งานวิจัย Salesforce ล่าสุดเผย ระบบข้อมูลที่แข็งแกร่งและการกำกับดูแลที่เหมาะสม คือหัวใจสำคัญขององค์กรไทยในการนำ AI Agent มาใช้อย่างปลอดภัย
เซลส์ฟอร์ซ (Salesforce) ผู้นำระดับโลกด้านระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เปิดเผยข้อมูลจากรายงานวิจัย State of IT: Security Report ล่าสุด โดยได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารด้านความปลอดภัยไอทีจากองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 2,000 คน ซึ่งรวมถึงผู้บริหารจากประเทศไทย 63 คน ในยุคที่การใช้งาน AI เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ผู้นำด้านความปลอดภัยระบบ IT ในไทยถึง 89% ตระหนักว่าองค์กรจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษาความปลอดภัยใหม่ทั้งหมด ขณะที่ 100% เห็นพ้องกันว่าเจ้าหน้าที่ AI Agent สามารถช่วยยกระดับความปลอดภัยขององค์กรได้ในอย่างน้อยหนึ่งด้าน
อย่างไรก็ตาม รายงานวิจัยนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่สำคัญในการนำ AI Agent ไปใช้งานจริงในอนาคตโดย 43% ของผู้ตอบแบบสอบถามในไทยมีความกังวลเกี่ยวกับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลในองค์กร ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้งาน Agentic AI อย่างมีประสิทธิภาพ และเกือบครึ่ง (49%) ยังไม่มั่นใจว่าจะมีแนวทางกำกับดูแลที่รัดกุมพอในการใช้งาน AI Agent อย่างปลอดภัย
ความสำคัญของผลงานวิจัย
ทั้งพนักงานที่มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยข้อมูลขององค์กร และผู้ไม่หวังดีที่ต้องการเจาะเข้าถึงระบบต่างก็หันมาใช้ AI เป็นเครื่องมือมากขึ้น AI Agent ซึ่งสามารถช่วยลดภาระงานซ้ำ ๆ ของพนักงานรักษาความปลอดภัย ทำให้พนักงานสามารถทุ่มเทเวลาไปกับการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อนได้มากขึ้น แต่เพื่อให้การใช้งาน AI Agent อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรจำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลที่แข็งแรงและแนวทางกำกับดูแลที่เหมาะสม
มุมมองของ Salesforce
คุณรบส สุวรรณมาศ ผู้นำการเผยแพร่เทคโนโลยี Salesforce ประเทศไทย กล่าวว่า “AI Agent คือก้าวสำคัญขององค์กรในการยกระดับความปลอดภัย แต่การจะใช้งานได้อย่างมั่นใจ องค์กรจำเป็นต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือได้เป็นรากฐาน นอกจากนี้ การลงทุนในด้านความปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการรักษาความโปร่งใส ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กรไทยในระยะยาว”
ข้อมูลตัวเลขที่น่าสนใจจากรายงานวิจัย
งบประมาณด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้นตามการพัฒนาเทคโนโลยี
แม้ภัยคุกคามด้านความปลอดภัยบนคลาวด์ มัลแวร์ และการโจมตีแบบฟิชชิงยังมีอยู่ แต่ภัยคุกคามรูปแบบใหม่อย่าง การใส่ข้อมูลผิด ๆ ในชุดข้อมูลฝึกสอน AI (data poisoning) ก็กลายเป็นประเด็นที่หลายองค์กรให้ความสำคัญมากขึ้น โดย 87% ขององค์กรไทยคาดว่าจะเพิ่มงบประมาณด้านความปลอดภัยในปีหน้า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ที่ 75%
สภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่ซับซ้อน ทำให้การใช้งาน AI มีความท้าทายยิ่งขึ้น
แม้ผู้นำด้านความปลอดภัยระบบ IT ในไทยถึง 95% จะมองว่า AI Agent สามารถช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามกฎระเบียบ เช่น การช่วยให้องค์กรสอดคล้องกับกฎหมายความเป็นส่วนตัวระดับโลกได้ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน 94% ก็เห็นว่าการใช้ AI Agent เองก็ยังมีความเสี่ยงด้านกฎระเบียบอยู่ไม่น้อย
