โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เปิดงบ Q2 แบงก์ 11 แห่ง กวาดกำไรทะลัก 6.6 หมื่นลบ. SCB นำโด่ง 1.28 หมื่นล้าน

ข่าวหุ้นธุรกิจ

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์

“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้รวบรวมข้อมูลผลประกอบการของบริษัทในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ สำหรับงวดไตรมาส 2 และงวด 6 เดือนแรกของปี 2568 ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL, ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK

รวมถึง ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB, บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO, ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB, ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LHFG และ ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) หรือ CREDIT

โดยพบว่าธนาคารทั้งหมดมีกำไรรวมในงวดไตรมาส 2/2568 กว่า 6.62 หมื่นล้านบาท และมีกำไรรวมในงวด 6 เดือนแรกของปี 2568 รวมกว่า 1.29 แสนล้านบาท รายละเอียดตามตารางด้านล่างนี้

ด้านบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2/2568 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2568 มีกำไรสุทธิ 1,643.52 ล้านบาท ลดลง 6.20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,753.02 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิรวมงวด 6 เดือนแรกของปี 2568 อยู่ที่ 3,286.89 ล้านบาท ลดลง 5.70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรต่อหุ้น (EPS) ในไตรมาส 2 อยู่ที่ 2.05 บาท ลดลงจาก 2.19 บาท หรือคิดเป็น 6.40% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนงวด 6 เดือนอยู่ที่ 4.11 บาท ลดลง 5.50% จากปีก่อนหน้า

โดยสาเหตุหลักของการลดลงของกำไรมาจากรายได้รวมที่อ่อนตัวลง โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาสนี้ลดลง 1.70% เป็นผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย การลดดอกเบี้ยให้ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางในโครงการ "คุณสู้ เราช่วย" และต้นทุนทางการเงินที่ปรับลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยชะลอตัวลง 5.50% จากภาวะตลาดทุนที่ผันผวนรุนแรง ส่งผลให้รายได้ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ลดลง 4.60% ตามปริมาณการซื้อขายในตลาด รวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมพื้นฐานธุรกิจจัดการกองทุนลดลง 0.50% จากการออกกองทุนใหม่ที่ชะลอตัว และเงินลงทุนที่บันทึกมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน (FVTPL) ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจสินเชื่อยังคงเติบโตได้ดี โดยรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 11.70% จากกิจกรรมด้านสินเชื่อและบริการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้ารายย่อยที่ฟื้นตัวขึ้น ส่วนตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1% ของยอดสินเชื่อเฉลี่ย สะท้อนการตั้งสำรองอย่างระมัดระวังในระดับปกติ ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 7% จากการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้าน บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2/2568 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2568 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 12,786 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.70% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 10,014 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิรวมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2568 อยู่ที่ 25,288 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 21,295 ล้านบาท ขณะที่กำไรต่อหุ้น (EPS) ไตรมาส 2/2568 อยู่ที่ 3.80 บาท เพิ่มขึ้น 27.90% จาก 2.97 บาทในปีก่อน และกำไรต่อหุ้นในช่วง 6 เดือนแรกอยู่ที่ 7.51 บาท เพิ่มขึ้น 18.8% จาก 6.32 บาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของกำไรในไตรมาสนี้มาจากรายได้จากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น การตั้งสำรองที่ลดลง และการบริหารค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากการยุติธุรกิจ Robinhood เมื่อปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวลดลง 6.70% จากปีก่อนหน้า จากการลดลงของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin) และการลดลงของยอดสินเชื่อ

ขณะที่รายได้จากการลงทุนและการค้าปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยอยู่ที่ 3,239 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากกำไรของพอร์ตการลงทุนของธนาคารและของ บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) ในด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 5.60% จากปีก่อนหน้า จากความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้อยู่ที่ระดับ 40.20% สะท้อนการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

ธนาคารมีการบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ โดยอัตราส่วนเงินสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 159% แม้อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) จะลดลงเล็กน้อยจาก 3.34% ในปีก่อนมาอยู่ที่ 3.31% ทั้งนี้ อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ยังคงแข็งแกร่งอยู่ที่ระดับ 18.80% ณ สิ้นไตรมาส 2/2568

