โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

รวมไว้ที่เดียว มาตรการแบงก์รัฐ ช่วยผู้รับผลกระทบความไม่สงบชายแดน ไทย-กัมพูชา

เดลินิวส์

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 23 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
รวมมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ข้อพิพาทชายแดน

นายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นจากเหตุปะทะกันระหว่างกำลังความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา ได้ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่และขยายวงกว้างไปสู่ภาคเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชนโดยรอบ ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ และการดำเนินธุรกิจของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ในการนี้ รัฐบาลตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นและให้ความสำคัญกับการดูแลประชาชนในพื้นที่โดยเร่งด่วน โดยได้มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดำเนินมาตรการด้านการเงินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น ซึ่งครอบคลุมทั้งมาตรการพักชำระหนี้ มาตรการลดอัตราดอกเบี้ย และมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างครอบคลุมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในพื้นที่ชายแดน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

ธนาคารออมสิน จัดทำมาตรการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ประกอบด้วย
1) มาตรการพักชำระเงินต้น สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา จนถึงงวดเดือนธันวาคม 2568 และให้จ่ายดอกเบี้ยเพียงบางส่วน เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระหนี้
2) มาตรการสินเชื่อเพื่อรายย่อย จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

  • สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือสำหรับประชาชนรายย่อย : ระยะเวลาผ่อนชำระ 12 เดือน ปลอดชำระเงินงวด 3 เดือนแรก ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.60 ต่อเดือน
  • สินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพสำหรับประชาชนรายย่อย : ระยะเวลาผ่อนชำระ 60 เดือน ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.75 ต่อเดือน
    3) สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ SMEs วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 7 ปี ปลอดชำระเงินงวดไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 = MLR – ร้อยละ 2.65 ปีที่ 2 เป็นต้นไป = MLR ยกเว้นค่าธรรมเนียม Front End Fee และ Prepayment Fee
    ทั้งนี้ สามารถแสดงความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการผ่านทางเว็บไซต์ของธนาคารออมสินหรือติดต่อ
    สาขาของธนาคารออมสินในพื้นที่ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดทำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนไทย-กัมพูชา ประกอบด้วย
1) โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ปี 2568 เพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรในด้านค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น วงเงินต่อรายไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR ของ ธ.ก.ส. เท่ากับร้อยละ 6.725 ต่อปี) ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี ปลอดชำระดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก
2) โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นค่าลงทุนในการซ่อมแซมบ้านเรือนทรัพย์สิน ค่าซ่อมเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย วงเงินต่อรายไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย
MRR – 2 ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 15 ปี

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จัดทำมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้าของธนาคารจากเหตุการณ์ชายแดน วงเงินโครงการ 200 ล้านบาท ดังนี้
1) กรณีผู้กู้บาดเจ็บสาหัส หรือที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย จะได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี
เป็นระยะเวลา 5 ปีแรก อัตราดอกเบี้ยปีที่ 6 เป็นต้นไป เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธอส. กำหนด
2) กรณีผู้กู้ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงหรือเสียชีวิต หรือที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จะได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
3) กรณีกู้เพื่อปลูกสร้างอาคารใหม่ทดแทนอาคารเดิมจะได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี เป็นระยะเวลา
6 เดือนแรก และเดือนที่ 7-12 จะได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 2 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ สามารถยื่นคำขอเข้าร่วมมาตรการได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2567

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชายแดน ไทย-กัมพูชา ด้วยการ พัก ลด ขยาย เติม ให้ SME ไปต่อได้ แม้เจอวิกฤติ โดยการ
1) พัก ชำระเงินต้น
2) ลด ค่างวดการชำระ
3) ขยาย ระยะเวลาการชำระหนี้
4) เติม ทุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โครงการสินเชื่อปลุกพลัง SME และสินเชื่อ Beyond ติดปีก SME
อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี ระยะเวลา 3 ปี ระยะเวลากู้สูงสุด 10 ปี
5) สินเชื่อ SME Refinance ลดต้นทุนธุรกิจ อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 2.99 ต่อปี

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ แบ่งเป็น
1) มาตรการบรรเทาผลกระทบเร่งด่วน ขยายระยะเวลาชำระหนี้สูงสุด 365 วัน และปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสูงสุดร้อยละ 20 จากอัตราเดิม และเพิ่มวงเงินชั่วคราว 1 ปี สูงสุดร้อยละ 30 ด้วยอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น ร้อยละ 2.99 ต่อปี
2) มาตรการเสริมสภาพคล่องและละต้นทุนทางการเงินสนับสนุนการเปิดตลาดใหม่

  • มาตรการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อออกงานแสดงสินค้า (EXIM-DITP Empower Financing) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.15 ต่อปี
    • มาตรการเงินทุนหมุนเวียนก่อนและหลังการส่งออก (EXIM Export Booster) อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 3.99 ต่อปี
    • เงินทุนหมุนเวียนหลังการส่งออกพร้อมประกันการส่งออก (EXIM Safe Trade) อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 3.99 ต่อปี พร้อมการชดเชยจาก ธสน. หากไม่ได้รับชำระค่าสินค้าจากคู่ค้า
    • Export Credit Insurance ยกเว้นค่าวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับผู้เอาประกัน 5 ราย
    • สินเชื่อระยะยาวร่วมกับสำนักงานประกันสังคม อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นคงที่ร้อยละ 2 ต่อปี ระยะเวลา 3 ปี
    • สินเชื่อระยะยาวเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต (Transformation Loan) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยสำหรับ SMEs ร้อยละ 5.68 ต่อปี