• เพียง 67% ที่มั่นใจว่าองค์กรของตนสามารถใช้ AI Agent ได้อย่างสอดคล้องกับกฎระเบียบและมาตรฐานสากล
• องค์กรกว่า 84% ยังไม่ได้ทำให้กระบวนการปฏิบัติตามกฎระเบียบเป็นระบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ
ความเชื่อมั่นคือกลไกของความสำเร็จในยุค AI แต่ยังต้องเสริมสร้างความเชื่อมั่นอีกมาก
จากผลการวิจัยผู้บริโภคทั่วโลกล่าสุดพบว่า ความไว้วางใจในตัวองค์กรต่าง ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดย 60% ของ ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นพ้องกันว่าความก้าวหน้าของ AI ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของธุรกิจ นอกจากนี้ มีเพียง 42% ของผู้บริโภคที่เชื่อมั่นว่าองค์กรจะใช้ AI อย่างมีจริยธรรม ซึ่งลดลงจากเมื่อปี 2566 ที่เชื่อมั่นถึง 58% ขณะที่ผู้นำด้านความปลอดภัยระบบ IT ในไทยเห็นว่ายังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อสร้างความไว้วางใจ
• 43% ของผู้นำด้านความปลอดภัยระบบ IT ยังไม่มั่นใจในความแม่นยำหรือความโปร่งใสของผลลัพธ์จาก AI
• 52% ระบุว่าองค์กรยังไม่สามารถแสดงความโปร่งใสอย่างเต็มที่เกี่ยวกับวิธีการนำข้อมูลลูกค้าไปป้อนให้ AI
• 46% มองว่าองค์กรยังไม่มีแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมที่ชัดเจนสำหรับการใช้ AI
• 57% เชื่อว่าผู้บริโภคในไทยยังลังเลต่อการใช้งานบริการ AI เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
การบริหารจัดการข้อมูล คือกุญแจสู่การใช้งาน Agentic AI อย่างเต็มศักยภาพ
เกือบครึ่งของผู้นำด้านความปลอดภัยระบบ IT ในไทยยังไม่แน่ใจว่าองค์กรของตนมีข้อมูลที่มีคุณภาพเพียงพอสำหรับรองรับการทำงานของ AI Agent หรือมีแนวทางที่เหมาะสมภายใต้สิทธิ์การเข้าถึง นโยบาย และแนวทางควบคุมที่ถูกต้อง แต่ก็มีสัญญาณที่ดี โดยผลสำรวจกลุ่มประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ ล่าสุด พบว่าองค์กรต่าง ๆ จัดสรรงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการข้อมูลมากกว่า AI ถึง 4 เท่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าหลายองค์กรกำลังวางรากฐานอย่างรอบคอบเพื่อรองรับการขยายการใช้งาน AI ในอนาคต
AI Agent เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระ เมื่อใช้งานมากขึ้น
จากรายงาน State of IT พบว่า 73% ของทีมดูแลด้านความปลอดภัยระบบ IT ในประเทศไทยได้นำ AI Agent มาใช้ในกระบวนการทำงานประจำวันแล้ว ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 41% และมีแนวโน้มว่าจะมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นในอนาค
• 90% ขององค์กรในไทยคาดว่าจะใช้ AI Agent ภายใน 2 ปีข้างหน้า ผู้นำด้านความปลอดภัยระบบ IT มองว่า AI Agent จะก่อให้เกิดประโยชน์หลากหลาย ตั้งแต่การตรวจจับภัยคุกคามไปจนถึงการตรวจสอบประสิทธิภาพของโมเดล AI อย่างละเอียดและแม่นยำ
หลายองค์กรยังต้องเร่งปรับปรุงระบบความปลอดภัย
นอกเหนือจากการดำเนินการเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างข้อมูลสำหรับยุคของ Agentic AI แล้ว มากกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามยังยอมรับว่าองค์กรของตนยังต้องยกระดับแนวทางการรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบให้ได้มาตรฐาน
• กว่า 56% ยังมองว่าการดำเนินการด้านความปลอดภัยและกฎระเบียบยังไม่พร้อมสำหรับการใช้งาน AI Agent อย่างเต็มรูปแบบ