ด้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2/2568 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2568 มีกำไรสุทธิ 174.50 ล้านบาท ลดลง 73.90% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 668.50 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิสะสมในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2568 อยู่ที่ 1,012.60 ล้านบาท ลดลง 21.80% จาก 1,294.60 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรต่อหุ้น (EPS) ในไตรมาส 2 อยู่ที่ 0.01 บาท ลดลง 50% และในงวด 6 เดือนอยู่ที่ 0.03 บาท ลดลง 25% จากปีที่ผ่านมา

โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการลดลงของกำไรในช่วงครึ่งปีแรก ได้แก่ การลดลงของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และการเพิ่มขึ้นของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยรายได้จากการดำเนินงานรวมลดลง 3.70% ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 13.60% จากรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ขณะที่ต้นทุนความเสี่ยง ธนาคารมีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นถึง 86.20% สะท้อนถึงความระมัดระวังในการบริหารความเสี่ยงในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 19.10% โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของค่าเผื่อการด้อยค่าของทรัพย์สินรอการขายและค่ากำกับธุรกิจธนาคารในปีก่อน

ส่วนอัตราผลตอบแทนสุทธิจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (NIM) อยู่ที่ 1.90% ลดลงจาก 2.20% ในสิ้นปี 2567 ขณะที่อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ 81.60% ลดลงเล็กน้อยจาก 82% ณ สิ้นปี 2567 ด้านอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) อยู่ที่ 2.60% เพิ่มขึ้นจาก 2.50% ณ สิ้นปี 2567 โดยเป็นผลจากการที่ลูกค้าบางรายกลับเข้าสู่สถานะเร่งรัดหนี้สินหลังครบกำหนดการให้สินเชื่อที่รัดกุม

ทั้งนี้ ธนาคารยังคงรักษาอัตราส่วนเงินสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพให้อยู่ในระดับสูง โดยอยู่ที่ 155.9% เพิ่มขึ้นจาก 149.0% ณ สิ้นปี 2567 สะท้อนถึงการเตรียมความพร้อมรองรับความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2/2568 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2568 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 12,488 ล้านบาท ลดลง 3.16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 12,896 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิรวมครึ่งปีแรกอยู่ที่ 26,280 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 0.98% จาก 26,540 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรต่อหุ้น (EPS) ในไตรมาส 2 อยู่ที่ 5.27 บาท ลดลงจาก 5.44 บาท หรือคิดเป็น 3.13% ขณะที่ EPS งวด 6 เดือนอยู่ที่ 10.94 บาท ลดลง 0.91% จากปีก่อน

สาเหตุหลักของการลดลงมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลง 6.95% ซึ่งเป็นผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อสนับสนุนการยืดหยุ่นทางการเงินของลูกค้าและส่งเสริมศักยภาพของภาคธุรกิจ

อย่างไรก็ดี รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.55% โดยมาจากกำไรจากเครื่องมือทางการเงิน รายได้จากการลงทุน รวมถึงค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงเล็กน้อย 0.86% จากการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

ธนาคารยังคงดำเนินนโยบายบริหารความเสี่ยงอย่างระมัดระวัง โดยมีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 19,868 ล้านบาท เพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

ด้าน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2/2568 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2568 มีกำไรสุทธิ 8,295 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 8,209 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิรวมครึ่งปีแรกของปี 2568 อยู่ที่ 15,829 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 15,752 ล้านบาท

ขณะที่กำไรต่อหุ้น (EPS) ในไตรมาส 2 อยู่ที่ 1.13 บาท เพิ่มขึ้น 0.9% และในงวด 6 เดือนแรกอยู่ที่ 2.15 บาท เพิ่มขึ้น 0.5% จากปีก่อนหน้า

โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของกำไรในงวด 6 เดือน มาจากการลดลงของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) และการควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่ารายได้ดอกเบี้ยสุทธิจะลดลงจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ ตามนโยบายผ่อนคลายเพื่อรองรับภาวะเศรษฐกิจ

