื่อ 'เตีย เซ็ยฮา'

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สมช. ถกเดือดกว่า 2 ชม. 'บิ๊กเล็ก' ได้อำนาจเบ็ดเสร็จ เคลียร์ ชายแดนกัมพูชา

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

รถไฟฯ รวมพลังจิตอาสา Big Cleaning Day ที่หยุดรถแม่พวก จ.แพร่ ต้อนรับ “วิ่ง-ป่า-ลาบ 68” เฉลิมพระเกียรติ เดือนมหามงคล

สยามรัฐ

“MAJOR × OMODA & JAECOO” ชวนคอหนัง ออกเดินทางแบบเอ็กซ์คลูซีฟ ลุ้นบินโอซาก้า! สัมผัสประสบการณ์สุดมันส์ในโลกภาพยนตร์

สยามรัฐ

NIA เปิดมหกรรมนวัตกรรมและเครือข่ายสตาร์ตอัป “SITE 2025” หนุนไทยสู่ศูนย์กลางนวัตกรรมโลก “Global Innovation Partnership”

สยามรัฐ

ค่าเงินบาท และตลาดหุ้นไทย (สัปดาห์ที่ 30 มิ.ย. – 4 ก.ค. 68)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ส่งออกเม็ดพลาสติก Polyethylene (PE) ไทย ปี 2025 คาดว่าจะลดลง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ไทยเที่ยวไทยปี 2568 คาดโต 2.2% ชะลอลงจากปีก่อน เทรนด์คนไทยเที่ยวเมืองน่าเที่ยว(เมืองรอง) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

เวียดนามได้ดีลถูกเก็บภาษี reciprocal 20% ลดจากเดิมที่ 46% คาดหนุน GDP เวียดนามปีนี้โต 6.7%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

เศรษฐกิจอาเซียน-จีน เดือนกรกฎาคม 2568

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...