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) มีมาตรการไอแบงก์เราไม่ทิ้งกัน เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ประกอบด้วย
1) พักชำระเงินต้นและกำไร กำหนดอัตรากำไรตามสัญญาสินเชื่อเดิม ระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน ขยายระยะเวลาออกไปสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน หรือไม่เกินค่างวดชำระเดิม
2) ให้วงเงินเพิ่มเพื่อซ่อมแซม ฟื้นฟู ที่อยู่อาศัยและกิจการลูกค้า สำหรับสินเชื่อเพื่ออยู่อาศัยอัตรากำไรเริ่มต้นร้อยละ 1.99 ในปีแรก วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลากู้สูงสุด 20 ปี และสำหรับสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ อัตรากำไรเริ่มต้นร้อยละ 3.25 ในปีแรก วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลากู้สูงสุด 5 ปี

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเดิมและมาตรการภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS11 “บสย. SMEs ยั่งยืน” ได้แก่
1) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และลูกค้าเดิมของ บสย.

  • ผ่อนผันการชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน และค่าจัดการค้ำประกันโดยพักชำระออกไปอีก 6 เดือน นับจากวันถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียม
    [* พักชำระค่างวดเป็นระยะเวลา 3 เดือน  ]
    2) มาตรการเสริมสภาพคล่องภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS11 “บสย. SMEs ยั่งยืน”
    [* มาตรการ SMEs Power Trade & Biz วงเงินค้ำประกัน 3,000 ล้านบาท วงเงินค้ำประกันต่อราย 500,000–10 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชายแดนไทย–กัมพูชา  ]
    3) โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs Micro Biz วงเงินค้ำประกัน 2,000 ล้านบาท วงเงินค้ำประกัน
    ต่อราย 10,000–500,000 บาท ตอบโจทย์กลุ่มรายย่อย (Micro SMEs) ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียน แต่ขาดคน
    ค้ำประกัน และขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน

กระทรวงการคลังให้ความสำคัญกับการบรรเทาผลกระทบในพื้นที่ โดยมุ่งช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เพียงพอในการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพ และฟื้นฟูกิจการอย่างต่อเนื่อง และเห็นว่ามาตรการที่จัดทำขึ้นครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ รวมถึงสามารถช่วยลดภาระต้นทุน เสริมสภาพคล่อง และสนับสนุนการปรับปรุง ซ่อมแซม หรือฟื้นฟูทรัพย์สิน เช่น อาคาร โรงงาน และเครื่องจักร ให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถขอรับความช่วยเหลือผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เกี่ยวข้องได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยกระทรวงการคลังจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมที่จะออกมาตรการเพิ่มเติมอย่างเหมาะสมได้ทันท่วงทีต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
o ธนาคารออมสิน โทร. 02 299 800 หรือสายด่วน 11115
o ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02 555 0555
o ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 02 645 9000
o ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร. 02 265 3000 หรือสายด่วน 1357
o ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 02 169 9999
o ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 02 650 6999 หรือสายด่วน 1302
o บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โทร. 02 890 9999

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม-จันทบุรีเนืองแน่น ‘ชาวกัมพูชา’ นับหมื่น รอข้ามแดนกลับประเทศตัวเอง

31 นาทีที่แล้ว

จ.สุรินทร์ ชี้แจงงบประมาณปี 2569 ต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ เสนอ 8 โครงการ

33 นาทีที่แล้ว

จีนร่วมมือไทยรวบ “คนหนีคดีทุจริต” ต้องการตัวมากที่สุดรายสุดท้าย

35 นาทีที่แล้ว

ครูคือฮีโร่! ‘นฤมล’ ซึ้งใจ ครูดูแลเด็กแม้ตัวเองเป็นผู้ประสบภัย ศธ.ลั่นไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

37 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ราคาทองวันนี้ 26 ก.ค.68 ลงอีก 100 บาท ทองรูปพรรณขายออกแตะ 52,050 บาท

สยามรัฐ

Recap กัมพูชาปะทะไทยรอบ 14 ปี ทรัมป์จบ 2 ดีลเอเชีย อินเทลปลดกว่า 21,000 คน | คุยกับบัญชา | 26 ก.ค. 68

BTimes

เครือสหพัฒน์ จัดงาน "อุตสาหกรรมแฟร์ 2568" หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ 300 ล้าน

ฐานเศรษฐกิจ

สุโขทัย ‘แม่น้ำยม’ ล้นคันกัน ทะลักท่วมพื้นที่เศรษฐกิจอำเภอเมืองเช้านี้

ประชาชาติธุรกิจ

"บิ๊กต๋อง" ควง "บิ๊กแบน" ถกประชุมติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ทางไกลผ่านจอภาพ

สยามรัฐ

รัฐระดมมาตรการลดผลกระทบการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา

The Better

ราคาทองวันนี้ล่าสุด 26 กรกฎาคม 2568 ราคาปรับลดลง 100 ราคาทองรูปพรรณ บาทละ 52,050 บาท

Thairath Money

“ไมเดีย” มั่นใจศักยภาพไทย เดินหน้าลงทุน ลุ้นรัฐเจรจาภาษีสหรัฐฯ

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ชายแดนเดือด! ปืนใหญ่เขมรตกลึกฝั่งไทยต่อเนื่อง ชาวบ้านผวาวิ่งวุ่นหลบหลุมหลบภัย

เดลินิวส์

เพจดังชี้ช่องหากเห็นอินฟลูฯทำคอนเทนต์ ชวนทำร้ายคนเขมรที่ไม่รู้เรื่องให้แจ้งเบาะแสมาได้

เดลินิวส์

‘โทนี่ 1LIFE’ อัดคลิปเล่านาทีอพยพจากจุดปะทะ พร้อมบริจาคของใช้ให้ผู้ประสบภัย

เดลินิวส์
ดูเพิ่ม
Loading...