ด้านรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 8% จากปีก่อนหน้า จากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่ปรับลดลงตามความต้องการสินเชื่อที่ชะลอตัว รวมถึงผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือลูกค้าและสนับสนุนเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารสามารถบริหารต้นทุนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผลกระทบจากรายได้ดอกเบี้ยที่ลดลงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้

รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้น 6% จากปีก่อนหน้า โดยมาจากกำไรจากเครื่องมือทางการเงิน การให้บริการธุรกิจลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการต่าง ๆ ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 0.9% จากปีก่อน จากการควบคุมต้นทุนและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านคุณภาพสินทรัพย์ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL Ratio) อยู่ที่ 3.39% เพิ่มขึ้นจาก 3.23% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้จัดตั้งเงินสำรองครอบคลุมในระดับที่เพียงพอ โดยอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ 19.57% ลดลงเล็กน้อยจาก 19.38% ณ สิ้นปี 2567

ขณะที่ ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2/2568 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2568 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 5,004 ล้านบาท ลดลง 7.20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 5,394 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิรวมในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2568 อยู่ที่ 10,100 ล้านบาท ลดลง 6.20% จาก 10,768 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรต่อหุ้น (EPS) ไตรมาส 2 อยู่ที่ 0.05 บาท ลดลง 16.70% จาก 0.06 บาทในปีก่อน และ EPS งวด 6 เดือนแรกอยู่ที่ 0.10 บาท ลดลง 9.10% จาก 0.11 บาทในปีก่อน

โดยการลดลงของกำไรหลักเกิดจากรายได้รวมที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลง 9.20% จากปีก่อน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการลดดอกเบี้ยให้ลูกหนี้ภายใต้โครงการช่วยเหลือของธนาคาร เช่น โครงการคุณสู้เราช่วย อย่างไรก็ดี ธนาคารยังมีรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 7.90% จากปีก่อน โดยมาจากกำไรสุทธิของเครื่องมือทางการเงินที่ประเมินมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน รวมถึงรายได้รับสุทธิจากค่าธรรมเนียมและบริการต่างๆ

ด้านการบริหารความเสี่ยง TTB ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ในไตรมาสนี้จำนวน 8,874 ล้านบาท ลดลง 14.60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภายใต้การตั้งสำรองดังกล่าว ประกอบด้วยการตั้งสำรองทางบัญชีปกติ 6,623 ล้านบาท และการตั้งสำรองเพิ่มเติม (Management Overlay) ซึ่งสะท้อนถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีความระมัดระวัง

ส่วนคุณภาพสินทรัพย์ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL Ratio) ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำที่ 2.73% ส่วนอัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) ยังคงแข็งแกร่งที่ระดับ 149%

ขณะที่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2/2568 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2568 มีกำไรสุทธิ 11,840 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 11,807 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิรวมงวด 6 เดือนแรกของปี 2568 อยู่ที่ 24,458 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.50% จาก 22,330 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรต่อหุ้น (EPS) ไตรมาส 2 อยู่ที่ 6.20 บาท เพิ่มขึ้น 0.20% จาก 6.19 บาท และ EPS งวด 6 เดือนแรกอยู่ที่ 12.81 บาท เพิ่มขึ้น 9.50% จาก 11.70 บาท

สำหรับปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของกำไรในงวดครึ่งปีแรกมาจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยซึ่งเพิ่มขึ้น 41.90% อยู่ที่ 26,460 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากกำไรสุทธิของเครื่องมือทางการเงิน ค่าธรรมเนียม และกำไรจากเงินลงทุน ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวลดลง 4.40% อยู่ที่ 63,614 ล้านบาท ตามภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง

ด้านการบริหารต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 5.20% อยู่ที่ 40,845 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ระดับ 45.30% สะท้อนถึงการควบคุมต้นทุนที่ยังมีประสิทธิภาพในภาพรวม

ธนาคารยังคงบริหารความเสี่ยงอย่างรัดกุม โดยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) จำนวน 19,807 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อน และยังมีคุณภาพสินทรัพย์ที่แข็งแกร่ง โดยยอดเงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2568 เพิ่มขึ้น 0.70% จากสิ้นปี 2567 ซึ่งมาจากสินเชื่อกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ ขณะที่เงินรับฝาก ณ สิ้นไตรมาส 2/2568 เพิ่มขึ้น 0.80% จากสิ้นปีที่แล้ว

ขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2568 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2568 มีกำไรสุทธิ 1,409 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 83.30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 769 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิสะสมในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 2,471 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.63% จาก 2,275 ล้านบาทในปีก่อน ขณะที่กำไรต่อหุ้น (EPS) ไตรมาส 2 อยู่ที่ 1.70 บาท เพิ่มขึ้น 86.81% และงวด 6 เดือนแรกอยู่ที่ 2.98 บาท เพิ่มขึ้น 10.78%

โดยปัจจัยสนับสนุนหลักของผลประกอบการที่เติบโตโดดเด่นในไตรมาสนี้ มาจากการบริหารคุณภาพสินเชื่อที่ดี ส่งผลให้การตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับผลขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอการขายที่ลดลง และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นจากธุรกิจบริหารความมั่งคั่งและธุรกิจธนาคารเพื่อการลงทุน

ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 24.5% จากปีก่อนหน้า จากการเติบโตของธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง โดยในไตรมาสนี้ KKP ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ Goldman Sachs Asset Management เสริมกลยุทธ์การลงทุนแบบ Multi-Asset ซึ่ง KKP เป็นรายเดียวในประเทศไทยที่ได้รับสิทธิ์นี้ นอกจากนี้ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 13.90% จากปีก่อนหน้าจากสินเชื่อชะลอตัวและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายผ่อนคลาย

ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอื่น ๆ ปรับเพิ่มขึ้น 21.60% จากปีก่อนหน้า จากรายได้ในกลุ่มธุรกิจบริหารความมั่งคั่งและธุรกิจจัดการกองทุนที่เติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ต้นทุนทางการเงินลดลง 9.30% จากปีก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของผลขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอการขาย โดยการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) อยู่ที่ 973 ล้านบาท ลดลง 45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านบริษัท แอลเอชไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHFG รายงานผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 2 ของปี 2568 มีกําไรสุทธิจำนวน 551 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 ที่มีกําไรสุทธิจำนวน 569.70 ล้านบาท เป็นผลจากการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ และรายได้จากการดําเนินงานอื่น และกําไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 ที่มีกําไรสุทธิจำนวน 491.5 ล้านบาท เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของกําไรจากเงินลงทุน และรายได้จากการดําเนินงานอื่น

ส่วนผลการดําเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อยงวด 6 เดือนของปี 2568 มีกําไรสุทธิจำนวน 1,120.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.80 เมื่อเทียบกับงวด 6 เดือนของปี 2567 ที่มีกําไรสุทธิจำนวน 890.6 ล้านบาท เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของกําไรจากเงินลงทุนและรายได้จากการดําเนินงานอื่น

สำหรับธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB แจ้งผลประกอบการไตรมาส 2/2568 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 11,122 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 11,797.89 ล้านบาท หรือลดลง 5.73% แต่ธนาคารยังคงแสดงศักยภาพในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้านคุณภาพสินทรัพย์และการเติบโตของพอร์ตสินเชื่ออย่างมั่นคง

โดยธนาคารสามารถบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) ให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจที่ 2.94% ลดลงจากระดับ 2.99% ณ สิ้นปี 2567 สะท้อนถึงความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อและการควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกัน Coverage Ratio หรืออัตราสำรองต่อหนี้เสียก็ยังอยู่ในระดับสูงถึง 194.1% รองรับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ

ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานยังคงอยู่ในระดับทรงตัว แม้จะได้รับแรงกดดันจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือลูกค้า ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง อย่างไรก็ตาม สินเชื่อรวมยังขยายตัวได้ดี 4.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อรายย่อยและภาครัฐ ซึ่งแสดงถึงการบริหารพอร์ตที่สมดุลทั้งในด้านความเสี่ยงและผลตอบแทน

นอกจากนี้ธนาคารยังเดินหน้าให้บริการด้านบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) ควบคู่ไปกับการขยายรายได้จากธุรกิจตลาดเงิน ตลาดทุน และเงินลงทุนที่เติบโตสอดคล้องกับภาวะตลาด อีกทั้งยังคุมค่าใช้จ่ายได้ดี โดยมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (Cost to Income Ratio) อยู่ที่ 42.3% แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนอย่างต่อเนื่อง

สำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี 2568 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 22,835.7 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 2.72% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 23,473.85 ล้านบาท

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) หรือ CREDIT รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2568 มีกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ปี 2568 เท่ากับ 925.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น เท่ากับ 105.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรสุทธิในงวดครึ่งปีแรก 2568 อยู่ที่ 1,828.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 44.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยปัจจัยหลักจากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงโดยในไตรมาส 2/68 อยู่ที่ 872.80 ล้านบาท ลดลง 7.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,228.10 ล้านบาท ส่วนงวด 6 เดือนแรก 2568 อยูที่ 1,817.10 ล้านบาท ลดลง 36.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2,871.10 ล้านบาท เนื่องจากการบริหารการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวังของธนาคาร

นอกจากนี้ในปี 2568 ธนาคารมีการออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ต่อเนื่อง เช่น โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เพื่อเร่งการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เพื่อป้องกันลูกหนี้ไหลเป็น Stage 2 และ Stage 3 ส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ดีขึ้น ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ส่งผลให้คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (Gross NPLs ratio) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยเท่ากับร้อยละ 4.3

ขณะเดียวกัน NPL Coverage ratio ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 154.4เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 148.6ณ วันที่ 31ธันวาคม 2567 เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยในไตรมาส 2 ปี 2568 เงินให้สินเชื่อยังคงมีการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 13.0เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 5.2จากสิ้นเดือนธันวาคม 2567โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอีสินเชื่อที่ใช้บ้านเป็นหลักประกัน และ สินเชื่อบุคคล

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ข่าวหุ้นธุรกิจ

ก.ล.ต. คลอดเกณฑ์หนุน “บริษัทหลักทรัพย์” บริการ Investment Token

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ครม.เคาะเปรี้ยง! ตั้ง “วิทัย รัตนากร” นั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนใหม่

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“โกลเบล็ก” แนะสอย 4 หุ้นเด่น รับโครงการ Sandbox ก.ล.ต.

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

UREKA เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง! ลุยน้ำประปา–พลาสติกรีไซเคิล ปูทางสู่ Green Platform

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

3 โบรกฯ คาดแนวโน้มหุ้นไทยภาคบ่าย แนะกลยุทธ์การลงทุน

ทันหุ้น

Western Union ปรับกลยุทธ์โอนเงิน ดัน Stablecoin เข้า Wallet

ทันหุ้น

บลูบิค ย้ายเข้า SET สร้างการเติบโตท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน

ฐานเศรษฐกิจ

หุ้นไทยพักเที่ยงวันนี้(22 ก.ค.) ลบ 1.56 จุด ขาย CPALL-DELTA ซื้อ BBL

ทันหุ้น

”เผ่าภูมิ”ฝากงานผู้ว่าธปท.คนใหม่ลดเกณฑ์เข้มเสถียรภาพการเงิน เน้นสินเชื่อลงระบบ

ทันหุ้น

CGSI ชี้ KTC กำไร Q2/68 โตดี ปันผลสูงสุดกลุ่ม Non-bank แนะซื้อ

ทันหุ้น

‘บลูบิค’ เข้าเทรดใน SET ปักธงกลยุทธ์โตด้วย ‘ดิจิทัล - AI’

กรุงเทพธุรกิจ

รัฐ เท พันล้าน 'อุ้มชาวสวนลำไย' จ่ายไร่ละ1,400ชดเชยราคาร่วงหนัก

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

สังคมข่าวหุ้น

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ก.ล.ต. สั่งถอนไลเซนส์ “อุษา พูลเกิด” สังกัดแบงก์กรุงเทพ 10 ปี ฐานยักยอกเงินลูกค้า 15 ล้าน

ข่าวหุ้นธุรกิจ

KTB โชว์กำไร Q2 แตะ 1.1 หมื่นล้าน คุม NPL เหลือ 2.94%

ข่าวหุ้นธุรกิจ
ดูเพิ่ม
Loading...